"อนุญาต" "ขออนุญาต" กับ "อนุญาติ" "ขออนุญาติ" คำไหนนะที่ถูกต้อง มีเคล็ดลับในการจำไว้ง่าย ๆ ทำได้โดยท่องไว้เลยว่า อนุญาต หรือ ขออนุญาต นั้นไม่ใช่ "ญาติ" ไม่เกี่ยวกับ "ญาติ"
อนุญาต ที่ไม่ใช่ อนุญาติ คำในภาษาไทยอีกหนึ่งคำที่มักจะเขียนและสะกดผิดกันมาตลอด หากมีโพลสำรวจก็คงหนีไม่พ้นอันดับต้น ๆ นั่นคือคำว่า อนุญาต ที่เขียนผิดโดยการเติม สระอิ ไปบน ต.เต่า กลายเป็นคำว่า อนุญาติ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เองก็พลาดกันบ่อยครั้งกับคำนี้
อนุญาต หรือ อนุญาติ เขียนแบบไหน คำไหนถูก? อนุญาต เขียนแบบนี้ ไม่มีสระอิ แต่หลายคนเขียนผิดเป็น อนุญาติ เยอะมากอาจจะเพราะสับสนกับ ญาติ; อนุญาต หมายความว่า ยินยอม, ยอมให้, ตกลง
คำราชาศัพท์ หมวดเครือญาติ เรามาดูหมวดที่น่าจะได้ใช้บ่อย ๆ ดีกว่า มาดูในหมวดเครือญาติกันดังต่อไปนี้ พระปัยกา หมายถึง ปู่ทวด; พระปัยยิกา หมายถึง ย่าทวด; พระมาตามหัยกา,พระปัยกา หมายถึง ตาทวด; พระมาตามหัยยิกา,พระปัยยิกา หมายถึง ยายทวด
คำอวยพรปีใหม่อย่างเป็นทางการ ปีเก่าหมดไปปีใหม่ใกล้จะมาถึงแล้ว หลายคนคงเฝ้าตารอคอยเทศกาลแห่งความสุขนี้อย่างใจจดใจจ่อ เทศกาลปีใหม่มีหลายอย่างให้น่าตื่นเต้นและร่วมกันทำอย่างสนุกสนานรวมถึงการเขียนคำอวยพรปีใหม่ส่งถึงญาติ เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน เพื่อนๆ และคนรู้จักกันแล้ว
คำสมาส: คำสมาสแบบคำสนธิ คืออะไร ครั้งก่อนเราได้ทราบกันแล้วว่า “คำสนธิ” จริง ๆ แล้วไม่มี เพราะสนธิเป็นวิธีการเชื่อมเสียงเท่านั้น เราจะเรียกว่าคำสมาสเป็นหลักใหญ่เท่านั้น สมาส เป็นวิธีการสร้างคำในภาษาบาลี สันสกฤต (เท่านั้น) ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาต่อกัน
คำไวพจน์ ดอกบัว | คำคล้าย ดอกบัว คำไวพจน์ ของ "ดอกบัว" คือ อุบล บงกช นิลุบล นิโลตบล ปทุม สัตตบรรณ ปัทมา บุษกร สัตตบงกช จงกล บุณฑริก ปทุมา อุทุมพร สาโรช
เปลี่ยนคำเอกพจน์เป็นคำพหูพจน์ในภาษาอังกฤษ หลายคนคงเคยได้ยินกฏหรือหลักการการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์เป็นคำนามพหูพจน์กันมาบ้างแล้ว ถ้ายังจำได้มีข้อง่ายคือตาม s ตามหลังเลย แต่หากเป็นสละก็ให้เติม es หรือต้องเปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es อะไรทำนองนี้ ยากใช่มั้ยหล่ะ
คำไวพจน์ คืออะไร รวมคำพ้องความหมายที่ใช้บ่อย คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า "คำพ้อง" เช่น ครู และ อาจารย์, นักเรียน และ นักศึกษา
คำพ้องความหมาย จะเห็นได้ว่าที่จริงแล้วมันก็คือหนึ่งการเรียกชื่อของ คำไวพจน์ นั่นเอง โดยหมายถึง คำที่มีความหมายเหมือนกัน ซึ่งมีมากหลากหลายคำ บางครั้งคำไวพจน์ก็มีชื่อเรียกไปตามความเข้าใจว่าเป็น “การหลากคำ” บ้าง “คำพ้องความหมาย” บ้าง “คำพ้องความ” บ้าง ครับ