ค้นเจอ 171 รายการ

ให้ค่อยทำ

หมายถึงทำโดยไม่อ้างกาลเวลาไม่ว่าหนักว่าเบา ไม่ว่ายากว่าง่าย ทำโดยไม่ละทิ้ง เรียก ให้ค่อยทำ อย่างว่า ให้ค่อยตักค่อยต้อนชิเห็นต่อนแกงปลา ให้ค่อยหวิดค่อยสาอย่าเซาวางไว้ คันหากเป็นตาหย้ำให้ทำกินฟ้าวฟั่ง อย่าได้นั่งเค้าเม้ามัวเว้าบ่ดี (กลอน).

แกน

หมายถึงไหว,ทำได้

คัว

หมายถึงการชำแหละ, ชำแหละเนื้อ, ชำแหละปลา เอามีดชำแหละปลา เรียก คัวปลา เอามีดเชือดเนื้อ เรียก คัวซี้น ถากไม้ไสกบเพื่อทำเรือน เรียก คัวแป้น เจาะเสาเรือน เรียก คัวเสาเฮือน.

เป็นหยังบ่เมือ

หมายถึงทำไม ไม่กลับ

กี่

หมายถึงเผา ใช้กับการทำอาหารให้สุก คล้ายการปิ้งหรือย่าง โดยวางบนไฟตรง ๆ ซึ่งจะใช้ไฟค่อนข้างแรง หรือบางทีอาจจะซุกไว้กับขี้เถ้าที่ยังมีความร้อนอยู่

กฎวัด

หมายถึงระเบียบที่ชาววัดร่วมกันตั้งขึ้นเรียก กฎวัด เป็นกฎเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับวัดอื่น เช่น ระเบียบทำวัตรสวดมนต์ ระเบียบการศึกษาเล่าเรียนระเบียบการบำเพ็ญธรรมกรรมฐาน กฎเหล่านี้อำนวยความสะดวกให้ชาววัดเมื่อถึงเวลาแล้วไม่ต้องปลุกเตินเอิ้นป่าวกันเพราะระเบียบได้ระบุไว้แจ้ง

กรรมกรณ์

หมายถึงลงโทษ ได้แก่การลงโทษผู้ทำความผิด โดยการจำคุก ๑ ปรับไหม ๑ ทั้งจำคุกทั้งปรับ ๑ ประหารชีวิต ๑. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ได้แก่ตัวบทกฎหมายที่ลงโทษแก่บุคคลที่ทำความผิด โดยสมควรแก่โทษานุโทษ.

กรรมวิบาก

หมายถึงผลของกรรมเรียกวิบาก ผลดีเกิดจากการทำดี ผลไม่ดีเกิดจากการทำไม่ดี คนทำดีได้รับผลดี คนทำชั่วได้รับผลชั่ว ผลชั่วแม้แต่ผลชั่วก็ไม่ต้องการ ต้องการแต่ผลดี อย่างว่า ดีดีนี้ใผเห็นอยากเบิ่ง เทิงอยากเทิ้งเอาขึ้นขี่คอ (ภาษิต).

กรรมาธิการ

หมายถึงกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่สูงกว่ากรรมการ โดยที่จะทำการสอบสวนข้อความใดๆ เกี่ยวแก่กิจการที่ตนมีอำนาจหน้าที่ก็ได้ เช่น กรรมาธิการแห่งสภาผู้แทนราษฎร.

กระจอนจูม

หมายถึงตุ้มหูที่ทำเป็นดอกตูมๆ เหมือนดอกงิ้ว เรียก กระจอนจูม อย่างว่า กระจอนจูมสุบเซิดคำกวมเกล้า (ขุนทึง).

กระดอมเครือ

หมายถึงชื่อพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง ใช้ทำยา เรียก กระดอมเครือ.

กสิกรรม

หมายถึงการทำไร่ไถนา.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ