ค้นเจอ 7 รายการ

กฎทบวง

หมายถึงทบวงคือหน่วยงานหนึ่งที่เทียบเท่ากระทรวง หรือลดหลั่นกระทรวงลงมา ข้อบัญญัติที่เจ้าทบวงตราไว้ เพื่อบริหาร เรียก กฎทบวง.

กฎศีล

หมายถึงศีลคือข้อห้าม ศีลของศาสดาแต่ละศาสนาบัญญัติไว้ไม่เหมือนกัน สำหรับพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดา ได้บัญญัติศีลแด่พุทธบริษัทไม่เคร่ง ไม่หย่อน พอเหมาะพอดี ถ้าผู้ใดประพฤติปฏิบัติได้ก็มีความร่มเย็นเป็นสุขไม่มีภัย ไม่มีเวร ประสบแต่ความสุขความเจริญ

กฎกระทรวง

หมายถึงข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายให้ไว้เรียก กฎกระทรวง ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวงออกนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภายในกระทรวงปฏิบัติให้ถูกต้องตามตำแหน่งของตนๆ.

กฎมนเทียรบาล

หมายถึงข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐานและพระราชวงศ์.

กฎกรม

หมายถึงกรมหรือหน่วยงานย่อยที่แยกออกจากหน่วยงานใหญ่ แต่ละกรมมีอธิบดีกรมเป็นหัวหน้า ข้อบัญญัติที่เจ้ากรมออกไว้ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเรียก กฎกรม ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวง เจ้าทบวง เจ้ากรมบัญญัติจะต้องไม่ขัดกับกฎหมาย ถ้าขัดกับกฎหมาย ข้อบัญญัติก็เป็น โมฆะหรือ โมฆียะ.

กฎหมาย

หมายถึงบทบัญญัติซึ่งผู้ที่มีอำนาจได้ตราขึ้นไว้ เพื่อใช้ปกครองคนภายในประเทศให้ได้ความยุติธรรม ความเป็นธรรมและความชอบธรรม ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมาย กฎหมายนั้นมีมากเมื่อจะย่อลงคงที ๓ อย่างคือ ๑. กฎหมายอาญา ๒. กฎหมายแพ่ง ๓. กฎหมายพาณิชย์

ออกกรรม

หมายถึงการที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ