ค้นเจอ 17 รายการ

ให้ค่อยไป

หมายถึงการสั่งเสียก่อนจะจากไปเรียก ให้ค่อยไป อย่างว่า ให้ค่อยไปดีเยอเจ้าผู้หงส์คำผ้ายเวหาเหินเมฆ กาดำเอิ้นจ้อยจ้อยให้อวนเจ้าอ่วยคืน (ผญา).

ให้ค่อยทำ

หมายถึงทำโดยไม่อ้างกาลเวลาไม่ว่าหนักว่าเบา ไม่ว่ายากว่าง่าย ทำโดยไม่ละทิ้ง เรียก ให้ค่อยทำ อย่างว่า ให้ค่อยตักค่อยต้อนชิเห็นต่อนแกงปลา ให้ค่อยหวิดค่อยสาอย่าเซาวางไว้ คันหากเป็นตาหย้ำให้ทำกินฟ้าวฟั่ง อย่าได้นั่งเค้าเม้ามัวเว้าบ่ดี (กลอน).

ให้ค่อยแก้

หมายถึงแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้ดี เรียก แก้ การแก้นั้นจะต้องแก้ให้ดีเท่าที่จะแก้ได้ และต้องแก้ให้ดีในทุกวิถีทาง อย่างว่า ให้ค่อยคึดค่อยแก้ค่อยแก่ค่อยดึง ให้ค่อยขุดค่อยขนค่อยคนค่อยค้ำ ให้ค่อยทำคอยสร้างอย่าวางใจให้ค่อยแล่น ให้ค่อยแงะค่อยแง้มมันชิได้ต่อนคำ (ย่า)

แฮง

หมายถึงแรง, ดัง, มาก

ค่อย,ข่อย,ข้อย

หมายถึงตัวเราเอง

โหง่ย

หมายถึงอาการที่ค่อย ๆ เอนจนกระทั่งล้มลง

สะหวอย

หมายถึงอ่อนเพลีย, หมดแรง

ค่ำม้อย ๆ

หมายถึงค่ำลงเรื่อย ๆ, ค่อย ๆ มืดลง ๆ

ค่อยฮักเจ้า, ข่อยฮักเจ้า

หมายถึงฉันรักเธอ

ยากไฮ้

หมายถึงยากจนไม่มีอะไรจะกิน อย่างว่า ทุกข์ยากไฮ้ให้ได้อยู่นำกัน กลอยมันมีชิค่อยหาเอาเลี้ยง (ภาษิต).

กะซาก

หมายถึง(กริยา) กระชาก ดึงเข้ามาโดยเร็วและแรง เช่น กระซากผม, โดยปริยายหมายความว่า กระตุกโดยแรง เช่น ออกรถกระซาก, พูดกระแทกเสียงดังห้วน ๆ ในความว่า พูดกระซากเสียง

ดาง

หมายถึงตาข่ายที่สานด้วยปอ ป่าน เรียก ดาง เช่น ดางแห ดางหวิง ดางมอง หรือสิ่งที่มีลักษณะเหมือนตาข่ายเรียก ดาง เช่น รวงผึ้งเรียก ดางเผิ้ง อย่างว่า ให้ค่อยทำเพียรสร้างเสมอแตนสร้างช่อ ให้ค่อยติดต่อไว้เสมอเผิ้งต่อดาง (อิน).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ