ค้นเจอ 18 รายการ

ไหไพ

หมายถึงไหที่ใหญ่ ปากกว้าง ก้นกว้าง สำหรับใส่น้ำอ้อยงบ ใส่เกลือเก็บไว้กินได้เป็นปีๆ.

กรกฎาคม

หมายถึงเดือนกรกฎาคม อีสานเรียกเดือนแปด เรียกเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ.

ไทยทาน

หมายถึงของควรให้ ของควรถวายพระสงฆ์ได้แก่ปัจจัย 4 มีผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย ยาแก้ไข เรียก ไทยทาน ไทยธรรม ก็ว่า.

สี่

หมายถึง(กริยา) การร่วมประเวณี การมีเพศสัมพันธ์ (นาม) จำนวนสามบวกหนึ่ง เรียก สี่ เรียกชื่อเดือนทางจันรคติว่า เดือน ๔ ตกในระหว่างเดือนมีนาคม.

กตัญญูกตเวที

หมายถึงผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณท่าน พึงทราบบุคคลหาได้ในโลก ๒ จำพวกคือ ๑.บุพพการี ผู้ทำอุปการะก่อน ๒.กตัญญูกตเวที ผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณ บุพพการีมี ๔ จำพวก คือ ๑.พ่อแม่ ๒.ครูบาอาจารย์ ๓.เจ้านายผู้ปกครอง ๔.พระพุทธเจ้า

กรรมบถ

หมายถึงทางแห่งกรรม มี ๒ อย่าง คือ กุศลกรรม ทางแห่งกรรมดี อกุศลกรรมทางแห่งกรรมไม่ดี ทางแห่งอกุศลกรรมมี ๑๐ อย่าง จัดเป็นกายกรรม ๓ อย่าง จัดเป็นวจีกรรม ๔ อย่าง จัดเป็นมโนกรรม 3 อย่าง ทางแห่งกุศลกรรมก็มี ๑๐ อย่างในทางตรงข้าม

กรภ

หมายถึง1.หลังมือ 2.งวงช้าง 3.ลูกช้าง 4.ลูกอูฐ 5.อูฐทั่วไป 6.ของหอมชนิดหนึ่ง 7.ตะโพก (ส.). 8.ชื่อนักบัตรที่ ๑๓ อีกอย่างหนึ่งเรียก หัสตะ (ป.).

ญัตติจตุตถกรรม

หมายถึงคือการเผเดียงสงฆ์ครั้งหนึ่ง และขอความยินยอมจากสงฆ์อีก 3 ครั้ง เช่น การอุปสมบท เมื่อสวดครบญัตติ 4 ครั้ง ไม่มีใครคัดค้านการบวชนั้นก็ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ทุกประการ นี่เรียก ญัตติจตุถกรรม.

จัตุโลกบาล

หมายถึงผู้รักษาโลกใน ๔ ทิศ คือ ท้าวธตรัฐ จอมภูต อยู่ทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก จอมเทวดา อยู่ทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค อยู่ทิศตะวันตก ท้าวกุเวร จอมยักษ์ อยู่ทิศเหนือ (ป.).

กกุธ์ห้า

หมายถึงเครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ๕ อย่าง คือ ๑.มงกุฎ ๒.พระขรรค์ชัยศรี ๓.เศวตฉัตร ๔.แส้จามร ๕.ฉลองพระบาตร ทั้ง ๕ นี้เรียกว่า กกุธ์ห้า กุกกุห้าก็เรียก อย่างว่ากุกกุภัณทะห้าของพระยาปางก่อน พี่ก็ยอยกม้วนองค์อ้วนผู้เดียว (สังข์).

อกุศลกรรมบถ

หมายถึงทางแห่งความชั่ว ทางบาป มี ๑๐ อย่าง คือ เกิดแต่กาย เรียก กายทุจริต ๓ ได้แก่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เกิดแต่วาจา เรียก วจีทุจริต ๔ ได้แก่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เกิดแต่ใจ เรียก มโนทุจริต ๓ ได้แก่โลภอยากได้ของคนอื่น ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม เรียก อกุศลกรรมบถ (ป. ส.).

วิปัสสนากรรมฐาน

หมายถึงอุบายเรืองปัญญาเมื่อเจริญสมถกรรมฐานแล้ว กิเลส ๓ จะลดน้อยถอยลง แต่ก็ไม่หมดสิ้นไปจากใจ ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก คือ ยกขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฎิจจสมุปบาท ๑๒ ขึ้นมาพิจารณาอีก จนให้เห็นขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย วิราคะหายความกำหนัด วิมุตติความหลุดพ้น วิสุทธิความหมดจดกายและจิต ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน กิเลส ๓ คือ ราคะ โทสะ และโมหะไม่เกิดอีก.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ