ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา กฎธรรม
กรมธรรม์
หมายถึงเอกสารกู้หนี้ยืมสิ้น, สัญญาซื้อขายทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์, เอกสารในการประกันภัย เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นต้น
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด ธรรมเบื้องต้น
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด ธรรม
กฎธรรมชาติ
หมายถึงธรรมชาติคือสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือตามวิสัยของโลก สิ่งนั้นได้แก่คนและสัตว์เป็นต้น คนก็ดีสัตว์ก็ดี จะเกิดขึ้นต้องอาศัยปัจจัย ถ้าหมดเหตุหมดปัจจัยก็ดับไป แล้วเกิดขึ้นมาใหม่ หมุนเวียนเปลี่ยนไปจนกว่าจะถึงจุดจบ.
กฎธรรม
หมายถึงธรรมะ คือ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติมีมากมายก่ายกอง เมื่อจะสรุปลงคงได้แก่สุจริต คือความประพฤติดีทางกาย เรียก กายสุจริต ประพฤติดีทางวาจา เรียก วจีสุจริต ประพฤติดีทางใจ เรียก มโนสุจริต
กฎธรรมดา
หมายถึงธรรมดาคืออาการหรือความเป็นไปของคนและสัตว์ เมื่อคนและสัตว์เกิดขึ้นมาแล้ว จะต้องเป็นไปตามธรรมดาของโลก ธรรมดาของโลกนั้นจะต้องกิน จะต้องนอน จะต้องป้องกันภัยอันตราย จะต้องสืบพันธุ์คนและสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะเป็นอย่างนี้ นี่คือกฎของธรรมดา.
พ่อฮัก
หมายถึงพ่อบุญธรรม
กฎวัด
หมายถึงระเบียบที่ชาววัดร่วมกันตั้งขึ้นเรียก กฎวัด เป็นกฎเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับวัดอื่น เช่น ระเบียบทำวัตรสวดมนต์ ระเบียบการศึกษาเล่าเรียนระเบียบการบำเพ็ญธรรมกรรมฐาน กฎเหล่านี้อำนวยความสะดวกให้ชาววัดเมื่อถึงเวลาแล้วไม่ต้องปลุกเตินเอิ้นป่าวกันเพราะระเบียบได้ระบุไว้แจ้ง
ไจ้ไจ้
หมายถึงบ่อยๆ เนืองๆ คิดถึงเนืองๆ เรียก คึดไจ้ไจ้ จีไจ้ จีไจ้จีไจ้ ก็ว่า อย่างว่า เจ้าก็คิดเถิงบารมีธรรมเจ้าอยู่ไจ้ไจ้ (เวส).
ไทยทาน
หมายถึงของควรให้ ของควรถวายพระสงฆ์ได้แก่ปัจจัย 4 มีผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย ยาแก้ไข เรียก ไทยทาน ไทยธรรม ก็ว่า.
เอี่ยน
หมายถึงปลาไหล ปลาไหลเรียก เอี่ยน มี ๒ ชนิด คือ เอี่ยนธรรมดา และเอี่ยนด่อน เอี่ยนด่อนมีสีค่อนข้างขาว อย่างว่า เอี่ยนขอเลือดนำกระปู (ภาษิต) ปล่อยเอี่ยนลงตม (ภาษิต).
แกงซั้ว
หมายถึงแกงธรรมดา
ขะลำ,คะลำ
หมายถึงผิดประเพณี,ผิดครรลองคลองธรรม
เข้ากรรม
หมายถึง1.)การอยู่ไฟ การอยู่ไฟของผู้หญิง เมื่อคลอดลูกแล้วจะต้องอยู่ไฟ เพื่อให้มดลูกเข้าอู่และให้มีร่างกายแข็งแรง เป็นพิธีกรรมในการออกลูกของคนโบราณ. 2.)การเข้าปริวาสมานัตและอัพภาน เรียก เข้ากรรม ธรรมเนียมมีว่า เมื่อภิกษุต้องอาบัติหนัก จะต้องอยู่กรรมเสียก่อนจึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ การอยู่กรรมของภิกษุนี้ถือเป็นประเพณีหนึ่งในประเพณีทั้งสิบสองของภาคอีสาน หรือที่เรียกกันว่าฮีตสิบสอง.