ค้นเจอ 14 รายการ

ไตรรัตน์

หมายถึงแก้ว 3 ประการคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.

สังฆกรรม

หมายถึงกิจที่พระสงฆ์สี่รูปขึ้นไปรวมกันทำภายในสีมา เรียก สังฆกรรม (ป.).

ไตรสรณคมณ์

หมายถึงการถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.

ผาติกรรม

หมายถึงการทำให้เจริญ หมายถึง พระสงฆ์จำหน่ายครุภัณฑ์ หรือจำหน่ายของเสียทำให้ดี.

ญัตติกรรม

หมายถึงได้แก่การทำอุโบสถ ทำปวารณา การทำอุโบสถและปวารณาจะต้องตั้งญัตติคือเผดียงให้สงฆ์ทราบว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าสงฆ์พร้อมเพรียงกันก็ลงมือทำอุโบสถ ทำปวารณาได้ นี่เรียก ญัตติกรรม.

บัพพาชนียกรรม

หมายถึงกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่จะพึงขับไล่ (ป. ปพฺพาชนียกมฺม).

ญัตติจตุตถกรรม

หมายถึงคือการเผเดียงสงฆ์ครั้งหนึ่ง และขอความยินยอมจากสงฆ์อีก 3 ครั้ง เช่น การอุปสมบท เมื่อสวดครบญัตติ 4 ครั้ง ไม่มีใครคัดค้านการบวชนั้นก็ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ทุกประการ นี่เรียก ญัตติจตุถกรรม.

ไทยทาน

หมายถึงของควรให้ ของควรถวายพระสงฆ์ได้แก่ปัจจัย 4 มีผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย ยาแก้ไข เรียก ไทยทาน ไทยธรรม ก็ว่า.

กุกรรม

หมายถึงความชั่วที่ทำด้วยกายวาจาและใจเรียก กุกรรม อย่างว่า ความชั่วที่ได้ทำในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ (สวดมนต์).

ออกกรรม

หมายถึงการที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.

อนันตริยกรรม

หมายถึงกรรมที่มีโทษหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ห้ามนิพพาน ตกนรกหมกไหม้หาระหว่างมิได้ อนันตริยกรรมมี ๕ อย่าง คือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ทำโลหิตุบาท (ป.).

แกง

หมายถึงชื่ออาหารมีน้ำจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดที่มีน้ำพอดี เรียก แกงธรรมดา แกงผสมหลายอย่างเรียก แกงซั้ว แกงสงฆ์ แกงชนิดมีน้ำน้อย เรียก แกงอ่อม อย่างว่า คันซิเอาะอ่อมจ้ำอย่าได้ใส่น้ำหลาย มันชิใสแจงแลงบ่เป็นตาจ้ำ (ย่า)

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ