ค้นเจอ 16 รายการ

ก้นขี้ถั่ง

หมายถึงก้นกระแทก, ล้มลงก้นกระแทกกับพื้น

หน้าถั่งดังคม

หมายถึงหน้าตาคมขำ, หน้าตาดี

เทิง

หมายถึงบน เหนือ สูง บนเรือนเรียก เทิงเฮือน อย่างว่า ขุนอยู่ล้อมหลายชั้นลุ่มเทิง (สังข์) ภูธรขึ้นเมือเทิงโรงราช (ฮุ่ง) พระบาทชี้เชิญราชเมือเทิง (กา) ยนยนย้ายชามลายเลียนสาด เหลือแต่ห้องโฮงฮ้านลุ่มเทิง (ฮุ่ง). ทั้ง ทั่ว ทั้งบุญทั้งบาปเรียก เทิงบุญเทิงบาป อย่างว่า เทิงหลายเพิ่นแพงชิ้นปูปลายามอึดอยาก อันความปากความเว้าบ่ได้ซื้อแพงไว้เฮ็ดอิหยัง (ภาษิต) คำว่า เทิง กับ ทัง มีความหมายเหมือนกัน ใช้แทนกันได้.

ไถเผือ

หมายถึงข้า ทาส อย่างว่า กับทังบริวารพร้อมไถเผือพอหมื่น (ฮุ่ง).

เคิ่ง

หมายถึงครึ่ง กึ่ง ส่วนหนึ่งในสองส่วน เรียก เคิ่ง เคิ่งหนึ่ง ก็ว่า อย่างว่า ข้าจักให้เคิ่งหนึ่งแต่เจ้าทังสอง (เวส).

กก

หมายถึงต้นกก ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นผือ ใช้ทอเสื่อ เสื่อที่ทอด้วยกกสวยกว่า เพราะต้นกกลำเล็ก อย่างว่า สาดต่ำผือบ่งามบ่จบ สาดต่ำกกทังจบทังงาม (บ.)

ไท

หมายถึงพวก หมู่ เหล่า อย่างว่า จงใจหอมไพร่ไททังค้าย (สังข์) ไทไกลนี้เจงเวงน้ำแจ่วข่า บ่ท่อใสติ้งหลิ้งไทใกล้น้ำแจ่วขิง (ภาษิต).

ไกสร (สิงโต)

หมายถึงสิงโต สิงโตเรียก ไกสร อย่างว่า แม้นว่าสัพพะสิ่งช้างเดียระดาษแสนสัตว์ ไกสรสีห์ซู่คณาเนืองเฝ้า เสือสางเหม้นเหมือยหมีหมาป่าก็มา ลิงวอนเต้นโตนค้างค่างชะนี ฯ เห็นทังนิโครธไม้พันพุ่งไพรขวาง เห็นทังคูหาแก้วไกสรแสนส่ำ เฮืองฮุ่งเข้มไขพ้นพุ่งโพยม (สังข์).

ขี้เจียม

หมายถึงจิ้งจก จิ้งจกเรียก ขี้เจี้ยม ขี้เกี้ยม ก็ว่า อย่างว่า เสียงกานั้นนางมาเวียนว่า น้อยหนึ่งตาพระบาทเจ้าจอมซ้อยเสม่นเนือง มีทังภุมราเกี้ยวกันลงซ้องพระเนตร เจี้ยมไต่เต้นโตนต้องบ่าขวา (สังข์).

ไอศวร

หมายถึงพระอิศวร อย่างว่า จตุโลกไท้ท้าวใหญ่ยมภิบาล ก็ดี ธรณีนางเมขลาดวงสร้อย กับทังไอศวรสร้างภายภูมิพื้นต่ำ ก็ดี ขอให้มาพร่ำพร้อมคอยข้าเมื่อมัว แด่ถ้อน (สังข์).

ก่ง (เก่ง)

หมายถึงผู้เก่งกล้า ผู้มีความสามารถ อย่างว่า เมื่อนั้นผู้ก่งท้าวทรงเทศเป็นพระยาวางธรรมถวายผนวชไลลาไว้ บัวนางล้อมระวังเพ็งพื้นล่าง ถวายเสื้อผ้าทังม้าวมิ่งแหวน (สังข์)

โลด

หมายถึงเลย ทีเดียว ไปเลย เรียก ไปโลด กินเลย เรียก กินโลด ทำเลย เรียก เฮ็ดโลด อย่างว่า เลื่อนเลื่อนฟ้าไหลหลีกดารา พุ้นเยอ ทังหลายเลยพร่ำแลงนอนพร้อม แม้งหนึ่งสูรย์เคี่ยนขึ้นบัวระพาใสส่อง คอนขี่ม้าไปพร้อมโลดคราว (ฮุ่ง).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ