ตัวกรองผลการค้นหา
กกุสนธ์
หมายถึงพระนามพระพุทธเจ้าองค์แรกที่เกิดในภัทรกัปนี้ เรียก พระกกุสันธะ กุกกุสันธะก็เรียก ในภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้ามาเกิด ๕ พระองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระอริยเมตตรัยโย (ป. กกุสนธ).
คำสมาส: คำสมาสแบบคำสนธิ คืออะไร
คำสนธิ คืออะไร
คำสนธิ
คำสันธาน
กรรมพันธุ
หมายถึงมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เช่น พ่อแม่เป็นคนดีลูกที่เกิดมาก็พลอยดีไปด้วย อย่างว่า เชื้อหมากต้องบ่ห่อนหล่นไกลกก แนวผมดกบ่ห่อนเป็นหัวล้าน (กลอน).
กถาพันธ์
หมายถึงคำประพันธ์, คำร้อยกรอง (ป.).
ใน
หมายถึงเม็ด, เมล็ด, เมล็ดพืช, เมล็ดพันธุ์
ย่อน
หมายถึง(สันธาน) เพราะ เหตุ อย่างว่า (กริยา) การขยับตัวขี้นและลงตามจังหวะดนตรี
เอี่ยน
หมายถึงปลาไหล ปลาไหลเรียก เอี่ยน มี ๒ ชนิด คือ เอี่ยนธรรมดา และเอี่ยนด่อน เอี่ยนด่อนมีสีค่อนข้างขาว อย่างว่า เอี่ยนขอเลือดนำกระปู (ภาษิต) ปล่อยเอี่ยนลงตม (ภาษิต).
กระกูล
หมายถึงตระกูล, เชื้อ, สาย, เหล่า, กอ, เผ่าพันธุ์เรียก กระกูล สกุล ตระกูล ก็ว่า อย่างว่า พระยานาคน้าวกลอนถี่ถามดู กุมารมาแต่ใดเถิงข้อย นั่นเด จักว่าเป็นแนวเชื้อกะกูลนามในทีปใดเด เจ้าพ่อทรงเดชได้เดินดั้นฮอดเฮา นี้นา (สังข์) .
กระจัดกระจาย
หมายถึงเรี่ยราด, ไม่เป็นระเบียบ เช่น ของสิบอย่างวางไว้สิบที่ เรียกกระจัดกระจาย กระหยาดกระยาย ซะซายยายยัง ก็ว่า อย่างว่า สองพันกลิ้งกุมกันกลางแก่ง พระก็เปื้องดาบแผ้วเผลี้ยงเนื้อท่านธร คีงกระจัดม้างหัวชวนสะเด็นขาด มันก็ติดต่อได้คืนเข้าฮ่อมา (สังข์).
ผักติ้ว
หมายถึงจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีความสูงของต้นเฉลี่ยประมาณ 3-12 เมตร และอาจสูงได้ถึง 35 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลม โคนต้มมีหนาม กิ่งก้านเรียว ส่วนกิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่ทั่วไป เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดง แตกล่อนเป็นสะเก็ด ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำต้นมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมาเมื่อถูกตัดหรือเกิดแผล ขยายพันธุ์วิธีการใช้เมล็ด เป็นต้นไม้ที่ทนแล้งได้ดี พบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทางภาคใต้ตอนเหนือ โดยจะขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าตามเชิงเขา และตามป่าเบญจพรรณ
สี่
หมายถึง(กริยา) การร่วมประเวณี การมีเพศสัมพันธ์ (นาม) จำนวนสามบวกหนึ่ง เรียก สี่ เรียกชื่อเดือนทางจันรคติว่า เดือน ๔ ตกในระหว่างเดือนมีนาคม.
วิปัสสนากรรมฐาน
หมายถึงอุบายเรืองปัญญาเมื่อเจริญสมถกรรมฐานแล้ว กิเลส ๓ จะลดน้อยถอยลง แต่ก็ไม่หมดสิ้นไปจากใจ ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก คือ ยกขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฎิจจสมุปบาท ๑๒ ขึ้นมาพิจารณาอีก จนให้เห็นขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย วิราคะหายความกำหนัด วิมุตติความหลุดพ้น วิสุทธิความหมดจดกายและจิต ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน กิเลส ๓ คือ ราคะ โทสะ และโมหะไม่เกิดอีก.
ผักอีเลิด
หมายถึงชะพลู, ใบชะพลู เป็นพืชในวงศ์ Piperaceae มักสับสนกับพลู แต่ใบรสไม่จัดเท่าพลูและมีขนาดเล็กกว่า ชะพลูเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบพื้นที่ลุ่ม มีความชื่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ โดยการเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ เด็ดใบแก่ออกและนำไปปักชำได้ ผักแค, ผักปูลิง, ผักนางเลิด ก็เรียก