ภาษาไทย สำนวนไทย

ที่มาของสำนวนไทย

วันนี้เราจะมาดูกันว่าสำนวนไทยนั้นมีที่มาจากอะไรกันได้บ้าง ซึ่งสำนวนไทยมีจำนวนมากมายและมีที่มาที่หลากหลายประเภท

ทางทีมงานได้รวบรวมประเภทที่มาและตัวอย่างไว้ให้ในบทความนี้ ไปดูกันเลย

 

ที่มาของสำนวนไทย

มาที่ของสำนวนไทยต่าง ๆ โดยแบ่งเป็นหลายลักษณะดังต่อไปนี้

 

1. มีที่มาจากธรรมชาติ

เป็นสำนวนที่เทียบเคียงมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังตัวอย่าง

สำนวน

ที่มา

ความหมาย

กาฝาก

 ต้นไม้ที่เกาะเบียดเบียนอาศัยอาหารจากต้นใหญ่ เลี้ยงตัว แฝงกินอยู่กับผู้อื่นโดยไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้

ก่อหวอด

 การวางไข่ของปลา  ปลาจะพ่นน้ำเป็นฟองเรียกว่า   หวอด  เพื่อให้ไข่ปลาอาศัยจน เป็นลูกปลา เริ่มจับกลุ่มเพื่อนทำการ อย่างใดอย่าง หนึ่ง
เข้าไต้เข้าไฟ เวลาใกล้ค่ำต้องจุดไต้ ให้แสงสว่าง เวลาพลบค่ำ
คลื่นกระทบฝั่ง

ทะเลมีคลื่นวิ่งเข้าหาฝั่งตลอดเวลา

เรื่องราวที่ครึกโครมขึ้นแล้วกลับเงียบ หายไป
คืบก็ทะเล  ศอกก็ทะเล แสดงถึงความน่ากลัวของทะเล สอนให้อย่าประมาทเพราะทะเล มีอันตรายทุกเมื่อ
ต้นไม้ตายเพราะลูก ธรรมชาติของต้นไม้บางชนิดเมื่อออกผลแล้วจะตาย  พ่อแม่ยอมเสียสละแม้ชีวิตเพื่อลูก
ติดร่างแห เวลาจับปลาด้วยแห ปลาน้อยใหญ่ก็จะติดแหมาด้วย  พลอยรับเคราะห์ไปด้วย
ตื่นแต่ไก่โห่ ธรรมชาติของไก่ย่อมขัน ในเวลาเช้ามืดเสมอ  ตื่นแต่เช้ามืด
ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ ฟ้าอยู่สูงแผ่นดินอยู่ที่ต่ำ  คนมีทั้งที่สูงและที่ต่ำ
สนตะพาย การสนตะพายที่จมูกวัวควาย  เพื่อชักจูงไปได้สะดวก  ยอมให้ชักจูง

 

2. ที่มาจากวัฒนธรรมการดำรงชีวิต

เช่น  ปัจจัยสี่  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  พาหนะ  เป็นต้น  ดังตัวอย่าง

สำนวน

ที่มา

ความหมาย

ก้นหม้อไม่ทันดำ การหุงข้าวกว่าก้นหม้อจะติดเขม่าดำกินเวลานาน  เลิกกันง่าย
ชุบมือเปิบ การกินข้าวด้วยมือ  ก่อนจะกิน อาหารจะเอา มือลงชุบน้ำ เพื่อล้างมือให้สะอาด และไม่ให้ข้าว ติดมือ  คนที่ไม่ช่วยทำพอถึงเวลา มารับประทาน คนที่ฉวยประโยชน์จากคนอื่นโดยไม่ลงทุน ลงแรง
นุ่งเจียมห่มเจียม การแต่งกาย  แต่งตัวพอสมกับฐานะ
จุดไต้ตำตอ เวลาพลบค่ำจะจุดไต้เป็นเครื่องตามไฟ  พูดหรือทำสิ่งใดกับเจ้าของเรื่อง โดยผู้นั้น ไม่รู้ตัว
บ้านเมืองมีขื่อมีแป เรือนต้องมีขื่อสำหรับยึดหัวเสาเรือนตามขวาง  ส่วนแปเป็นไม้ยึดหัวเสาตามยาว  บ้านเมืองมีกฎหมายคุ้มครอง
ติเรือทั้งโกลน การทำเรือสมัยโบราณ จะเหลาซุงทั้งต้นให้ เป็นรูปร่างก่อน เรียกว่า โกลน ตำหนิสิ่งที่ยังทำไม่เสร็จ

 

3. ที่มาจากวัฒนธรรมทางสังคม

เช่น  การทำมาหากิน  การกระทำ  ประเพณี  การละเล่น  การศึกษา  การเมืองการปกครอง  เป็นต้น  ดังตัวอย่าง

สำนวน

ที่มา

ความหมาย

ไกลปืนเที่ยง ในรัชกาลที่ 5 เริ่มยิงปืนใหญ่เวลา 12.00 นาฬิกาในพระนคร ให้ได้รู้กันว่าเป็นเวลาเที่ยง คนที่อยู่ไกลออกไป คนบ้านนอก
ทำนาบนหลังคน อาชีพการทำนา การแสวงหาผลประโยชน์ ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น
ฝังรก  ฝังราก การทำขวัญทารกที่เกิดได้สามวัน  เอารกกับ มะพร้าว ตั้งถิ่นฐานประจำ
คนตายขายคนเป็น การจัดงานศพ การจัดงานศพใหญ่โตทั้ง ๆ ที่ลูกหลานยากจน  ต้องไปกู้เงินมาทำศพ หลังงานศพ ต้องใช้หนี้ ได้รับ ความลำบาก
ไม่ดูตาม้าตาเรือ การเล่นหมากรุก ไม่พิจารณาให้รอบคอบ
ความรู้ท่วมหัว  เอาตัวไม่รอด การศึกษา มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์
เจ้าถ้อยหมอความ โวหารของนักกฎหมาย  หรือหมอความ(ทนายความ) ผู้ที่ใช้โวหารพลิกแพลงเช่นเดียวกับผู้ที่เป็น หมอความ(ทนายความ)
นอนหลับทับสิทธิ์ การเมืองการปกครอง ไม่ไปใช้สิทธิ์ที่ตนเองมีอยู่เมื่อถึงคราวที่จะใช้
สู้จนเย็บตา การชนไก่  ไก่ถูกแทงจนหน้าตาฉีกก็เย็บ แล้วให้สู้อีก สู้จนถึงที่สุด สู้อย่างไม่ย่อท้อ สู้ไม่มีถอย

 

 

 

4. ที่มาจากวัฒนธรรมทางจิตใจ

เช่น ทางศาสนาและความเชื่อ  ดังตัวอย่าง

สำนวน

ที่มา

ความหมาย

กรวดน้ำคว่ำขัน เวลาไปทำบุญแล้วกรวดน้ำอุทิศ ส่วนกุศล ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย
ผีซ้ำด้ำพลอย การนับถือผีบรรพบุรุษ ถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งลงหรือ เมื่อคราวเคราะห์ร้าย
ปิดทองหลังพระ ทำเนียมการปิดทองคำเปลว ที่พระพุทธรูป ทำความดีแต่ไม่ได้รับการ ยกย่องเพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า
ขนทรายเข้าวัด การทำบุญก่อพระเจดีย์ทราย ที่วัด การหาประโยชน์ให้ส่วนรวม
บุญทำกรรมแต่ง การทำบุญ สร้างกรรม บุญหรือบาปที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุให้รูปร่าง หน้าตาหรือวิถีชีวิตของคนเราในชาตินี้ สวยงาม ดี ชั่ว

 

5. ที่มาจากวัฒนธรรมทางศิลปะ

เช่น  การแสดง  ดนตรี  เป็นต้น  ดังตัวอย่าง

สำนวน

ที่มา

ความหมาย

ประสมโรง การตั้งคณะละครโดยเอาตัวละครจากที่ต่าง ๆ มารวมกันเป็นโรง พลอยเข้าร่วมเป็นพวกด้วย
ชักใย การเล่นหุ่นและหนังตะลุง บงการอยู่เบื้องหลัง
นอกจอ การเล่นหนังใหญ่ ดีแต่เก่งอยู่ข้างนอก
คลุกคลีตีโมง การเล่นดนตรีปี่พาทย์ คลุกคลีพัวพันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
โจ๋งครึ่ม สำเนียงการตีตะโพน การกระทำสิ่งใดอย่างเปิดเผย

 

6. ที่มาจากวัฒนธรรมทางภาษา วรรณคดี ตำนาน นิทาน ประวัติศาสตร์

ดังตัวอย่าง

สำนวน

ที่มา

ความหมาย

งอมพระราม เรื่อง รามเกียรติ์ พระรามต้องผจญกับความทุกข์ยาก ลำบากต่าง ๆ นานา มากมาย มีความทุกข์ลำบากเต็มที่
ชักแม่น้ำทั้งห้า เรื่องมหาเวสสันดรชาดก ชูชกกล่าวขอสองกุมาร ต่อพระเวสสันดร พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณ เพื่อขอสิ่งที่ประสงค์
เนื้อถ้อยกระทงความ การใช้ภาษา เนื้อความที่แยกแยะออก เป็นข้อ ๆ  อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง
 ที่เท่าแมวดิ้นตาย นิทานเรื่องศรีธนญชัย  ที่ขอพระราชทานที่เท่า แมวดิ้นตาย โดยเอาแมวมาผูกและ ใช้ไม้ตีแมวให้วิ่ง ไปมาจนแมวตาย  ทำให้ได้ที่ดินจำนวนมาก มีที่ดินที่เนื้อที่น้อยเพียง ตัวแมว ดิ้นตาย
ปล่อยม้าอุปการ เรื่องรามเกียรติ์ พระรามทำพิธีปล่อยม้าอุปการ  แล้วให้ หนุมานตามไป  ผู้ใดบังอาจจับม้าขี่ ก็จะถูกปราบ การกระทำที่ใช้คนออกไปเที่ยว พาลหาเรื่องหรือทำให้เกิดเรื่อง  ขึ้นเพื่อ ประโยชน์ตนเอง
ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง วรรณคดีเรื่องอิเหนา ท้าว กะหมังกุหนิง ยกทัพมาประชิดเมืองดาหาเพื่อชิงนางบุษบา  อิเหนาก็มาช่วยปราบศึกและเมื่อได้พบ นางบุษบา ก็ลุ่มหลงออกอุบายแต่งทัพปลอม เป็นทัพกะหมังกุหนิงเข้าเผาเมือง แล้วปลอมเป็นจรกาพา นางบุษบา ไปซ่อนไว้ในถ้ำ ตำหนิผู้อื่นเรื่องใดแล้วตนก็กลับทำในเรื่องนั้นเสียเอง

 


จะเห็นได้ว่าที่มาของสำนวนไทยนั้นมาจาก 6 ประเภทด้วยกัน หวังว่าน่าจะพอแยกที่มาได้เมื่อไปเห็นสำนวนไทยอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากที่ผมยกตัวอย่างมาให้

หากสงสัยหรืออยากได้ตัวอย่างเพิ่มเติมก็คอมเมนต์ด้านล่างนี้ได้เลย หรืออยากค้นหาสำนวนไทยอื่น ๆ ก็สามารถไปค้นหาเพิ่มเติมได้ที่ สํานวนไทย และความหมาย รวมสำนวนไทยใกล้ตัว สำนวนไทย ก-ฮ