ตัวกรองผลการค้นหา
สุระพา
หมายถึงพระอาทิตย์
สำนวนไทย หมวด ก-ฮ
สำนวนไทย หมวด ก-ฮ (ต่อ 2)
ภาษาบาลี-สันกฤต
ที่มาของสำนวน สุภาษิต คำพังเพย หมวด ก
กกุสนธ์
หมายถึงพระนามพระพุทธเจ้าองค์แรกที่เกิดในภัทรกัปนี้ เรียก พระกกุสันธะ กุกกุสันธะก็เรียก ในภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้ามาเกิด ๕ พระองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระอริยเมตตรัยโย (ป. กกุสนธ).
ไตรสรณคมณ์
หมายถึงการถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.
ไตรรัตน์
หมายถึงแก้ว 3 ประการคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.
ประจำเมือง
หมายถึงชื่อดาวพระศุกร์ที่ขึ้นในเวลาหัวค่ำ.
กรวีก
หมายถึงนกการเวก (ป. กรวิก) นกที่มีเสียงร้องไพเราะ เรียก นกกรวีก กอระวีก ก็ว่า อย่างว่า กอระวีกฮ้องเสียงก้องกล่อมไพร (กา) ผ่อเห็นเดือนด่วนแจ้งพ้นพุ่งเขาเขียว พุ้นยอ ฉายาเฮียงฮ่มดอยดาวซ้าย เหนหอนฮ้องแกวแกวกอระวีก พรายป่าเปล้ายูงผู้ส่งเสียง (สังข์)
กมเลส
หมายถึงผู้เป็นใหญ่แห่งพระลักษมี คือพระนารายณ์.
แดงจืงคืง
หมายถึงแดงระเรื่อ
ไตรปิฎก
หมายถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า มี 3 ปิฎก คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก.
ก
หมายถึงพยัญชนะตัวต้นของพยัญชนะทั้งหมด เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กก
ไทระเม็ง
หมายถึงตัวละคร ตัวละครเรียก ไทระเม็ง อย่างว่า ไทระเม็งเหล้นตามทางเต้นไต่ ใผจักเหงาหง่วมเศร้าสูญบ้างบ่มี (สังข์).
นางเมือง
หมายถึงมเหสี พระชายา.