ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ฮ่วม
ฮ่วม
หมายถึงร่วม
ประกาศผลการร่วมกิจกรรมแจกสติกเกอร์ครั้งที่ 1
กฎวัด
หมายถึงระเบียบที่ชาววัดร่วมกันตั้งขึ้นเรียก กฎวัด เป็นกฎเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับวัดอื่น เช่น ระเบียบทำวัตรสวดมนต์ ระเบียบการศึกษาเล่าเรียนระเบียบการบำเพ็ญธรรมกรรมฐาน กฎเหล่านี้อำนวยความสะดวกให้ชาววัดเมื่อถึงเวลาแล้วไม่ต้องปลุกเตินเอิ้นป่าวกันเพราะระเบียบได้ระบุไว้แจ้ง
สี่
หมายถึง(กริยา) การร่วมประเวณี การมีเพศสัมพันธ์ (นาม) จำนวนสามบวกหนึ่ง เรียก สี่ เรียกชื่อเดือนทางจันรคติว่า เดือน ๔ ตกในระหว่างเดือนมีนาคม.
เฮียงฮ่วม
หมายถึงร่วมเรียง อย่างว่า เชิญหม่อมมาเสวยเข้าสาลีเฮียงฮ่วม พี่ก็ตั้งแต่งถ้าถนอมไว้แต่นาน แล้วเด เอื้อยนี้แนวนามเชื้อฉันเดียวโดยชาติ เชิญหม่อมมาจอดยั้งยาย้านเกลียดกลัว พี่ถ้อน (สังข์) เมื่อนั้นทุกที่ให้โฮมฮอดหมอโหร เขาก็ยอกระดานหินวาดดูกงแก้ว ชาตาได้อัครราศีเฮียงฮ่วม ราหูผาดผ้ายผันใกล้ฮ่วมจันทร (ฮุ่ง).
กฎบ้าน
หมายถึงระเบียบที่ชาวบ้านร่วมกันบ้านร่วมกันตั้งขึ้น เรียก กฎบ้าน เช่นการปลูกเรือน ใครจะปลูกเรือนจะต้องไปช่วยเหลือกันทั้งผู้หญิงผู้ชาย ผู้หญิงไปหาอาหารมาเลี้ยง ผู้ชายไปจัดการปลูกทำให้เสร็จในวันเดียว การดำนา เกี่ยวข้าว ตีข้าว ถ้ามีความจำเป็นก็ขอแรงญาติให้ไปช่วย
กรรมการิณี
หมายถึงกรรมการซึ่งเพศหญิงที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทำงานดังกล่าวร่วมกับคณะกรรมการ.
หมายถึงร่วม สมสู่อยู่ร่วมกัน เรียก ฮ่วมกัน อย่างว่า นับแต่กุมภัณฑ์ได้จอมพระนางมาฮ่วม หลายขวบเข้าระดูได้แปดปีนั้นแล้ว สองกล่อมกลิ้งรัตนาสน์เฮียงฮส เสนหาฮักลวดลืมเมืองบ้าน (สังข์).
กฐินฮังโฮม
หมายถึงกฐินสามัคคีเรียก กฐินฮังโฮม กฐินชนิดนี้มีเจ้าภาพร่วมกันหลายคนจุดประสงค์ก็เพื่อจะรวบรวมเงินไปสร้าง กุฏิ วิหาร ศาลา การเปรียญ หรือสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นสาธารณะกุศล.
ออกกรรม
หมายถึงการที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.