ค้นเจอ 16 รายการ

ไอศวร

หมายถึงพระอิศวร อย่างว่า จตุโลกไท้ท้าวใหญ่ยมภิบาล ก็ดี ธรณีนางเมขลาดวงสร้อย กับทังไอศวรสร้างภายภูมิพื้นต่ำ ก็ดี ขอให้มาพร่ำพร้อมคอยข้าเมื่อมัว แด่ถ้อน (สังข์).

ญัตติจตุตถกรรม

หมายถึงคือการเผเดียงสงฆ์ครั้งหนึ่ง และขอความยินยอมจากสงฆ์อีก 3 ครั้ง เช่น การอุปสมบท เมื่อสวดครบญัตติ 4 ครั้ง ไม่มีใครคัดค้านการบวชนั้นก็ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ทุกประการ นี่เรียก ญัตติจตุถกรรม.

อกรรมกิริยา

หมายถึงกิริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน (ส.).

งักงัก

หมายถึงอาการหนาวสั่นจนขากรรไกรกระทบกัน เรียก สั่นงักงัก.

สมถกรรมฐาน

หมายถึงอุบายสงบใจ ใจที่มีราคะความกำหนัด โทสะความประทุษร้ายและโมหะความลุ่มหลง กิเลสสามตัวนี้ทำให้ใจวุ่นวาย ไม่สงบ ถ้าอยากให้สงบต้องเอาสมถกรรมฐานมาข่มไว้ การเจริญธรรมอย่างนี้เรียก เจริญสมถกรรมฐาน.

กรรมฐาน

หมายถึงที่ตั้งแห่งการงาน มี ๒ คือ สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน สมถกรรมฐานได้แก่อุบายสงบใจ วิปัสสนากรรมฐานอุบายเรื่องปัญญา.

กน

หมายถึงชื่ออักษรที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน หรือ มาตรากน.

สี่

หมายถึง(กริยา) การร่วมประเวณี การมีเพศสัมพันธ์ (นาม) จำนวนสามบวกหนึ่ง เรียก สี่ เรียกชื่อเดือนทางจันรคติว่า เดือน ๔ ตกในระหว่างเดือนมีนาคม.

กงเต็ก

หมายถึงการทำบุญให้ผู้ตายของนักบวช นิกายจีนและญวน มีการสวดและเผากระดาษที่ทำเป็นรูปต่างๆ (จ.)

วิปัสสนากรรมฐาน

หมายถึงอุบายเรืองปัญญาเมื่อเจริญสมถกรรมฐานแล้ว กิเลส ๓ จะลดน้อยถอยลง แต่ก็ไม่หมดสิ้นไปจากใจ ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก คือ ยกขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฎิจจสมุปบาท ๑๒ ขึ้นมาพิจารณาอีก จนให้เห็นขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย วิราคะหายความกำหนัด วิมุตติความหลุดพ้น วิสุทธิความหมดจดกายและจิต ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน กิเลส ๓ คือ ราคะ โทสะ และโมหะไม่เกิดอีก.

เกงญา

หมายถึงนางสาวน้อย, นางงาม หญิงที่มีรูปร่างสวยงาม เรียก เกงญา กัญญา ก็ว่า อย่างว่า นางนั้นแนนกล่อมเกี้ยวท้าวชื่อศรีวิชัย บิดาดลนิมิตรเยืองพระองค์แก้ ภายลุนเลยเสียแก้วเกงญาลูกมิ่ง ท้าวต่างตุ้มผันผายสิ่งลม (สังข์).

วันโลกาวินาส

หมายถึงวันเสีย วันอาภัพ วันอัปมงคล เรียก วันโลกาวินาส วันโลกาวินาสโบราณให้โฉลกไว้ดังนี้ ทิตย์สี่สัน จันทร์หกฐาน คารสิบสุด พุธสามทัศ พฤหัสแปด ศุกร์เก้า เสาร์หนึ่ง จะทำการอันเป็นมงคลใดๆ ให้เว้นวันโลกาวินาส (ประเพณี).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ