ตัวกรองผลการค้นหา
วจีกรรม
หมายถึงการพูด การกระทำทางวาจา (ป. วจีกมฺม).
วีรกรรม
หมายถึงการกระทำที่ได้รับการยกย่องว่ามีความกล้าหาญ การกระทำของผู้กล้าหาญ.
ก่องจ่อง
หมายถึงกริยา การกระทำที่ดูแล้วไม่เข้าท่า หรือว่ายังไม่ชำนาญ อาการที่หลังของเด็กขด เรียก ขดก่องจ่อง ถ้าหลังผู้ใหญ่ว่า ขดโก่งโจ่ง ก่งจ่ง ก็ว่า.
ทารุณกรรม
หมายถึงการกระทำอย่างโหดร้าย (ส.).
นิติกรรม
หมายถึงการกระทำโดยเจตนาให้ตรงตามกฎหมาย.
ปฐมกรรม
หมายถึงชื่อพิธีกรรมแบบหนึ่งซึ่งกษัตริย์ในครั้งโบราณกระทำแก่ผู้เป็นปรปักษ์ของตน.
กรรม
หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).
เคิก
หมายถึงพัก หรือ หยุดการกระทำนั้นชั่วขณะ
กฎกรรม
หมายถึงกรรมคือการกระทำ แยกออกเป็น ๒ อย่าง คือทำดีและทำชั่ว ทำดีได้รับผลดี ทำชั่วได้รับผลชั่ว นี่คือกฎของกรรม.
อาชญากรรม
หมายถึงการกระทำความผิดทางอาญา (ส.).
เหลือใจ
หมายถึงน้อยใจ, อัดอั้น, อึดอัด, อัดอั้นตันใจ, เก็บอัดความรู้สึกแน่นอยู่ในใจ เพราะไม่สามารถพูดหรือกระทำตามต้องการได้เนื่องจากอยู่ในภาวะจำทน
สกรรมกริยา
หมายถึงกริยาที่ต้องมีกรรมหรือผู้ถูกกระทำมารับ.