ภาษาไทย
สำนวนไทย
สำนวนไทย หมวด ก-ฮ (ต่อ 2)
ต่อจากบทความที่แล้ว เรามาดูสำนวนไทยกันต่อในหมวด น. - ฮ.
สำนวนไทย หมวด น
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
227 | นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ | อาการที่สำเร็จอย่างรวดเร็วอย่างคาดไม่ถึง |
228 | นกกระปูด | คนที่ชอบเปิดเผยความลับ |
229 | นกต่อ | คนที่ทําหน้าที่ติดต่อหรือชักจูงหลอกล่อคนอื่นให้หลงเชื่อ (ใช้ในทางไม่ดี). |
230 | นกรู้ | ผู้ที่มีไหวพริบรู้เท่าทันเหตุการณ์หรือภัยที่จะมาถึงตน. |
231 | นกสองหัว | คนที่ทําตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกันโดยหวังประโยชน์เพื่อตน |
232 | นอกคอก | ประพฤติไม่ตรงตามแบบตามธรรมเนียมประเพณีของบรรพบุรุษ. |
233 | นอนหลับทับสิทธิ์ | ไม่ใช้สิทธิ์ที่ตนมีอยู่เมื่อถึงคราวจะใช้, ทับสิทธิ์ ก็ว่า. |
234 | นายว่าขี้ข้าพลอย | พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย. |
235 | นิ่งเป็นสิงโตหิน | นิ่งเฉยไม่มีท่าทีใด ๆ |
236 | น้ำขึ้นให้รีบตัก | เมื่อที่มีโอกาสก็รีบขว้าเอาไว้ก่อนที่จะไม่มีโอกาส |
237 | น้ำซึมบ่อทราย | หาได้มาเรื่อย ๆ. |
238 | น้ำซึมบ่อทราย | หาได้มาเรื่อย ๆ |
239 | น้ำตาตกใน | เศร้าโศกเสียใจอย่างมาก แต่ไม่แสดงให้ปรากฏ. |
240 | น้ำตาเป็นเผาเต่า | ร้องไห้น้ำตาไหลพราก |
241 | น้ำท่วมปาก | การรู้อะไรแล้วพูดไม่ได้ พูดไม่ออกไม่สามารถพูดออกมาได้ เพราะมีความจำเป็นบางอย่างหรือเพราะเกรงจะมีภัยมาถึงตนเองแก่ตนหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องด้วย |
242 | น้ำน้อยแพ้ไฟ | ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก. |
243 | น้ำผึ้งหยดเดียว | เหตุที่เกิดเพียงเล็กน้อย |
244 | น้ำผึ้งเดือนห้า | คนที่มีเสียงหวานไพเราะ |
245 | น้ำไหลไฟดับ | เร็วและคล่อง (ใช้แก่กริยาพูด). |
246 | เนื้อไหนร้าย ให้ตัดทิ้งเสีย | สั่งสอนแล้วไม่ทำตัวให้ดีขึ้น ก็ปล่อยไปตามเรื่องราว |
สำนวนไทย หมวด บ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
247 | บนบานศาลกล่าว | ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ นำของมาบนหรือสัญญาว่าจะทำเพื่อให้สิ่งศักสิทธิ์ช่วยเหลือเกื้อหนุน |
248 | บอกศาลา | ประกาศไม่รับผิดชอบหรือตัดขาดไม่ให้ความอุปการะเลี้ยงดูอีกต่อไป. |
249 | บุญหนักศักดิ์ใหญ่ | มีฐานันดรศักดิ์สูงและอํานาจวาสนายิ่งใหญ่ เช่น น้อยหรือนางบุญหนักศักดิ์ใหญ่. (สังข์ทอง). |
250 | บ่างช่างยุ | คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน. |
251 | บ้วนน้ำลายแล้วกลืน | พูดจากลับกลอก |
252 | บ้านนอกคอกนา | บ้านนอกขอกนา. |
253 | บ้าหอบฟาง | บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น, อาการที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง. |
254 | เบี้ยหัวแตก | เงินที่ได้มาไม่เป็นกอบเป็นกําแล้วใช้จ่ายหมดไปโดยไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน. |
สำนวนไทย หมวด ป
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
255 | ปลากระดี่ได้น้ำ | แสดงท่าทางดีใจจนเกินงาม |
256 | ปล่อยนกปล่อยปลา | ทําให้หลุดออกมาด้วยคาถาอาคม เช่น สะเดาะโซ่ตรวน สะเดาะกุญแจ; ทำให้หมดสิ้นไปหรือเบาบางลง เช่น ทำบุญสะเดาะเคราะห์ ปล่อยนกปล่อยปลาสะเดาะเคราะห์. |
257 | ปล่อยไก่ | แสดงความโง่ออกมา |
258 | ปอกกล้วยเข้าปาก | ง่าย, สะดวก. |
259 | ปัดสวะ | [-สะหฺวะ] ก. ทําอย่างขอไปที, ผลักให้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบของตนไป. |
260 | ปั้นน้ำเป็นตัว | สร้างเรื่องเท็จให้เห็นเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา. |
261 | ปากตลาด | ถ้อยคําที่โจษหรือเล่าลือกัน เช่น ปากตลาดเขาว่ากันมาอย่างนี้. ปากจัด. |
262 | ปากตำแย | อาการที่ปากอยู่ไม่สุข ชอบพูด ชอบฟ้อง, ปากคัน หรือ ปากบอน ก็ว่า. |
263 | ปากปราศัยน้ำใจเชือดคอ | พูดดีแต่คิดร้าย |
264 | ปากปลาร้า | ชอบพูดคําหยาบ. |
265 | ปากหอยปากปู | ชอบนินทาเล็กนินทาน้อย; ไม่กล้าพูด, พูดไม่ขึ้นหรือพูดไม่มีใครสนใจฟัง (ใช้แก่ผู้น้อย). |
266 | ปากเปียกปากแฉะ | ว่ากล่าวตักเตือนตลอดเวลาไม่หยุดหย่อน |
267 | ปากเหยี่ยวปากกา | ภัยอันตราย. |
268 | ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม | ยังเป็นเหมือนเด็กไม่มีความคิด เป็นการว่ากล่าวตำหนิคนที่ชอบอวดดี คิดว่าตนเองเก่งกว่าผู้อื่น |
269 | ปีกกล้าขาแข็ง | พึ่งตัวเองได้, เป็นคําที่ผู้ใหญ่มักใช้กล่าวเชิงตําหนิติเตียนผู้น้อย. |
270 | เปิดหูเปิดตา | ให้ได้ฟังและให้ได้เห็นมาก (มักใช้เกี่ยวกับการไปพักผ่อนหย่อนใจและหาความรู้ไปในตัว). |
271 | เป็นกอบเป็นกำ | เป็นผลดี, เป็นชิ้นเป็นอัน เช่น ทำให้เป็นกอบเป็นกำ, เป็นก้อนใหญ่ ทําประโยชน์ต่อไปได้ดี เช่น ได้เงินมาเป็นกอบเป็นกำ. |
272 | เป็นทองแผ่นเดียวกัน | การที่ชายและหญิงแต่งงานกัน ทำให้ครอบครัวสองครอบครัวมีความแน่นแฟ้นผูกพันกัน |
สำนวนไทย หมวด ผ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
273 | ผงเข้าตาตัวเอง | เมื่อปัญหาหรือความเดือดร้อนเกิดแก่ผู้อื่น ช่วยแก้ไขให้เขาได้ แต่เมื่อเกิดแก่ตน กลับแก้ไขไม่ได้. |
274 | ผักชีโรยหน้า | การทำความดีหรือกระทำการใดๆเพียงเพื่อให้ผู้อื่นเห็นว่างานเสร็จแล้ว เรียบร้อย สวยงาม แต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งนั้นยังไม่สำเร็จเรียบร้อย |
275 | ผิดเป็นครู | ผิดแล้วจำไว้จะได้ไม่ทำอีก |
276 | ผีถึงป่าช้า | ต้องยอมทําด้วยความจําใจหรือไม่มีทางเลือก. |
277 | ผีไม่มีศาล | ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง. |
278 | ผู้ชายพายเรือ | ผู้ชายทั่วไป เช่น ผู้ชายพายเรืออยู่เต็มไป. (ขุนช้างขุนแผน), ผู้ชายรายเรือ ก็ว่า เช่น ดิฉันเป็นผู้หญิงสาว ไม่เหมือนผู้ชายรายเรือ. (มิตรสภา). |
279 | ผู้หญิงยิงเรือ | ผู้หญิงทั่วไป เช่น ของพม่าเป็นเรื่องของพระอินทร์ ดูสนิทกว่าที่จะให้ผู้หญิงยิงเรือ, ผู้หญิงริงเรือ ก็ว่า เช่น เห็นผู้หญิงริงเรือที่เนื้อเหลือง. (อภัย). |
280 | ผ้าขี้ริ้วห่อทอง | ผู้ที่มีฐานะร่ำรวย แต่ทำตัวสมถะหรือแต่งตัวซ่อมซ่อ |
สำนวนไทย หมวด ฝ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
281 | ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง | สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย, ทําการอันใดที่เป็นสิ่งสําคัญเพื่อไว้อาลัยก่อนจากไป, นํ้าสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน ก็ว่า. |
282 | ฝันกลางวัน | นึกฝันถึงสิ่งที่ไม่อาจเป็นจริงได้. |
283 | ฝากผีฝากไข้ | ขอยึดเป็นที่พึ่งจนวันตาย. |
สำนวนไทย หมวด พ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
284 | พกนุ่น | ใจเบา, ใช้เข้าคู่กับคำ พกหิน ในสำนวนว่า พกหินดีกว่าพกนุ่น. |
285 | พระยาเทครัว | ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้อง. |
286 | พริกกะเกลือ | กับข้าวชนิดหนึ่งเอามะพร้าวตําจนมีนํ้ามันออกมา ใส่เกลือกับนํ้าตาล มีรสหวานเค็ม, เครื่องจิ้มผลไม้เปรี้ยวเป็นต้น ทำด้วยพริก เกลือ และน้ำตาล. |
287 | พร้าขัดหลังเล่มเดียว | คนดีถ้าขยันก็ตั้งตัวได้ |
288 | พลิกแผ่นดิน | เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบหรือวิธีการปกครองแผ่นดิน. ว. อาการที่ตามหาเท่าไร ๆ ก็ไม่พบ เช่น หาจนพลิกแผ่นดิน. |
289 | พอลืมตาอ้าปาก | พอมีพอกิน |
290 | เพชรตัดเพชร | คนเก่งต่อเก่งมาสู้กัน. |
291 | แพแตก | ลักษณะที่ครอบครัวเป็นต้นแตกกระจัดกระจายแยกย้ายกันไปเพราะหัวหน้าครอบครัวหรือผู้เป็นหลักเป็นประธานประสบความวิบัติหรือเสียชีวิต. |
สำนวนไทย หมวด ฟ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
292 | ฟังความข้างเดียว | เชื่อถือแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง. |
293 | ฟังหูไว้หู | การรับฟังเรื่องราวต่าง ๆ แต่ไม่เชื่อทั้งหมดในทันที แต่รับฟังไว้ก่อนแล้วจึงพิจารณาในภายหลังว่าสิ่งนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ |
294 | ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ | รู้ที่ต่ำที่สูง รู้อะไรควรไม่ควร |
295 | ไฟสุมขอน | ไฟที่คุกรุ่นอยู่ในขอนไม้ขนาดใหญ่ ดับยาก, โดยปริยายหมายถึงอารมณ์รัก โกรธ หรือแค้นเป็นต้นที่ร้อนรุ่มอยู่ในใจ. |
296 | ไฟไหม้ฟาง | อารมณ์ที่เกิดขึ้นอย่างวู่วาม สักพักก็หาย |
สำนวนไทย หมวด ภ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
297 | ภูเขาเลากา | มากมายก่ายกอง |
สำนวนไทย หมวด ม
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
298 | มะนาวไม่มีน้ำ | พูดห้วน ๆ. |
299 | มัดมือชก | บังคับหรือใช้วิธีการใด ๆ ให้อีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในภาวะจำยอมโดยไม่มีทางต่อสู้. |
300 | มาเหนือเมฆ | มีความคิดหรือชั้นเชิงเหนือผู้อื่น; มาหรือปรากฏขึ้นโดยไม่คาดหมาย. |
301 | มืดแปดด้าน | นึกไม่เห็น, คิดไม่ออก, จนปัญญาไม่รู้จะหาทางออกได้อย่างไร, เช่น ตอนนี้รู้สึกมืดแปดด้านไปหมด. |
302 | มือซุกหีบ | เข้าไปยุ่งเกี่ยว รับภาระหรือยุ่งเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ภาระของตนเอง |
303 | มือที่สาม | บุคคลฝ่ายที่ ๓ ซึ่งมิใช่คู่กรณี แต่สอดเข้ามาเกี่ยวข้องในกิจกรรมหรือชีวิตของผู้อื่น มักจะเข้ามายุแหย่ให้เกิดความแตกแยกหรือบ่อนทำลาย. |
304 | มือสะอาด | มีความประพฤติดี, มีความซื่อสัตย์สุจริตไม่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวง. |
305 | มือใครยาวสาวได้สาวเอา | แข่งกันในการเอาผลประโยชน์ |
306 | ม้วนเสื่อ | เสียการพนันจนหมดตัว; เลิกกิจการเพราะขาดทุนจนไม่สามารถดําเนินกิจการนั้นต่อไปได้. |
307 | ม้าดีดกระโหลก | กิริยากระโดกกระเดก ไม่เรียบร้อย |
308 | ไม่ดูตาม้าตาเรือ | ไม่พิจารณาให้รอบคอบ. |
309 | ไม่ตายก็คางเหลือง | ป่วยหรือบาดเจ็บมากจนแทบเสียชีวิต, มักใช้ว่า ไม่ตายก็คางเหลือง. |
310 | ไม้งามกระรอกเจาะ | หญิงสวยที่ไม่บริสุทธิ์. |
311 | ไม้หลักปักเลน | โลเล, ไม่แน่นอน, เช่น เหมือนไม้หลักปักเลนเอนไปมา. (สังข์ทอง). |
312 | ไม้ใกล้ฝั่ง | แก่ใกล้จะตาย. |
สำนวนไทย หมวด ย
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
313 | ยกภูเขาออกจากอก | โล่งอก, หมดวิตกกังวล, ปลดเปลื้องภาระที่หนักอกหนักใจให้หมดไป. |
314 | ยกยอปอปั้น | ยกให้, มอบให้, เช่น ยกยอปอปั้นลูกสาวให้เขาไป; ยกย่องเกินจริง เช่น ยกยอปอปั้นให้เป็นคุณหญิง. |
315 | ยกเค้า | เอาต้นทุนหรือกองทุนไปหมด (ใช้แก่การพนัน) เช่น แทงยกเค้า; ขโมยทรัพย์สินไปหมด เช่น เขาถูกยกเค้า. |
316 | ยกเมฆ | เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหา... |
317 | ยืนกระต่ายขาเดียว | พูดยืนยันอยู่คําเดียว โดยไม่เปลี่ยนความคิดเดิม, มักพูดว่า ยืนกระต่ายขาเดียว. |
318 | ยืมจมูกคนอื่นหายใจ | อาศัยผู้อื่นทำงานให้มักไม่สะดวกเหมือนทำด้วยตนเอง, พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ หรือ เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ ก็ว่า. |
319 | ยื่นหมูยื่นแมว | แลกกันโดยต่างฝ่ายต่างให้และรับในเวลาเดียวกัน. |
320 | ยุแยงตะแคงรั่ว | ยุให้ทั้ง ๒ ฝ่ายแตกกัน. |
321 | แย้มปากเห็นไรฟัน | เพียงแต่พูดก็รู้ความหมาย |
สำนวนไทย หมวด ร
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
322 | รักนักมักหน่าย | รักกันสนิทสนมกันมากก็ขาดความเกรงใจกัน |
323 | รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี | หากลูกทำผิดก็ควรอบรมสั่งสอน ดุด่าว่ากล่าว และลงโทษเมื่อกระทำความผิดตามสมควร |
324 | รัดเข็มขัด | ประหยัด เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี ประชาชนต้องรัดเข็มขัด. |
325 | รีดเลือดกับปู | การบังคับขู่เข็ญเพื่อเอาผลประโยชน์กับผู้ที่ไม่มีความสามารถที่จะให้สิ่งที่ต้องการได้ เช่น การรีดไถเงินจากคนที่มีความยากจน |
326 | รู้เท่าไม่ถึงการณ์ | เขลา, คาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น, เช่น รับฝากของโจรไว้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าของนั้นเป็นของโจร. |
327 | รู้เห็นเป็นใจ | รู้เห็นเหตุการณ์และให้ความร่วมมือร่วมใจด้วย เช่น เขารู้เห็นเป็นใจกับโจร. |
328 | รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม | เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือเสียหายอะไร |
329 | ร่มโพธิ์ร่มไทร | ที่พึ่ง, ผู้ที่ให้ความคุ้มครองและความอบอุ่นใจ, เช่น พ่อแม่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูก. |
330 | ร้อนตัว | กลัวว่าโทษหรือความเดือดร้อนจะมาถึงตัว. |
สำนวนไทย หมวด ฤ
ไม่มีสำนวนไทยในหมวด ฤ.
สำนวนไทย หมวด ล
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
331 | ลงเรือลำเดียวกัน | ทำงานร่วมกัน, ร่วมรับผลการกระทำด้วยกัน. |
332 | ลงแขก | ร่วมแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงานเช่นดำนา เกี่ยวข้าว ให้ลุล่วงเร็วขึ้นโดยไม่รับค่าจ้าง และผลัดเปลี่ยนช่วยกันไปตามความจำเป็นของแต่ละบ้าน; รุมกันข่มขืนกระทําชําเราหญิง. |
333 | ลับลมคมใน | ความลับ, สิ่งที่เปิดเผยไม่ได้อยู่ภายใน, สิ่งที่ปกปิดเอาไว้ |
334 | ลางเนื้อชอบลางยา | ของสิ่งเดียวกัน แต่คนหลาย ๆ คนจะชอบของชิ้นนี้มากน้อยไม่เท่ากัน เพราะรสนิยมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน |
335 | ลิงหลอกเจ้า | ล้อหลอกผู้ใหญ่เวลาผู้ใหญ่เผลอ. |
336 | ลูกศิษย์มีครู | คนมีครูย่อมมีเกียรติ |
337 | ล้มหมอนนอนเสื่อ | ป่วยจนต้องนอนรักษาตัว |
338 | เลือดข้นกว่าน้ำ | ญาติพี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น. |
339 | เล็กพริกขี้หนู | เล็กแต่เก่งกล้าสามารถมาก, เล็กแต่มีพิษสง. |
สำนวนไทย หมวด ว
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
340 | วัดรอยตีน | เทียบดูว่าพอสู้ได้หรือไม่ เช่น ลูกศิษย์วัดรอยเท้าครู, คอยเทียบตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าเพื่อชิงดีชิงเด่น เช่น ลูกน้องวัดรอยตีนหัวหน้า. |
341 | วัวพันหลัก | อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี. |
342 | วัวแก่กินหญ้าอ่อน | ชายแก่ได้หญิงสาวเป็นภรรยา |
343 | ว่านอนสอนง่าย | อยู่ในโอวาท, เชื่อฟังคำสั่งสอนโดยดี. |
344 | ว่าวติดลม | ว่าวที่ลอยกินลมอยู่ในอากาศ. ว. เพลินจนลืมตัว. |
345 | ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง | การต่อว่าผู้อื่นว่าทำในสิ่งผิด แต่ตนเองกับประพฤติผิดแบบนั้นซะเอง |
สำนวนไทย หมวด ศ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
346 | ศรศิลป์ไม่กินกัน | (กลอน) ก. ทําอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศรศิลป์ไม่กินกัน. (รามเกียรติ์ ร. ๖); ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น. |
347 | ศิษย์มีครู | คนเก่งที่มีครูเก่ง. |
สำนวนไทย หมวด ส
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
348 | สมน้ำสมเนื้อ | พอเหมาะพอดีกัน เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง สมน้ำสมเนื้อกันดีแล้ว. |
349 | สวมหัวโขน | เอาหัวโขนสวมศีรษะ, โดยปริยายหมายความว่า ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แล้วมักลืมตัวชอบแสดงอำนาจ. |
350 | สวมเขา | ทำความอัปยศให้แก่สามีด้วยการมีชู้โดยที่สามีไม่รู้ระแคะระคาย |
351 | สองหน้า | ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตีทั้ง ๒ ข้าง. ว. ที่ทําตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่าไว้ใจเขานักนะ. |
352 | สองหัวดีกว่าหัวเดียว | ร่วมกันคิด ร่วมกันปรึกษา |
353 | สอดรู้สอดเห็น | เที่ยวเข้าไปรู้ในเรื่องของคนอื่น (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ใครเขาจะทำอะไรกันที่ไหน ก็เที่ยวไปสอดรู้เขาหมด เขาเป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็น มีเรื่องของชาวบ้านมาเล่าเสมอ. |
354 | สอนลูกให้เป็นโจร | ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี เมื่อลูกไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูกก็กลายเป็นโจร. |
355 | สันหลังยาว | เรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอนว่า ขี้เกียจสันหลังยาว หรือใช้สั้น ๆ ว่า สันหลังยาว ก็มี, ขี้เกียจหลังยาว ก็ว่า. |
356 | สาดโคลน | ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นให้มัวหมอง |
357 | สาวไส้ให้กากิน | การนำความลับหรือเรื่องเลวร้ายไปบอกให้คนอื่นรู้ ซึ่งไม่ก่อประโยชน์ให้กับใคร แต่ผู้ที่ได้รับฟังกลับได้ล่วงรู้ความลับต่างๆ สำนวนนี้มักจะใช้สื่อถึงการบอกเล่าเรื่องราวที่ไม่ดี และมักจะมีคู่กรณีที่ต่างคนต่างแฉกันและกัน |
358 | สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น | การบอกเล่าบอกต่อผ่านคนมามากๆ ก็ไม่เท่ากับเราได้เห็นด้วยตาตนเอง อย่าเพิ่งไปเชื่อสิ่งที่คนบอกต่อ ๆ กันมา จะจริงหรือไม่ต้องไปสัมผัสไปเห็นด้วยตัวเอง |
359 | สิบแปดมงกุฎ | เหล่าเสนาวานรของกองทัพพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ มี ๑๘ ตน; โดยปริยายหมายถึงพวกมิจฉาชีพที่ทำมาหากินโดยใช้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายหลอกลวงผู้อื่น. |
360 | สิ้นเนื้อประดาตัว | ไม่มีทรัพย์สมบัติเหลือติดตัว เช่น เขากลายเป็นคนสิ้นเนื้อประดาตัวเพราะหมกมุ่นในการพนัน กิจการค้าของเขาล้มเหลวจนสิ้นเนื้อประดาตัว. |
361 | สุกเอาเผากิน | อาการที่ทำลวก ๆ, อาการที่ทำพอเสร็จไปคราวหนึ่ง ๆ เช่น เขาทำงานสุกเอาเผากิน พอให้พ้นตัวไป. |
362 | สู้ยิบตา | สู้จนถึงที่สุด, สู้ไม่ถอย, เช่น เขาสู้ยิบตาแม้ว่าจะสะบักสะบอมเพียงใดก็ไม่ยอมแพ้. (กร่อนมาจากสำนวนเกี่ยวกับการตีไก่ซึ่งถูกตีจนต้องเย็บตาว่า สู้จนเย็บตา). |
363 | สู้เหมือนหมาจนตรอก | ฮึดสู้เพราะไม่มีทางหนี เช่น พอจนมุมเข้า เขาก็สู้เหมือนหมาจนตรอก. |
364 | เสือกระดาษ | ประเทศ องค์การ หรือผู้ที่ทําท่าทีประหนึ่งมีอํานาจมากแต่ความจริงไม่มี. |
365 | เสือซ่อนเล็บ | ดูไม่มีอะไรน่ากลัวหรือมีอะไรโดดเด่น แต่แท้จริงแล้วอาจแอบซ่อนความสามารถ ที่ไม่ยอมแสดงออกมาให้ไครรู้ |
366 | เสือนอนกิน | คนที่ได้รับผลประโยชน์หรือผลกําไรโดยไม่ต้องลงทุนลงแรง. |
367 | เสือลำบาก | เสือที่ถูกทำร้ายบาดเจ็บ มีความดุร้ายมากกว่าปรกติ, โดยปริยายหมายถึงคนที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น. |
368 | ใส่หน้ากาก | แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัยใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างใส่หน้ากากเข้าหากัน, สวมหน้ากาก ก็ว่า. |
369 | ไส้แห้ง | ยากจน, อดอยาก. |
สำนวนไทย หมวด ห
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
370 | หงายเก๋ง | แพ้ราบคาบ แบบหมดรูป สู้ไม่ได้ |
371 | หญ้าปากคอก | ดู ตีนกา ๓. |
372 | หนอนบ่อนไส้ | ฝ่ายตรงข้ามที่เข้ามาทำทีเป็นพวกเพื่อบ่อนทำลาย. |
373 | หนอนหนังสือ | คนที่ชอบหมกมุ่นอยู่กับการอ่านหนังสือ. |
374 | หนักเอาเบาสู้ | ขยันขันแข็งไม่เกี่ยงงาน |
375 | หนักแผ่นดิน | ไม่รู้คุณของแผ่นดินที่อาศัย, ทรยศต่อบ้านเมืองของตน, เสนียดสังคม. |
376 | หนังหน้าไฟ | ผู้ได้รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่น เช่น ลูกทำความผิดมา พ่อแม่ก็ต้องเป็นหนังหน้าไฟ. |
377 | หนามยอกอก | คนหรือเหตุการณ์ที่ทําให้รู้สึกเหมือนมีอะไรมาทิ่มแทงอยู่ในอกตลอดเวลา. |
378 | หนีร้อนมาพึ่งเย็น | หนีจากที่ที่มีความเดือดร้อนมาอาศัยอยู่ในที่ที่มีความสงบสุข |
379 | หนีเสือปะจระเข้ | หนีภัยอันตรายอย่างหนึ่งแล้วต้องพบภัยอันตรายอีกอย่างหนึ่ง |
380 | หนูตกถังข้าวสาร | ชายที่ฐานะไม่ค่อยดี ยากจน แต่งงานกับหญิงที่ร่ำรวยและมั่งคั่งกว่าตัว |
381 | หนูติดจั่น | จนปัญญา, หาทางออกไม่ได้. |
382 | หน้าฉาก | ที่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น ฐานะหน้าฉากของเขาเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง แต่ความจริงค้าขายยาเสพติด, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. |
383 | หน้าต่างมีหู ประตูมีช่อง | ความลับรักษาได้ยาก |
384 | หน้าเป็นม้าหมากรุก | หน้างอแสดงความโกรธ |
385 | หน้าเลือด | ชอบแสวงหาประโยชน์โดยวิธีบังคับให้จำยอมเพราะเห็นแก่ตัว เช่น เขาเป็นเจ้าหนี้หน้าเลือด, หน้าโลหิต ก็ว่า. |
386 | หน้าใหญ่ใจโต | มีใจกว้างใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัวเพื่ออวดมั่งมี เช่น เขาชอบทำหน้าใหญ่ใจโตทั้ง ๆ ที่มีเงินน้อย. |
387 | หมองูตายเพราะงู | ผู้ที่ชำนาญในการเอางูเห่ามาเลี้ยงเป็นอาชีพก็อาจถูกงูเห่ากัดตายเพราะความประมาทได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความรู้อาจตายหรือพลาดท่าเสียทีเพราะความรู้ของตนก็ได้. |
388 | หมาจนตรอก | คนที่ฮึดสู้อย่างสุดชีวิตเพราะไม่มีทางเลือก ในสำนวนว่า สู้เหมือนหมาจนตรอก. |
389 | หมาหยอกไก่ | เรียกอาการที่ชายหยอกล้อหญิงในทำนองชู้สาวเป็นทีเล่นทีจริง. |
390 | หมาหัวเน่า | ไม่มีไครเอาไม่มีไครต้อการ โดนรังเกียจ ไม่มีไครอยากคบด้วย |
391 | หมาหางด้วน | คนที่ทําอะไรผิดพลาดจนได้รับความอับอายแล้วชวนให้ผู้อื่นทําตามโดยยกย่องการกระทํานั้นว่าดี ควรเอาอย่าง. |
392 | หมาเห่าใบตองแห้ง | คนที่ทำตัวเองเหมือนมีความเก่งกล้าสามารถ แต่จริงแล้วเป็นคนที่ขี้ขลาดไม่กล้าจริงอย่างที่พูด |
393 | หมาในรางหญ้า | คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้, หมาหวงราง ก็ว่า. |
394 | หมูไปไก่มา | ลักษณะของการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันด้วยการให้สิ่งของแลกเปลี่ยนหรือตอบแทนซึ่งกันและกันเป็นต้น |
395 | หวังน้ำบ่อหน้า | ของที่ได้แน่นอนแล้วไม่เอา กลับไปคาดหวังกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง |
396 | หอกข้างแคร่ | การมีศัตรูอยู่ใกล้ตัวเช่นคนใกล้ชิดที่อาจคิดร้ายขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ |
397 | หัวกะทิ | ดีเด่นเป็นพิเศษ |
398 | หัวหกก้นขวิด | อาการที่ทำอะไรตามความพอใจอย่างเต็มที่ |
399 | หัวหมอ | เจ้าเล่ห์อ้างนู่อ้างนี่ไปเรื่อย ฉลาดแกมโกง |
400 | หัวหลักหัวตอ | มองข้ามในบางเรื่องว่าไม่สำคัญ แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่สำคัญมาก |
401 | หัวเดียวกระเทียมลีบ | ตัวคนเดียว อยู่คนเดียว ไม่มีเพื่อนฝูง |
402 | หัวเรือใหญ่ | ผู้ที่เป็นหัวหน้าในการสั่งการทำกิจการต่าง ๆ |
403 | หัวแก้วหัวแหวน | รักใคร่เอ็นดูมาก |
404 | หัวไม่วาง หางไม่เว้น | ถูกเรียกใช้ โดนใช้งานอย่างหนักอยู่ตลอด ไม่ได้ว่างเว้น |
405 | หามรุ่งหามค่ำ | หักโหมทั้งวันทั้งคืน |
406 | หายใจไม่ทั่วท้อง | ไม่สบายใจเพราะเป็นกังวล เช่น เขาหายใจไม่ทั่วท้องขณะต้องเสี่ยงขับรถไปบนสะพานชำรุด |
407 | หาเช้ากินค่ำ | หาเลี้ยงชีพด้วยความลำบากยากแค้นพอประทังชีวิตไปวันหนึ่ง ๆ |
408 | หูเบา | เชื่อคนง่าย |
สำนวนไทย หมวด อ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
409 | ออกลาย | เริ่มแสดงความไม่ดีให้ปรากฏหลังจากที่แสร้งทําดีมาแล้ว |
410 | อ้าปากเห็นลิ้นไก่ | คือรู้ทันกันรู้ทันสิ่งที่จะทำ |
411 | เอาข้างเข้าถู | ไม่ใช้เหตุผล ดื้อดันจะเอาชนะให้ได้ เอาสีข้างเข้าถู ก็ว่า |
412 | เอาน้ำลูบท้อง | อดทนในยามยามโดยกินน้ำแทนข้าว |
413 | เอาปูนหมายหัว | ผูกอาฆาตไว้ คาดโทษไว้ เชื่อแน่ว่าจะเป็นไปตามที่คาดหมายไว้ ประมาทหน้าว่าไม่มีทางจะเอาดีได้ |
สำนวนไทย หมวด ฮ
ไม่มีสำนวนไทยในหมวด ฮ.
ย้อนกลับไปที่ สำนวนไทย หมวด ก-ฮ หน้าแรก
หากหาสำนวนไหนไม่เจอ สามารถกดค้นหาสำนวนไทย แล้วพิมพ์ค้นหาได้เลย