ตัวกรองผลการค้นหา
ดินพอกหางหมู
หมายถึงนิสัยที่ชอบปล่อยให้การงานคั่งค้างสะสม ผัดวันประกันพรุ่ง เกียจคร้าน ไม่ยอมทำให้สิ่งนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นโดยเร็ว จนในที่สุดการงานต่างก็สะสมพอกพูนขึ้นจนยากที่จะสะสางให้เสร็จได้โดยง่าย
คำไวพจน์: หมู - คำไวพจน์ของ หมู พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
คำสุภาพที่ควรรู้ คู่กับคำราชาศัพท์
พิธีราชาภิเษก
คำราชาศัพท์ที่พบในพิธีราชาภิเษก
หมายถึงการปล่อยงานคั่งค้างอยู่เรื่อยๆเพราะมัวแต่ผัดวันประกันพุ่งในไม่ช้างานที่คั่งค้างนั้นจะพอกพูนมากขึ้นทุกทีจนเป็นภาระที่หน้าเบื่อหน่ายภายหลัง
หมูไปไก่มา
หมายถึงลักษณะของการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันด้วยการให้สิ่งของแลกเปลี่ยนหรือตอบแทนซึ่งกันและกันเป็นต้น
หมูในอวย
หมายถึงสิ่งที่อยู่ในกำมือ
หมายถึงแลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน, แสดงน้ำใจไมตรีตอบแทนกันและกัน
หมูในเล้า
หมายถึงผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจของตน
ต้อนหมูเข้าเล้า
หมายถึงบังคับขู่เข็ญคนไม่มีทางสู้
เห็นช้างเท่าหมู
หมายถึงไม่กลัวฝ่ายตรงข้ามแม้จะตัวใหญ่กว่า หรือมีอำนาจกว่า เพราะกำลังโกรธจัดจนลืมตัว
เสือลากหาง
หมายถึงคนที่ทำท่าทีเป็นเซื่องซึม เป็นกลอุบายให้ผู้อื่นตายใจแล้วเข้าทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ทันให้รู้ตัว, คนที่ทำท่าอย่างเสือลากหาง เพื่อขู่ให้กลัว เช่น ถือไม้เท้าก้าวเดินเป็นท่าทาง ทีเสือลากหางให้นางกลัว. (สังข์ทอง).
ยกหางตัวเอง
หมายถึงยกตนเองว่าดีว่าเก่ง
กัดหางตัวเอง
หมายถึงพูดวนไปวนมา
หมาหางด้วน
หมายถึงคนที่ทำอะไรผิดพลาดจนได้รับความอับอายแล้วชวนให้ผู้อื่นทำตามโดยยกย่องการกระทำนั้นว่าดี ควรเอาอย่าง