พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง หมายถึงอะไร
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง หมายถึง พูดไปก็ไม่มีประโยชน์ สู้นิ่งไว้ดีกว่า
สำนวนไทย "พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง" ก็เป็นสำนวนที่ความหมายตรงตัวเลย คือ พูดไปก็ไม่มีประโยชน์ สู้นิ่งไว้ดีกว่า เหมือนเมื่อพูดก็ได้เงินเพียง 2 ไพ แต่นิ่งเสียเฉยกลับได้ถึง 1 ตำลึงของทองคำ
สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่ใกล้เคียง
- ปลาหมอตายเพราะปาก
- กล้านักมักบิ่น
ที่มา
ในอดีตการรับของรางวัลหรือผลตอบแทนจากเจ้านายนั้นจะรับเป็นเบี้ยหวัดโดยที่ไม่ได้มีข้อตกลงตายตัว แต่จะขึ้นอยู่กับระดับความพึงพอใจของเจ้านายเป็นหลัก ดังนั้นหากพูดสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกไปทำให้เจ้านายไม่พอใจ อาจจะได้รางวัลนิดเดียว เปรียบเป็น 2 ไพเบี้ย แต่หากไม่พูดอะไรไปให้มากความ อยู่นิ่ง ๆ ให้เสมอตัว ก็รอรับรางวัลตามที่ควรจะได้ หรือได้มากกว่าเดิม เปรียบเป็น 1 ตำลึงทองคำ
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ในภาษาอังกฤษ
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง มีความหมายใกล้เคียงกับสำนวนในภาษาอังกฤษที่กล่าวว่า "Speech is silver, silence is golden." ซึ่งแปลว่า "ให้นิ่งดีกว่าโต้เถียง พูดไปก็เหนื่อยเปล่า ไร้ประโยชน์"
ตัวอย่างการใช้งาน
- อย่าไปพูดให้มากความเลย สู้นิ่ง ๆ ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นดีกว่า ดังสุภาษิตไทยที่ว่า พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง