คำพังเพย หมวด ข

คำพังเพย หมวด ข ตามที่เคยรู้จัก คำพังเพย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายแฝงอยู่ อาจเป็นคำที่ใช้สื่อในทางเปรียบเปรย หรือในทำนองเสียดสี เช่น กระต่ายตื่นตูม เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย

สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรง ๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

คำสุภาษิต หรือ สำนวนสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

รวมคำพังเพย หมวด ข

คำพังเพย หมวด ข ตามที่เคยรู้จัก คำพังเพย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. ขนทรายเข้าวัด หมายถึง การทำประโยชน์ให้ส่วนรวมโดยการกระทำอย่างไรอย่างหนึ่งแม้ไปกระทบกระเทือนให้ผู้อื่นเสียประโยชน์ก็ถือว่ายกให้กับส่วนรวมไม่ต้องมีอะไรมาชดเชยก็ได้
  2. ขนมจีนผสมน้ำยา หมายถึง พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันไม่ได้
  3. ขนหน้าแข้งไม่ร่วง หมายถึง ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน
  4. ขมิ้นกับปูน หมายถึง คนสองคนที่ไม่ถูกกันอยู่ใกล้กันเมื่อไรก็ต้องทะเลาะวิวาทกันเมื่อนั้น
  5. ขวานผ่าซาก หมายถึง โผงผางไม่เกรงใจใคร(ใช้แค่กริยาพูด)
  6. ขว้างงูไม่พ้นคอ หมายถึง ทำอะไรแล้วผลร้ายกลับมาสู่ตัว
  7. ขายผ้าเอาหน้ารอด หมายถึง ยอมเสียสละแม้แต่ของจำเป็นที่ตนมีอยู่ เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้
  8. ขิงก็ราข่าก็แรง หมายถึง ต่างก็จัดจ้านพอๆกัน,ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอๆกัน,ต่างไม่ยอมลดละกัน
  9. ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง การจัดทำสิ่งใดที่เป็นการโกลาหลโดยใช่เหตุหรือธุระที่ทำนั้นเป็นสิ่งเล็กน้อยไม่น่าจะต้องลงทุนหรือเตรียมการใหญ่โตเกินต้องการเหมือนคนลงทุนมากได้ผลตอบแทนน้อย
  10. ขี้แพ้ชวนตี หมายถึง แพ้ตามกติกาแล้วยังไม่ยอมรับว่าแพ้จะเอาชนะด้วยกำลัง,แพ้แล้วพาล
  11. ขุนไม่ขึ้น หมายถึง เลี้ยงไม่เชื่องมีแต่เนรคุณ
  12. ขุนไม่เชื่อง หมายถึง เลี้ยงไม่เชื่องมีแต่เนรคุณ
  13. ข่มเขาโคขืน หมายถึง บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการเช่นจะจัดแจงแต่งตามอารมณ์ให้กินหญ้าเราเหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า
  14. ข่มเขาโคขืนให้กลืนหญ้า หมายถึง บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ
  15. ข้างนอกขรุขระข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง หมายถึง สิ่งที่ดูภายนอกแล้วดูไม่สวยงามหรือดูไม่ดี แต่แท้จริงแล้วภายในนั้นมีความสวยงามหรือความดีซ่อนอยู่ภายใน
  16. ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง หมายถึง สิ่งที่ดูภายนอกแล้วดูสวยงามดูดี แต่แท้จริงแล้วภายในนั้นแย่
  17. ข้าวใหม่ปลามัน หมายถึง คู่แต่งงานใหม่
  18. ข้าเก่าเต่าเลี้ยง หมายถึง คนรับใช้ที่อยู่ด้วยกันมานาน, คนเก่าคนแก่
  19. เขียนด้วยมือลบด้วยตีน หมายถึง ยกย่องแล้วกลับทำลายในภายหลัง
  20. เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า หมายถึง ยกย่องแล้วกลับทำลายในภายหลัง
  21. เขียนเสือให้วัวกลัว หมายถึง ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือเกรงขาม
  22. เข็นครกขึ้นภูเขา หมายถึง ทำงานที่ยากเกินความสามารถ
  23. เข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ย หมายถึง พูดคุยถูกคอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เข้ากันได้ดี
  24. เข้าด้ายเข้าเข็ม หมายถึง จวนจะสำเร็จ ถ้าทำผิดพลาดหรือมีอะไรมาขัดจังหวะแม้เพียงเล็กน้อยก็เสียการ
  25. เข้าทางตรอกออกทางประตู หมายถึง ทำตามธรรมเนียมในเรื่องการสู่ขอ ชายหนุ่มกับหญิงสาวที่ต่างก็ผูกสมัครรักใคร่กัน ต่างก็ให้เกียรติซึ่งกันและกัน เข้าตามตรอก ออกตามประตู ก็ว่า
  26. เข้าพระเข้านาง หมายถึง แสดงบทเกี้ยวพาราสี
  27. เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม หมายถึง ประพฤติตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ, ปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ คน และสิ่งแวดล้อมที่ตัวเองอาศัยอยู่
  28. ไข่ในหิน หมายถึง ของที่ต้องระมัดระวังทะนุถนอมอย่างยิ่ง

 แสดงความคิดเห็น