ตัวกรองผลการค้นหา
กดทรง
หมายถึงวางมาด, ขี้เต๊ะ ,เก๊กหล่อ ทำท่าปั้นปึ่งขึงขังแสดงตนว่ามั่งมีศรีสุข อย่างว่า เพิ่นกะกดทรงโก้คือโตใหญ่ ตั้งทีแท้เข้าชิจี่เกลือจ้ำฮองท้องแม่นบ่มี (บ.).
คำราชาศัพท์ หมวดกริยา
พิธีราชาภิเษก
คำราชาศัพท์ที่พบในพิธีราชาภิเษก
กดเพศ
หมายถึงไว้ท่า อวดทรง แสดงท่าทางว่ายังหนุ่มแน่น ไม่ทุกข์จนค่นแค้น อย่างว่า บ่าวก็กดเพศ ไว้ให้สาวดิ้นดั้นตาย (สังข์).
กด
หมายถึง1.)แม่กด หรือ มาตรากด. 2.)ชื่อปลาจำพวกหนึ่ง มีเงี่ยง ไม่มีเกร็ด เรียก ปลากด 3.)นกกด ชื่อนกกดจำพวกหนึ่ง มี 2 ชนิด คือชนิดสีดำปนแดง ตาสีแดงร้องเสียงปูดๆ หรือปืดๆ เรียก นกกดปูด หรือ นกกดปืด ชนิดตัวเล็กขนลายเรียก นกกดห่อย หรือ นกกดไฟ 4.)คำกำกับชื่อปี ในวิธีนับจุลศักราช กดตรงกับเลข ๗. 5.)บังคับ, ข่มเหง กดขี่ข่มเหงเรียก กด
ทรง
หมายถึงมีครรภ์เรียก ทรงคัพ อย่างว่า นางก็ทรงคัพได้หลายเดือนจวนประสูติ ก็บ่มีเหตุฮ้อนการฮ้ายเหยื่องใด (กลอน) มีธรรม เรียก ทรงธรรม อย่างว่า เมื่อนั้นปรางคำคลุ้มทรงธรรมคนิงมาก เห็นฮุ่งยามยอดแก้วเทียวใช้ชาติพระองค์ (สังข์).
กดหน้า
หมายถึงก้มหน้า ธรรมเนียมคนโบราณถือการยืนเป็นการเคารพอย่างสูง เมื่อเข้าเฝ้าเจ้านายจะต้องก้มหน้า การก้มหน้านี่แหละเรียก กดหน้า อย่างว่า หลายส่ำถ้วนทุกปากปุนแถลง สองนายเมืองผ่อกายกดหน้า สาวกระสันเยื้อนใยความประสงค์สวาก เจ้าพี่ข้อยลืมน้องหน่ายแหนง (สังข์).
กดวาท
หมายถึงพูดจาท่าทีใหญ่โต เรียก กดวาท อย่างว่า มันก็ปองมิ่งแก้วโลมลูบจอมขวัญ เมื่อนั้นนางคราญขมเคียดเค็มฟุนป้อย ดูราชายโทนเถ้ายักโขผีผาด มึงหากกดวาทเว้ามีได้เวทนา ท่านเอย (สังข์).
กฎ (ระเบียบ)
หมายถึงประเพณี ระเบียบ ข้อบังคับ ระเบียบที่คนหมู่หนึ่งคณะหนึ่งวางไว้ เพื่อให้คนหมู่หนึ่งในคณะทำเสมอกัน.
กฎ
หมายถึงปรากฏ, สังกฏ อย่างว่า สังกฏว่ามันมา แต่บ่เห็นมา จักมันไปใส (บ.) ผากฏ ก็ว่า อย่างว่า ผากฏแก้วสุมุณฑาทรงฮูปโฉมยิ่งเพี้ยงแพงไว้แว่นใจ (สังข์).
กฎวัด
หมายถึงระเบียบที่ชาววัดร่วมกันตั้งขึ้นเรียก กฎวัด เป็นกฎเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับวัดอื่น เช่น ระเบียบทำวัตรสวดมนต์ ระเบียบการศึกษาเล่าเรียนระเบียบการบำเพ็ญธรรมกรรมฐาน กฎเหล่านี้อำนวยความสะดวกให้ชาววัดเมื่อถึงเวลาแล้วไม่ต้องปลุกเตินเอิ้นป่าวกันเพราะระเบียบได้ระบุไว้แจ้ง
กฎกรม
หมายถึงกรมหรือหน่วยงานย่อยที่แยกออกจากหน่วยงานใหญ่ แต่ละกรมมีอธิบดีกรมเป็นหัวหน้า ข้อบัญญัติที่เจ้ากรมออกไว้ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเรียก กฎกรม ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวง เจ้าทบวง เจ้ากรมบัญญัติจะต้องไม่ขัดกับกฎหมาย ถ้าขัดกับกฎหมาย ข้อบัญญัติก็เป็น โมฆะหรือ โมฆียะ.
กฎหมาย
หมายถึงบทบัญญัติซึ่งผู้ที่มีอำนาจได้ตราขึ้นไว้ เพื่อใช้ปกครองคนภายในประเทศให้ได้ความยุติธรรม ความเป็นธรรมและความชอบธรรม ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมาย กฎหมายนั้นมีมากเมื่อจะย่อลงคงที ๓ อย่างคือ ๑. กฎหมายอาญา ๒. กฎหมายแพ่ง ๓. กฎหมายพาณิชย์
กฎกรรม
หมายถึงกรรมคือการกระทำ แยกออกเป็น ๒ อย่าง คือทำดีและทำชั่ว ทำดีได้รับผลดี ทำชั่วได้รับผลชั่ว นี่คือกฎของกรรม.