คำซ้ำ (Reduplication) พูดถึงเรื่องของคำซ้ำ หรือ reduplication ในภาษาต่าง ๆ ก็มีอยู่มากมาย รวมถึงในภาษาไทยเราด้วย ภาษาไทยเราเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในภาษาที่มีความหลากหลายมากที่สุดภาษาหนึ่ง การสร้างคำต่าง ๆ ขึ้นมาจึงมีหลายวิธีในการสรรสร้างเพื่อให้ได้คำหรือความหมายใหม่ขึ้นมารวมถึงวิธีการซ้ำคำด้วย วันนี้เราจึงหยิบเรื่องคำซ้ำมาให้เรียนรู้กัน มาดูกันเลย
รวบรวม 20 สำนวนไทย รู้เอาไว้ ทันสมัยตลอดกาล จะกี่ยุคกี่สมัย ไม่ว่าจะเป็นหนุ่มสาว หรือผู้หลักผู้ใหญ่ก็นิยมใช้สำนวนไทยอยู่เรื่อย ๆ แบบว่าเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนก็คงไม่ผิดนัก แม้จะพูดจาหรือสั่งสอนใคร ก็มักจะอ้างเอาสำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่พูดต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ครั้งโบราณมาเปรียบเทียบเปรียบเปรยเสมอ ซึ่งคำเหล่านี้มักจะเป็นคำที่คล้องจองกัน ทำให้จดจำได้ง่ายและเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
อนุญาต ที่ไม่ใช่ อนุญาติ คำในภาษาไทยอีกหนึ่งคำที่มักจะเขียนและสะกดผิดกันมาตลอด หากมีโพลสำรวจก็คงหนีไม่พ้นอันดับต้น ๆ นั่นคือคำว่า อนุญาต ที่เขียนผิดโดยการเติม สระอิ ไปบน ต.เต่า กลายเป็นคำว่า อนุญาติ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เองก็พลาดกันบ่อยครั้งกับคำนี้
คำไทยโบราณที่ไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน ในปัจจุบันศัพท์วัยรุ่นแปลก ๆ โผล่มาให้เห็นกันบ่อยทั้งจากการเพี้ยนเสียง แฝงความหมายอื่นไว้ในคำศัพท์นั้น ไม่ว่าจะเป็นคำว่าลำไย นก บ่องตง จุงเบย ฯลฯ วันนี้เราจึงจะหันมาดูคำศัพท์ภาษาไทยเก่าๆแปลกๆกันบ้างที่หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินเลยด้วยซ้ำและไม่ค่อยมีคนใช้กันแล้วในปัจจุบัน เพื่อจะได้เพิ่มความรู้และฟื้นฟูความจำกัน มาดูว่าเรามีคำน่าสนใจไหนมาฝากกันบ้าง
คำราชาศัพท์คืออะไร มีที่มาจากไหน ใช้อย่างไร การศึกษาเรื่องคำราชาศัพท์ จำเป็นต้องรู้ความหมายของคำราชาศัพท์เสียก่อน จึงจะทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจในเนื้อหาและจุดประสงค์ของคำราชาศัพท์ได้ถ่องแท้ แม้คนทั่วไปจะไม่ได้ใช้คำราชาศัพท์บ่อยนักแต่ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราที่ต้องพบเจอคำราชาศัพท์อยู่ตลอด
คำสรรพนาม ในชีวิตประจำวันเราพูดคุยกันเป็นเรื่องธรรมดาแต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าคำที่ใช้แทนตัวผู้พูดและตัวคู่สนทนานั้นเรียกว่าอะไรด้วยซ้ำ เอ.. หรือนั่นคือคำสรรพนาม วันนี้เราจะมาพูดถึงคำเหล่านี้นั้นก็คือ คำสรรพนาม
ตำนานนางนพมาศที่เกี่ยวข้องกับวันลอยกระทง เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปีทุกคนก็ต้องนึกถึงเทศกาลลอยกระทง ซึ่งเป็นประเพณีของชาวไทยที่มีมาอย่างยาวนาน เชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย วันลอยกระทงเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของคนไทยที่มีความเชื่อว่าเป็นการขอขมาและบูชาพระแม่คงคาที่เราได้ใช้น้ำมาตลอดทั้งปี
"รสชาติ" กับ "รสชาด" คำไหนที่ถูกต้อง รสชาติ กับ รสชาด เป็นคำที่เขียนผิดกันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้ว รสชาติ เป็นคำที่ถูก โดยจะอ่านออกเสียงว่า รด-ชาด
50 สำนวนไทย ที่ได้ยินบ่อย ๆ สวัสดีผู้อ่านทุกท่านครับ มาพบกันคราวนี้มีเรื่องเกี่ยวกับสำนวนไทยมาฝากให้ได้ศึกษากันครับ การนำถ้อยคำสำนวนไปใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมตรงกับวัตถุประสงค์ กาลเทศะและบุคคลก็ย่อมต้องรู้ความหมายของสำนวนนั้นด้วยถึงจะใช้ได้ถูกต้อง วันนี้เราจึงนำ 50 สำนวนที่ได้ยินบ่อย ๆ มาบอกความหมาย มาดูกันเลยมีสำนวนใดบ้าง
กริยา 3 ช่อง รวมหมวด A-Z หลักการจำกริยา 3 ช่องนั้นไม่ยาก เพราะหลักของ กริยา 3 ช่อง ส่วนใหญ่ออกเสียงคล้ายกัน เพียงแค่เปลี่ยนนิดหน่อย ตามแต่ Tense นั้น ๆ ใช้บ่อย ๆ เดี๋ยวก็คุ้น
แปลเพลง Closer – The Chainsmokers ft. Halsey The Chainsmokers เจ้าของผลงานเพลงจังหวะเท่ ๆ เนื้อหาจี๊ด ๆ แต่ฟังสบาย ๆ ที่ได้ Halsey มา featuring ทำให้เพลงมีสเน่ห์ขึ้นมาอีก แน่นอนตอนนี้ติด top chart ของทุกเจ้าไปแล้วเรียบร้อย เรามาดูเนื้อหาของเพลงที่แปลเป็นไทยให้แล้วกันเลยดีกว่า
30 คำคมความรัก ภาษาอังกฤษแปลไทย ช่วงเวลาอินเลิฟ หรือเหงา ๆ เราจะโพสต์อะไรที่มัน เพ้อ ๆ หน่อย แต่ในบางครั้งเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะโพสต์อะไรดี เพราะนึกไม่ออก สมองไม่แล่น หรือเบื่อกับแคปชั่นซ้ำ ๆ ที่เคยเจออยู่บ่อย ๆ ถ้ามีปัญหาอย่างนั้นอยู่ เราก็มี คำคมความรัก ที่เรานำมาฝากเพื่อน ๆ ในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษแปลไทย ที่มีความหมายสุดซึ้ง