ค้นเจอ 52 รายการ

เข้ากรรม

หมายถึง1.)การอยู่ไฟ การอยู่ไฟของผู้หญิง เมื่อคลอดลูกแล้วจะต้องอยู่ไฟ เพื่อให้มดลูกเข้าอู่และให้มีร่างกายแข็งแรง เป็นพิธีกรรมในการออกลูกของคนโบราณ. 2.)การเข้าปริวาสมานัตและอัพภาน เรียก เข้ากรรม ธรรมเนียมมีว่า เมื่อภิกษุต้องอาบัติหนัก จะต้องอยู่กรรมเสียก่อนจึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ การอยู่กรรมของภิกษุนี้ถือเป็นประเพณีหนึ่งในประเพณีทั้งสิบสองของภาคอีสาน หรือที่เรียกกันว่าฮีตสิบสอง.

เข้าหนมแดกงา

หมายถึงข้าวเหนียวนึ่งเคล้ากับงาที่คั่วสุกแล้ว ใส่น้ำตาลหรือน้ำอ้อย เรียก เข้าหนมแดกงา.

เข่าบ่อน

หมายถึงเข้าห้องนอน

แข่

หมายถึงจรเข้

กระจะ

หมายถึงแจ่มแจ้ง, ชัดเจน, ขาวผ่อง ลายชัดเจนเรียก ลายกระจะ ขาวผ่องเรียก ขาวกระจะ อย่างว่า ขาวกระจะปานน้ำถ้วมเข้า ตั้งเช้าเง้าปานนมผู้สาว.(บ).

กระจาย

หมายถึงกำจาย ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งใบและดอกคล้ายต้นฝาง ฝักคล้ายฝักส้มป่อย เมล็ดใหญ่ ใช้เมล็ดแช่น้ำสีดำใช้ย้อมผ้าได้ เรียก หมากกระจาย อย่างว่า โอนอหีเอย คันชิเมือนำอ้ายหีบ่แดงให้ย้อมครั่ง คันแม่นย้อมครั่งแล้ว ให้ลงแหล้หมากกระจาย (อ่านเจือง). ชื่อว่านชนิดหนึ่งเรียก ว่านกระจาย ใช้เป็นว่านคงยิงไม่ออกแทงไม่เข้าผู้มีว่านกระจายต้องเลี้ยงว่านปีละครั้ง ใช้เขียดหรือกบดิบเลี้ยง โยนกบหรือเขียดดินเข้าไปว่านจะดูดกินเลือดกบหรือเขียดทันทีถ้าไม่เลี้ยงว่านจะไม่ศักดิ์สิทธิ์และเจ้าของว่านจะเป็นปอบ

กะซาก

หมายถึง(กริยา) กระชาก ดึงเข้ามาโดยเร็วและแรง เช่น กระซากผม, โดยปริยายหมายความว่า กระตุกโดยแรง เช่น ออกรถกระซาก, พูดกระแทกเสียงดังห้วน ๆ ในความว่า พูดกระซากเสียง

ไขข้อ

หมายถึงน้ำมันที่อยู่ตามข้อต่อ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า สำหรับเป็นน้ำมันหล่อลื่นให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปมา พับเข้าเหยียดออกได้ตามปกติ ไม่เกิดความขัดข้องเรียก น้ำมันไขข้อ.

ไอยรา

หมายถึง1.) ช้าง อย่างว่า ประดับหยวกเข้าขันต่อเต็งชน เฮาจักชนไอยราต่อมือมันเจ้า ถืนถืนเข้าตำชนทุกแห่ง ม้ามากล้นลีล้าวพุ่งแหลม (ฮุ่ง). 2.) แผ่นดิน อย่างว่า ท้าวส่งเปลื้องฟ้าท่าวไอยรา (กา) ปืนแผดเพี้ยงสะเทือนทุ่มไอยรา มารฟางฟุบเลือดโทมทังค้าย นับแต่ตัวเดียวเถ้าตายคืนพลแผ่ มานั้น แสนโกฏิตั้งเป็นด้วยเดชมัน แท้แล้ว (สังข์).

ฮ้องโห่

หมายถึงโห่ร้อง อย่างว่า จัดหมู่หน้ายอก่อนไหลหาญ ผายชะลือวอระนีเกี่ยวชูใสเข้า แมนหาญเข้าคุมคุมฮ้องโห่ เจ้ายี่เฆี่ยนหมู่ข้าฝูงกล้าดาดชน (ฮุ่ง).

ก่องจ่อง

หมายถึงกริยา การกระทำที่ดูแล้วไม่เข้าท่า หรือว่ายังไม่ชำนาญ อาการที่หลังของเด็กขด เรียก ขดก่องจ่อง ถ้าหลังผู้ใหญ่ว่า ขดโก่งโจ่ง ก่งจ่ง ก็ว่า.

กก

หมายถึงแรก, ทีแรก, เริ่มแรก, ลูกผู้เกิดทีแรก เรียก ต้นข้าวปักดำทีแรกเรียก เข้ากกแฮก.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ