ตัวกรองผลการค้นหา
แป้แจ้
หมายถึงสิ่งของที่เล็กและแบน ติดอยู่ตามแผ่นกระดานเรียก แป้แจ้ ถ้าขนาดใหญ่เรียก เป้อเจ้อ.
มะล่องก่องแก่ง - พจน์ สายอินดี้ - แปลเพลง
ไสว่าสิบ่ถิ่มกัน - แปลเพลง
แปลเพลง Closer – The Chainsmokers ft. Halsey
กริยา 3 ช่อง a-z พร้อมคำแปล (ไฟล์ pdf)
แป่นแว่น
หมายถึงลักษณะหน้าตาที่สดใส หน้าตาเบิกบานสดชื่น เรียก หน้าแป่นแว่น ถ้าเป็นแก้มก็แก้มแป่นแว่น อย่างว่า เหลียวเห็นหน้าขาวมาแป่นแว่น พออยากแก้ซิ่นแล่นลัดต้อนหัวดอน (บ.)
แป้งแหง้ง
หมายถึงการนอนหวายหน้า เรียก นอนแป้งแหง้ง อย่างว่า เสียงครกมองตำเข้าเดิกมามันม่วน ตำช้าช้าเสียงบอกยามซุก เดิกจั่งซุกเดิกจั่งซุก ตำเสียงสั้นสักกะลันน้ำน่ำ หกตำลึงหกตำลึงแตะแต้งแหล้งหงายลงแป้งแหง้ง (เจียง).
อีแปะ
หมายถึงชื่อเงินตราโบราณชนิดหนึ่ง เรียก เงินอีแปะ.
คัว
หมายถึงการชำแหละ, ชำแหละเนื้อ, ชำแหละปลา เอามีดชำแหละปลา เรียก คัวปลา เอามีดเชือดเนื้อ เรียก คัวซี้น ถากไม้ไสกบเพื่อทำเรือน เรียก คัวแป้น เจาะเสาเรือน เรียก คัวเสาเฮือน.
คาวเดียว
หมายถึงแป๊บเดียว,สักครู่
แมงอีนูน
หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงกินูน, แมงจินูน ก็เรียก
สิบสิฮ่าง ซาวสิฮ่าง
หมายถึงอะไรจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม
ลายต่าง
หมายถึงแตกต่างอย่างสิ้นเชิง หรือ เปลี่ยนแปลงไป
เนาะ
หมายถึงเป็นคำพูดชักชวน เช่น ไปนำกันเนาะ กินนำกันเนาะ เป็นคำที่ใช้ยืนยัน เช่น อีหลีล่ะเนาะ แปลว่า ก็จริงน่ะสิ
แหลวหลวง
หมายถึงเหยี่ยวใหญ่ เรียก แหลวหลวง อย่างว่า ครุฑใหญ่เปลื้องปีกแกว่งผาปิว แปนตูเห็นนาคเนืองในน้ำ แหลวหลวงเค้าหัวลายลุยผ่า นาคสว่านฟ้งฟางฮ้อนซ่าเสียง (สังข์).
แมงจินูน
หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงกินูน, แมงอีนูน ก็เรียก