ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา อุทร, มาศ, กระจับปิ้ง, จับปิ้ง, ชาตรูป, ดิ้น
แว่นเวียนเทียน
หมายถึงน. แว่นสำหรับใช้ติดเทียนทำขวัญ ทำด้วยเงิน ทอง หรือทองเหลือง รูปแบน ๆ มีปลายแหลมเหมือนใบโพสำหรับติดเทียน มีด้ามถือ.
กิ้งก่าได้ทอง
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง หมายถึงอะไร
คำราชาศัพท์ - คําราชาศัพท์ หมวดเครื่องประดับ
หิรัญ,หิรัญ-
หมายถึง[หิรัน, หิรันยะ-] น. เงิน, บางแห่งว่า ทอง ก็มี แต่โดยทั่วไปหมายถึง เงิน. (ป. หิรญฺ; ส. หิรณฺย).
ไร
หมายถึงน. ทอง เช่น เรืองไร.
ทองเค
หมายถึงน. เรียกทองคำที่มีเกณฑ์สำหรับวัดความบริสุทธิ์เป็นกะรัตว่า ทองเค, ทอง ๒๔ กะรัต ถือเป็นทองแท้ ถ้ามีกะรัตตํ่าลงมา ก็มีโลหะอื่นเจือมากขึ้นตามส่วน เช่น ทองคำ ๑๔ กะรัต หมายถึงมีเนื้อทอง ๑๔ ส่วน มีโลหะอื่นปน ๑๐ ส่วน, ทองนอก ก็เรียก.
กัมพู
หมายถึง(แบบ) น. หอยสังข์; ทอง เช่น กัมพูหุ้มพู่พรรณจามรี. (บุณโณวาท), ทองสุคนธ์ปนสุวรรณ์กัมพู. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ) เขียนเป็น กำพู กำภู ก็มี. (ป., ส. กมฺพุ).
กาญจน,กาญจน-,กาญจนา
หมายถึง[กานจะนะ-] (แบบ) น. ทอง. (ส.; ป. กญฺจน).
ตะปิ้ง
หมายถึงน. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทำด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง จะปิ้ง จับปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก.
ทอง
หมายถึงน. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Butea วงศ์ Leguminosae ชนิด B. monosperma (Lam.) Kuntze เป็นไม้ต้น ดอกสีแสด, ทองธรรมชาติ ก็เรียก, พายัพเรียก ทองกวาว, อีสานเรียก จาน; ชนิด B. superba Roxb. เป็นไม้เถา, ทองเครือ หรือ ตานจอมทอง ก็เรียก.
โสม
หมายถึง(โบ) น. ทอง, ในวรรณคดีนิยมเขียนเป็น โสรม เช่น ในทาบทองแล้วเนื้อ นอกโสรม. (กำสรวล).
ทั่ง
หมายถึงน. แท่งเหล็กสำหรับช่างใช้รองรับในการตีโลหะบางชนิด เช่นเหล็ก ทอง ให้เป็นรูปต่าง ๆ.
กษัตริย์
หมายถึง[กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่ ๔ วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ; ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทำด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทำด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
จะปิ้ง
หมายถึงน. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทำด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง จับปิ้ง ตะปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก. (ม.); แผ่นโลหะที่ติดฝาหีบสำหรับลั่นกุญแจ, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น จะปิ้งหูกลอง จะปิ้งห่วงประตู.