ตัวกรองผลการค้นหา
มโนกรรม
หมายถึงการคิด ความคิด (ป. มโนกมฺม).
กกุสนธ์
หมายถึงพระนามพระพุทธเจ้าองค์แรกที่เกิดในภัทรกัปนี้ เรียก พระกกุสันธะ กุกกุสันธะก็เรียก ในภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้ามาเกิด ๕ พระองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระอริยเมตตรัยโย (ป. กกุสนธ).
ไตรทวาร
หมายถึงทวารทั้ง 3 คือ กาย เรียก กายทวาร วาจา เรียก วจีทวาร ใจ เรียก มโนทวาร.
แนม
หมายถึงมองตาม มองดู อย่างว่า บัดนี้กาละนับมื้อส้วยงัวควายบ่ได้ปล่อย เด็กน้อยเป็นผู้เลี้ยงคนเถ้านั่งแนม (กลอน) สังมาแนมตาสิ้งหลิงตาบ่พอหน่วย (กา) อันว่าฮมฮักเจ้าเจืองลุนล้านส่ำอมโนนาถไท้แนมน้องบ่วาง (ฮุ่ง).
กรรมบถ
หมายถึงทางแห่งกรรม มี ๒ อย่าง คือ กุศลกรรม ทางแห่งกรรมดี อกุศลกรรมทางแห่งกรรมไม่ดี ทางแห่งอกุศลกรรมมี ๑๐ อย่าง จัดเป็นกายกรรม ๓ อย่าง จัดเป็นวจีกรรม ๔ อย่าง จัดเป็นมโนกรรม 3 อย่าง ทางแห่งกุศลกรรมก็มี ๑๐ อย่างในทางตรงข้าม
กรรม
หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).
กุศลกรรมบถ
หมายถึงทางที่เป็นบุญ ทางที่เป็นกุศลมี ๑๐ อย่างเรียก กุศลกรรมบถ คือ กายสุจริต ได้แก่ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม วจีสุจริต ได้แก่ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบไม่พูดเพ้อเจอ มโนสุจริต ได้แก่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง.
กฎธรรม
หมายถึงธรรมะ คือ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติมีมากมายก่ายกอง เมื่อจะสรุปลงคงได้แก่สุจริต คือความประพฤติดีทางกาย เรียก กายสุจริต ประพฤติดีทางวาจา เรียก วจีสุจริต ประพฤติดีทางใจ เรียก มโนสุจริต
กระจวน
หมายถึงผง, เกสร อย่างว่า นางก็เอากระจวนจันทน์คันธรส บดแหลกยิ่งหนักหนา ไปถวายบูชาพระพุทธเจ้า (เวส) เหมือยเร่งล้นพรมพั้วกาบกระจวน (สังข์). แตก, ไหม้, ละเอียด อย่างว่า ตัดแผ่นพื้นผาล้านมุ่นกระจวน (กา) เวียงใหญ่กว้างไฟไหม้มุ่นกระจวน (กาไก) เห็นมารเหยียดคู้คำโศกถือทวน คึดเมื่อยามเฮียงสมชอบคนิงมโนแค้น คีงแข็งกร้าวตีนมือทำถีบ ผ้าแผ่นปลิ้นกระจวนล้านเลือดนอง (สังข์).
อกุศลกรรมบถ
หมายถึงทางแห่งความชั่ว ทางบาป มี ๑๐ อย่าง คือ เกิดแต่กาย เรียก กายทุจริต ๓ ได้แก่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เกิดแต่วาจา เรียก วจีทุจริต ๔ ได้แก่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เกิดแต่ใจ เรียก มโนทุจริต ๓ ได้แก่โลภอยากได้ของคนอื่น ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม เรียก อกุศลกรรมบถ (ป. ส.).