ค้นเจอ 10 รายการ

จี่

หมายถึงปิ้ง,ย่าง

ขี้โม้

หมายถึงคุดทะลาด คุดทะลาด เรียก ขี้โม้ มี 2 ชนิด คือ ชนิดแห้งและชนิดเปื่อย.

กดทรง

หมายถึงวางมาด, ขี้เต๊ะ ,เก๊กหล่อ ทำท่าปั้นปึ่งขึงขังแสดงตนว่ามั่งมีศรีสุข อย่างว่า เพิ่นกะกดทรงโก้คือโตใหญ่ ตั้งทีแท้เข้าชิจี่เกลือจ้ำฮองท้องแม่นบ่มี (บ.).

กรรมวิธี

หมายถึงระเบียบ, แบบอย่าง, หลักการ การจะทำอะไรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ต้องให้มีระเบียบแบบอย่าง จึงจะน่าดูน่าชม เช่น จะฟังเทศน์ ฟังคำสั่งสอน จะกราบจะไหว้ต้องให้มีครู อย่างว่า หมกปลาแดกมีครู จี่ปูมีวาด (ภาษิต) ถ้าไม่มีครูจะกลายเป็นว่าหมกปลาแดกหนอนน้อยบ่ตาย (ภาษิต).

ขี้เจีย

หมายถึงดินประสิว เรียก ขี้เจีย เหตุที่ได้ชื่อว่า ขี้เจีย เพราะผู้ทำขี้เจียนี้เขาเอาขี้เจีย คือขี้ค้างคาวมาต้มเกลือสินเธาว์ จึงเรียกชื่อว่าขี้เจีย เขาเอาขี้เจียมาทำเป็นบั้งไฟพลุบั้งไฟตะไล บั้งไฟโบด บั้งไฟจินาย บั้งไฟอีตื้อ บั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน.

เกย

หมายถึงที่สำหรับขึ้นลงราชยานของเจ้านายเรียก เกย อย่างว่า สะพ่มพร้อมอามาตย์ประดับดี ปูราชสิงหาส์นลวาดเพียงพรมล้วนยนยนช้างเชียงทองคับคั่งม้ามากเท้าเกยกว้างจอดจน (สังข์) ยั่งยั่งเที้ยนขุนนายเนืองแห่ ควาญเกี่ยวช้างเฮียงฮ้านแทบเกย (ฮุ่ง).

กดหน้า

หมายถึงก้มหน้า ธรรมเนียมคนโบราณถือการยืนเป็นการเคารพอย่างสูง เมื่อเข้าเฝ้าเจ้านายจะต้องก้มหน้า การก้มหน้านี่แหละเรียก กดหน้า อย่างว่า หลายส่ำถ้วนทุกปากปุนแถลง สองนายเมืองผ่อกายกดหน้า สาวกระสันเยื้อนใยความประสงค์สวาก เจ้าพี่ข้อยลืมน้องหน่ายแหนง (สังข์).

ใหญ่

หมายถึงโต ไม่เล็ก โต เรียก ใหญ่ ลูกคนโต เรียก ลูกผู้ใหญ่ บ้านที่กว้างขวาง เรียก บ้านใหญ่ สิ่งของขนาดใหญ่ เรียก ใหญ่ อย่างว่า สองนายตั้งปานโตงเหล้าใหญ่ ชอบที่วอนพี่ผู้คีงค้อมค่อยเอา (ฮุ่ง) ยุ่งเหยิงมาก เรียก หยุ้งใหญ่ อย่างว่า ต้นไม้ใหญ่บ่มีผีสาวผู้ดีบ่มีชู้ธรณีบ่อกแตกสารือ ตาแฮกเปิดไก่ต้มดินชิแห้งไง่ผง (ผญา).

กรอย

หมายถึงก้น เรียกกรอย เช่นกองก้นกองกรอยกอยก็ว่าอย่างว่าแม่อี่น้อยต่ำหูกกะหลับเอากะหลับแขวนคอให้น้อง น้องบ่เหล่นกองก้นกองกอยไฟไหม้หมอนอี่นายกับแก้กับแก้ฮองปลายไม้โอดโอสาวนางโพขี่ม้าเดบเด้งเอาม้ากูมาเฮ็ดนาหนองไพ่แข้ขึ้นไข่แมงดาขึ้นฟักไก่ขาหักตักขึ้นตักลง(กล่อมลูก)

กรรม

หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ