ค้นเจอ 134 รายการ

กกุธ์ห้า

หมายถึงเครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ๕ อย่าง คือ ๑.มงกุฎ ๒.พระขรรค์ชัยศรี ๓.เศวตฉัตร ๔.แส้จามร ๕.ฉลองพระบาตร ทั้ง ๕ นี้เรียกว่า กกุธ์ห้า กุกกุห้าก็เรียก อย่างว่ากุกกุภัณทะห้าของพระยาปางก่อน พี่ก็ยอยกม้วนองค์อ้วนผู้เดียว (สังข์).

กกุสนธ์

หมายถึงพระนามพระพุทธเจ้าองค์แรกที่เกิดในภัทรกัปนี้ เรียก พระกกุสันธะ กุกกุสันธะก็เรียก ในภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้ามาเกิด ๕ พระองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระอริยเมตตรัยโย (ป. กกุสนธ).

กรมธรรม์

หมายถึงเอกสารกู้หนี้ยืมสิ้น, สัญญาซื้อขายทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์, เอกสารในการประกันภัย เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นต้น

กรรมพันธุ

หมายถึงมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เช่น พ่อแม่เป็นคนดีลูกที่เกิดมาก็พลอยดีไปด้วย อย่างว่า เชื้อหมากต้องบ่ห่อนหล่นไกลกก แนวผมดกบ่ห่อนเป็นหัวล้าน (กลอน).

กรรมาธิการ

หมายถึงกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่สูงกว่ากรรมการ โดยที่จะทำการสอบสวนข้อความใดๆ เกี่ยวแก่กิจการที่ตนมีอำนาจหน้าที่ก็ได้ เช่น กรรมาธิการแห่งสภาผู้แทนราษฎร.

กฎธรรมชาติ

หมายถึงธรรมชาติคือสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือตามวิสัยของโลก สิ่งนั้นได้แก่คนและสัตว์เป็นต้น คนก็ดีสัตว์ก็ดี จะเกิดขึ้นต้องอาศัยปัจจัย ถ้าหมดเหตุหมดปัจจัยก็ดับไป แล้วเกิดขึ้นมาใหม่ หมุนเวียนเปลี่ยนไปจนกว่าจะถึงจุดจบ.

ธุดงค์

หมายถึงข้อวัตรที่ภิกษุพึงปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลศ มีโลภ โกรธ หลง ให้ลดน้อยถอยลง

กฎธรรม

หมายถึงธรรมะ คือ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติมีมากมายก่ายกอง เมื่อจะสรุปลงคงได้แก่สุจริต คือความประพฤติดีทางกาย เรียก กายสุจริต ประพฤติดีทางวาจา เรียก วจีสุจริต ประพฤติดีทางใจ เรียก มโนสุจริต

กถาพันธ์

หมายถึงคำประพันธ์, คำร้อยกรอง (ป.).

มหายุทธกรรม

หมายถึงการรบใหญ่ อย่างว่า มหายุทธกรรมบั้นเล็วสรวงเศิกใหญ่ แล้วท่อนี้ถวายไท้พระยอดคุณ แท้แล้ว (สังข์).

กฎธรรมดา

หมายถึงธรรมดาคืออาการหรือความเป็นไปของคนและสัตว์ เมื่อคนและสัตว์เกิดขึ้นมาแล้ว จะต้องเป็นไปตามธรรมดาของโลก ธรรมดาของโลกนั้นจะต้องกิน จะต้องนอน จะต้องป้องกันภัยอันตราย จะต้องสืบพันธุ์คนและสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะเป็นอย่างนี้ นี่คือกฎของธรรมดา.

กรรมสิทธิ์

หมายถึงความเป็นเจ้าของทรัพย์, ความมีอำนาจในสิ่งของที่ตนมี เช่นกรรมสิทธิ์ในที่ดิน กรรมสิทธิ์ในข้าวของเงินทอง เป็นต้น.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ