ค้นเจอ 101 รายการ

สมาส

หมายถึง[สะหฺมาด] น. การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาต่อกันเป็นศัพท์เดียวตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สุนทร + พจน์ เป็น สุนทรพจน์ รัฐ + ศาสตร์ เป็น รัฐศาสตร์ อุดม + การณ์ เป็น อุดมการณ์. (ป., ส.).

อันเต,อันโต

หมายถึงคำใช้เป็นส่วนหน้าสมาส หมายความว่า ภายใน.

สังฆ,สังฆ-

หมายถึง[สังคะ-] น. สงฆ์, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.

องศ์

หมายถึงน. ส่วน, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ไตรยางศ์ (ตฺรย + อํศฺ) ว่า ๓ ส่วน.

อาธาน

หมายถึง[-ทาน] น. การตั้งไว้, การวางไว้, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น จิตกาธาน. (ส.).

จริยา

หมายถึง[จะ-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคำสมาส เช่น ธรรมจริยา.

สุต

หมายถึง[สุด] น. ลูกชาย (มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส). (ป., ส.).

ทัต,-ทัต

หมายถึงก. ให้แล้ว, ใช้เป็นคำหลังสมาส เช่น พรหมทัต เทวทัต. (ป. ทตฺต).

สัตถุ

หมายถึงน. ครู, ผู้สอน, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส. (ป.).

ยง

หมายถึงว. อร่ามเรือง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น โฉมยง ยุพยง.

ศยะ

หมายถึง[สะ-] ก. นอน; หลับ; อยู่, พักผ่อน, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส. (ส.).

กัณห,กัณห-

หมายถึง[กันหะ-] ว. ดำ, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. (ป.; ส. กฺฤษฺณ).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ