ภาษาไทย สุภาษิตไทย สำนวนไทย คำพังเพย

สํานวน สุภาษิต และคําพังเพย ต่างกันอย่างไร?

หลายคนต่างสงสัยว่า สํานวน สุภาษิต และคําพังเพย นั้นต่างกันอย่างไรหรือว่าเป็นอันเดียวกันเลย เพราะว่าแทบจะแยกความแตกต่างไม่ออกเลย

ซึ่งพอพิจารณาดี ๆ แล้วก็พอจะดูออกว่า สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต ต่างกันอย่างไร

 

เดี๋ยววันนี้เรามาดูกัน

 

ความหมาย และความแตกต่างระหว่าง สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต

เราแยกอธิบาย ความหมายพร้อมยกตัวอย่าง เพื่อให้เห็นความแตกต่างของ สำนวนไทย คำพังเพย และสุภาษิต ตามด้านล่าง

สํานวนไทย

สำนวน คือ คําพูด หรือ ถ้อยคําที่ค่อนข้างกระทัดรัด ดูไพเราะสละสลวย สำนวนไทยจะมีความหมายโดยนัยเป็นลักษณะความหมายเชิงอุปมาเปรียบเทียบ จะไม่แปลความหมายตรงตามตัวอักษร

ตัวอย่างสำนวน เช่น ปากเสีย, ไขสือ ยกเมฆ, ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ ฯลฯ

:: ดูเนื้อหา สํานวนไทย › เพิ่มเติม

 

สุภาษิตไทย

สุภาษิต คือ คำกล่าวที่มีคติสอนใจ สุภาษิตจึงมีลักษณะเดียวกับสำนวนและคำพังเพย แต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสั่งสอน เตือนสติให้คิด ไม่มีการเสียดสีหรือติชมอย่างคำพังเพย เป็นถ้อยคำที่แสดงหลักความจริง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่ว ๆ ไป สุภาษิตนี้ยังมีความหมายรวมไปถึง สัจธรรม คำสั่งสอนที่เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ทางศาสนาด้วย แต่ถ้าเจาะจงเกี่ยวกับศาสนาพุทธก็จะเรียกว่า พุทธสุภาษิต

ตัวอย่างสุภาษิต เช่น ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว, ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน, คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร ฯลฯ

:: ดูเนื้อหา สุภาษิตไทย › เพิ่มเติม

 

คําพังเพย

คําพังเพย คือ ถ้อยคําที่เปรียบเทียบเหตุการณ์ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่พบเห็นได้ในการดํารงชีวิตของคนรุ่นก่อน โดยมากไม่เน้นการสั่งสอน แต่ใช้ในทํานองเสียดสีประชดประชันเพื่อให้สะท้อนความคิด ความเชื่อถือ และเป็นคติเตือนใจ หรือเป็นข้อคิดสะกิดใจให้นํามาปฏิบัติ

ตัวอย่างคำพังเพย เช่น งมเข็มในมหาสมุทร, ขิงก็ราข่าก็แรง, ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ฯลฯ

:: ดูเนื้อหา คําพังเพย › เพิ่มเติม

 

น่าจะพอเห็นความแตกต่าง และสามารถเอาไปจำแนกเวลาใคร ๆ มาถามกันได้บ้าง อย่าลืมทบทวนแล้วเลือกใช้ให้ถูกสถานการณ์ด้วยนะครับ

และ Wordy Guru เองก็มีรวบรวม