คำพังเพย หมวด ส
คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายแฝงอยู่ อาจเป็นคำที่ใช้สื่อในทางเปรียบเปรย หรือในทำนองเสียดสี เช่น กระต่ายตื่นตูม เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย
สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรง ๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
คำสุภาษิต หรือ สำนวนสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
รวมคำพังเพย หมวด ส
คำพังเพย หมวด ส ตามที่เคยรู้จัก คำพังเพย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- สร้างวิมานในอากาศ หมายถึง หวังจะมีจะเป็นอะไรอย่างเลิศลอย, คิดฝันลม ๆ แล้ง ๆ ถึง เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความมั่งมี
- สองจิตสองใจ หมายถึง ลังเล,ตัดสินใจไม่ได้,เช่นจะไม่เชียงใหม่ดีหรือไม่ไปดียังสองจิตสองใจอยู่
- สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ หมายถึง สอนคนที่มีสันดานไม่ดีอยู่แล้วให้มีความเฉลียวฉลาดมากยิ่งขึ้นแล้วก็ก่อให้เกิดเรื่องร้ายขึ้นมาภายหลัง
- สอนหนังสือสังฆราช หมายถึง สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว
- สาดน้ำรดกัน หมายถึง กล่าวให้ร้ายซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความเสียหายกันทั้งสองฝ่าย
- สาวไส้ให้กากิน หมายถึง นำความลับของฝ่ายตนไปเปิดเผยให้คนอื่นรู้เป็นการประจานตนหรือพรรคพวกของตน
- สำเนียงบอกภาษากิริยาส่อสกุล หมายถึง การแสดงออกทางการพูดหรือกิริยามารยาท ที่จะชี้ให้เห็นถึงพื้นฐานการในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน
- สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น หมายถึง การได้ยินได้ฟังจากผู้อื่นหลาย ๆ คน ก็ไม่เท่ากับพบเห็นด้วยตนเอง
- สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง หมายถึง มีอาชีพทางค้าขายสู้รับราชการไม่ได้ เพราะเป็นพ่อค้าย่อมมีวันขาดทุน แต่ถ้ารับราชการก็มีเจ้านายชุบเลี้ยง มีชื่อเสียง และเงินทอง ไม่มีทางขาดทุน
- สิ้นประตู หมายถึง ไม่มีทาง
- สีซอให้ควายฟัง หมายถึง แนะนำ หรือสั่งสอนคนปัญญาทึบ มักไม่มีประโยชน์ เสียเวลาเปล่า
- สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง หมายถึง คนเราแม้จะมีความรู้สูงอย่างนักปราชญ์ ก็อาจผิดพลาดได้เหมือนกัน ทุกคนจึงไม่ควรประมาท แม้สัตว์สี่เท้าเช่น วัวควายซึ่งมีสี่เท้าก็ยังอาจก้าวพลาดถึงล้มลงได้
- สี่เท้ายังรู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง หมายถึง คนเราแม้จะมีความรู้สูงอย่างนักปราชญ์ ก็อาจผิดพลาดได้เหมือนกัน ทุกคนจึงไม่ควรประมาท แม้สัตว์สี่เท้าเช่น วัวควายซึ่งมีสี่เท้าก็ยังอาจก้าวพลาดถึงล้มลงได้
- สุกเอาเผากิน หมายถึง อาการที่ทำอย่างเร่งรีบไม่ใส่ใจ, อาการที่ทำลวก ๆ พอให้เสร็จ
- สูงนักมักโค่น หมายถึง โดดเด่นเกินไป มักมีภัยแก่ตนเอง
- เสียกำซ้ำกอบ หมายถึง เสียน้อยแล้วยังจะต้องเสียมากอีก
- เสียกำแล้วซ้ำกอบ หมายถึง เสียน้อยแล้วยังจะต้องเสียมากอีก
- เสียกำแล้วได้กอบ หมายถึง เสียน้อยไปก่อนแล้วจะได้มากในภายหลัง
- เสียกำได้กอบ หมายถึง เสียน้อยไปก่อนแล้วจะได้มากในภายหลัง
- เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร หมายถึง ไม่ยอมยกสามีให้แก่ผู้หญิงอื่นแม้ต้องแลกกับทรัพย์สินเงินทองมากมายก็ตาม
- เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย หมายถึง เสียประโยชน์เพียงเล็กน้อยแต่ไม่ยอมเสีย ทำให้ต้องมาเสียมากในที่สุด
- เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน หมายถึง ยุยงให้ 2 ฝ่ายทะเลาะวิวาทกัน
- เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ หมายถึง คนมีอำนาจ บารมี อิทธิพลพอ ๆ กัน ย่อมอยู่ร่วมกันไม่ได้ ตัวอย่างเช่น เขาทั้งสองเป็นคนเก่งและมีความสามารถเท่า ๆ กันมักเกิดปัญหาเพราะความไม่ยอมกันเหมือนเสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้
- เสือเฒ่าจำศีล หมายถึง ผู้ชายสูงวัยที่ดูสุภาพน่านับถือ แต่ภายในใจเป็นคนเจ้าเล่ห์เจ้าอุบาย
- เสือเฒ่าเจ้าเล่ห์ หมายถึง ผู้ชายสูงวัยที่ดูสุภาพน่านับถือ แต่ภายในใจเป็นคนเจ้าเล่ห์เจ้าอุบาย
- ไส้เป็นหนอน หมายถึง ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้าน คิดคดทรยศ