ค้นเจอ 10 รายการ

ให้ค่อยแก้

หมายถึงแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้ดี เรียก แก้ การแก้นั้นจะต้องแก้ให้ดีเท่าที่จะแก้ได้ และต้องแก้ให้ดีในทุกวิถีทาง อย่างว่า ให้ค่อยคึดค่อยแก้ค่อยแก่ค่อยดึง ให้ค่อยขุดค่อยขนค่อยคนค่อยค้ำ ให้ค่อยทำคอยสร้างอย่าวางใจให้ค่อยแล่น ให้ค่อยแงะค่อยแง้มมันชิได้ต่อนคำ (ย่า)

ข่วมหย่วย

หมายถึงลักษณะของอาการเต้นกระโดดข้ามไปแบบไร้ปัญหา

เกือยแก้

หมายถึงแก้ไข

กับแก้

หมายถึงตุ๊กแก

ขี้เหล็กป่า

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เกิดในป่า เรียก ขี้เหล็กป่า ขนาดเท่าขี้เหล็กบ้านแต่ใบใหญ่กว่า ใช้ทำยาแก้ไข้ได้ดี.

แป่นแว่น

หมายถึงลักษณะหน้าตาที่สดใส หน้าตาเบิกบานสดชื่น เรียก หน้าแป่นแว่น ถ้าเป็นแก้มก็แก้มแป่นแว่น อย่างว่า เหลียวเห็นหน้าขาวมาแป่นแว่น พออยากแก้ซิ่นแล่นลัดต้อนหัวดอน (บ.)

แกงขม

หมายถึงสะเดาดิน ชื่อพืชชนิดหนึ่ง เกิดตามที่ชื้นแฉะ เช่น ตามปากบ่อ และทุ่งนา ใช้กินเป็นอาหารและเป็นยาแก้และป้องกันไข้ได้ เรียก ผักแกงขม ผักแกนขม ผักดางขม ก็ว่า

กรรมชรูป

หมายถึงรูปที่เกิดแต่กรรม คนหรือสัตว์ที่เกิดมา ร่างกายที่เป็นตัวตนของเรากรรมเป็นคนแต่ง เราแต่งเองไม่ได้ถึงพ่อแม่จะมีส่วนในการแต่งก็แต่งให้สวยงานไม่ได้ พ่อแม่จึงเป็นเสมือนเรือน ถ้าผู้มาเกิดคือเจ้าของเรือน สวยงามแล้วเรือนเกิดไม่เป็นปัญหา

เกงญา

หมายถึงนางสาวน้อย, นางงาม หญิงที่มีรูปร่างสวยงาม เรียก เกงญา กัญญา ก็ว่า อย่างว่า นางนั้นแนนกล่อมเกี้ยวท้าวชื่อศรีวิชัย บิดาดลนิมิตรเยืองพระองค์แก้ ภายลุนเลยเสียแก้วเกงญาลูกมิ่ง ท้าวต่างตุ้มผันผายสิ่งลม (สังข์).

ขี้สีก

หมายถึงน้ำครำ แอ่งน้ำใต้ถุนเรือนตรงที่ตั้งโอ่งน้ำกินน้ำใช้ แอ่งน้ำนี้แหละเรียก น้ำขี้สีก น้ำขี้สีกนี้หมอยาโบราณถือว่าเป็นน้ำยาศักดิ์สิทธิ์ ถ้าคนป่วยเป็นไข้ออกหมึก ออกซาง ไข้หมากไม้ใหญ่ หมอจะไปเอาน้ำนี้มาฝนใส่ยา แก้ไข้ดีนักแล.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ