ค้นเจอ 664 รายการ

เสียหนัก

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา หมายความว่า มาก เช่น งานอย่างนี้ ทำมาเสียหนักแล้ว.

หนัก

หมายถึงว. มีน้ำหนักมาก, ตรงข้ามกับ เบา; แรง เช่น ฝนตกหนัก, รุนแรง เช่น รบหนัก ไข้หนัก, มาก เช่น บุญหนักศักดิ์ใหญ่; ที่ให้ผลช้ากว่าปรกติ เช่น ทุเรียนหนัก ข้าวหนัก.

เสียแต่,เสียที่

หมายถึงสัน. เสียตรงที่, บกพร่องตรงที่, มีตำหนิตรงที่, เช่น หน้าตาก็สวยดี เสียแต่พูดไม่เพราะ.

เสียได้

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความผิดหวังเป็นต้น เช่น ตั้งใจมาหาเพื่อนทั้งที กลับไม่อยู่เสียได้.

ไม่ได้ไม่เสีย

หมายถึงว. เสมอตัว, เท่าทุน.

เสียแล้ว

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความเป็นอดีต เช่น ยังไม่ทันได้พูดคุยกันเลย เขาก็กลับไปเสียแล้ว.

เป็นเสียเอง

หมายถึงก. ทำเรื่องเสียหายเอง, เป็นเอง ก็ว่า.

เสีย

หมายถึงก. เสื่อมลงไป, ทำให้เลวลงไป, เช่น เสียเกียรติ เสียศักดิ์ศรี เสียชื่อ; สูญไป, หมดไป, สิ้นไป, เช่น เสียแขน เสียชีวิต เสียทรัพย์; ชำรุด เช่น ถนนเสีย ทางเสีย; ใช้ไม่ได้ เช่น เครื่องไฟฟ้าเสียหมดทุกอย่าง รถเสียกลางทาง; ยับเยิน, ย่อยยับ, เช่น ปีนี้ฝนแล้งจัดเรือกสวนไร่นาเสียหมด, เสียหาย ก็ว่า; บูด เช่น แกงหม้อนี้เสียหมดทั้งหม้อ, เน่า เช่น ผลไม้เข่งนี้เสียแล้ว; ไม่ดี เช่น ราขึ้น ขนมปังจึงเสียหมดทั้งแถว เธอดัดผมบ่อยเกินไป ทำให้ผมเสีย; จ่ายเงิน, ชำระเงิน, เช่น เสียภาษี เสียค่าโทรศัพท์; หมดทรัพย์สินไปเพราะการพนัน เช่น เสียไพ่ เสียม้า; ตาย เช่น เขาเสียไปหลายปีแล้ว; (โบ) ทิ้ง เช่น ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก. (สุภาษิตพระร่วง), เสียไฟเป่าหิ่งห้อย. (ลอ). ว. ที่ไม่ดี เช่น นิสัยเสีย น้ำเสีย; พิการ เช่น ตาเสีย ขาเสีย; บูด เช่น อย่ากินแกงเสีย จะปวดท้อง.

เสีย

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อให้เน้นความหมายหรือให้เสร็จไป เช่น กินเสีย มัวไปช้าเสีย.

เสียเช่น

หมายถึง(วรรณ) ว. มีกำเนิดไม่ดี เช่น บ้างก็ดุเดือดด่าขู่เขี้ยวเข็ญ ว่าอีชาติชั่วอีเสียเช่นชาติมันไม่ดี. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย

หมายถึง(สำ) ก. เสียเพียงเล็กน้อยไม่ยอมเสีย ทำให้ต้องเสียมากกว่าเดิม เช่น ตอนที่เบรกรถยนต์เริ่มไม่ดี ก็ไม่รีบไปซ่อม พอเบรกแตกไปชนต้นไม้เข้า เลยต้องเสียค่าซ่อมมาก เข้าทำนองเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย.

หูหนัก

หมายถึงว. ไม่เชื่อคำป้อยอหรือยุแหย่เป็นต้นของใครง่าย ๆ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ