ค้นเจอ 8 รายการ

กรรมสิทธิ์

หมายถึงความเป็นเจ้าของทรัพย์, ความมีอำนาจในสิ่งของที่ตนมี เช่นกรรมสิทธิ์ในที่ดิน กรรมสิทธิ์ในข้าวของเงินทอง เป็นต้น.

กระจาย

หมายถึงกำจาย ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งใบและดอกคล้ายต้นฝาง ฝักคล้ายฝักส้มป่อย เมล็ดใหญ่ ใช้เมล็ดแช่น้ำสีดำใช้ย้อมผ้าได้ เรียก หมากกระจาย อย่างว่า โอนอหีเอย คันชิเมือนำอ้ายหีบ่แดงให้ย้อมครั่ง คันแม่นย้อมครั่งแล้ว ให้ลงแหล้หมากกระจาย (อ่านเจือง). ชื่อว่านชนิดหนึ่งเรียก ว่านกระจาย ใช้เป็นว่านคงยิงไม่ออกแทงไม่เข้าผู้มีว่านกระจายต้องเลี้ยงว่านปีละครั้ง ใช้เขียดหรือกบดิบเลี้ยง โยนกบหรือเขียดดินเข้าไปว่านจะดูดกินเลือดกบหรือเขียดทันทีถ้าไม่เลี้ยงว่านจะไม่ศักดิ์สิทธิ์และเจ้าของว่านจะเป็นปอบ

ขี้สีก

หมายถึงน้ำครำ แอ่งน้ำใต้ถุนเรือนตรงที่ตั้งโอ่งน้ำกินน้ำใช้ แอ่งน้ำนี้แหละเรียก น้ำขี้สีก น้ำขี้สีกนี้หมอยาโบราณถือว่าเป็นน้ำยาศักดิ์สิทธิ์ ถ้าคนป่วยเป็นไข้ออกหมึก ออกซาง ไข้หมากไม้ใหญ่ หมอจะไปเอาน้ำนี้มาฝนใส่ยา แก้ไข้ดีนักแล.

ฮอดฮ้อย

หมายถึงถึงจำนวนร้อย เรียก ฮอดฮ้อย อย่างว่า เมื่อนั้นตนประเสริฐท้าวธรงเดชลือฤทธิ์ ทวนเชษฐาไต่ทางนำน้อง คอยเห็นซวงหลวงพ้นฮังฮามหลายหลาก ยาวฮอดฮ้อยประมาณเส้นเชือกงัว (สังข์).

เข้ากรรม

หมายถึง1.)การอยู่ไฟ การอยู่ไฟของผู้หญิง เมื่อคลอดลูกแล้วจะต้องอยู่ไฟ เพื่อให้มดลูกเข้าอู่และให้มีร่างกายแข็งแรง เป็นพิธีกรรมในการออกลูกของคนโบราณ. 2.)การเข้าปริวาสมานัตและอัพภาน เรียก เข้ากรรม ธรรมเนียมมีว่า เมื่อภิกษุต้องอาบัติหนัก จะต้องอยู่กรรมเสียก่อนจึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ การอยู่กรรมของภิกษุนี้ถือเป็นประเพณีหนึ่งในประเพณีทั้งสิบสองของภาคอีสาน หรือที่เรียกกันว่าฮีตสิบสอง.

ไก่

หมายถึงสัตว์จำพวกมีปีก มีหลายชนิด เช่น ไก่ที่มีฤทธิ์เดช สามารถสู้รบตบตีได้ชัยชนะไม่มีแพ้ เรียก ไก่แก้ว ไก่ที่มีขนหางงอนลง มีขนไม่ดก คนชอบเอาไปเลี้ยงผีปูผีตาผีตาแฮก เรียก ไก่กุ้ม ไก่ป่า เรียก ไก่ขัว ไก่ที่มีเหนียงหย่อนลงเหมือนงวงช้าง เรียก ไก่งวง .

วิปัสสนากรรมฐาน

หมายถึงอุบายเรืองปัญญาเมื่อเจริญสมถกรรมฐานแล้ว กิเลส ๓ จะลดน้อยถอยลง แต่ก็ไม่หมดสิ้นไปจากใจ ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก คือ ยกขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฎิจจสมุปบาท ๑๒ ขึ้นมาพิจารณาอีก จนให้เห็นขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย วิราคะหายความกำหนัด วิมุตติความหลุดพ้น วิสุทธิความหมดจดกายและจิต ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน กิเลส ๓ คือ ราคะ โทสะ และโมหะไม่เกิดอีก.

ออกกรรม

หมายถึงการที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ