วันเข้าพรรษา
ว่าด้วยเรื่องการเข้าพรรษา นับเป็นกิจกรรมทางพุทธศาสนาที่สำคัญอย่างหนึ่ง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับวันเข้าพรรษาให้มากขึ้นกัน
วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรรษาในทุก ๆ ปีจะตรงกับ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หรือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง ในปีอธิกมาส
ในปีนี้ตรงกับวันพุธที่ 2 สิงหาคม 2566
ทำไมต้องมีวันเข้าพรรษา
ในพุทธศาสนา วันเข้าพรรษา คือ วันที่กำหนดให้พระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำวัดตลอด 3 เดือนตามพระวินัย ทั้งนี้เพื่อให้ท่านได้หยุดจาริกไปในที่ต่าง ๆ เพราะอาจไปเหยียบย่ำข้าวกล้าและพืชพันธุ์ของชาวไร่ชาวนาที่เพาะปลูกไว้ รวมถึงสัตว์เล็ก ๆ อาจเป็นอันตรายได้
หลักการกำหนดวันเข้าจำพรรษา
กำหนดการของวันเข้าจำพรรษาของพระภิกษุ ยังแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ
1. ปุริมพรรษา
ปุริมพรรษา หมายถึงเข้าจำพรรษาต้น ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ คือในวันเข้าพรรษา เป็นเวลา ๓ เดือน คือ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑
และเมื่อออกพรรษาแล้ว ยังมีอานิสงค์ให้ได้รับกฐินและอานิสงค์กฐินอีกด้วย
2. ปัจฉิมพรรษา
ปัจฉิมพรรษา หมายถึงเข้าจำพรรษาหลัง เช่นในปีอธิกมาสก็เข้าจำพรรษาในเดือน ๘ หลัง หรือถ้าเป็นปีปกติ ก็สามารถอธิษฐานเข้าจำพรรษาได้ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ก็ได้
ในกรณีพระภิกษุที่เข้าปุริมพรรษาไม่ทัน แต่ไม่ได้รับอานิสงค์กฐินหลังออกพรรษา เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พระสงฆ์จะประชุมกันในพระอุโบสถ เพื่อทำพิธีกล่าวคำอธิษฐานพรรษา จากนั้นจะมีการขอขมา และกล่าวคำให้อภัยต่อกัน ในหมู่พระภิกษุสงฆ์
ส่วน พุทธศาสนิกชนนิยมการถวายเทียนจำนำพรรษา เพื่อให้จุดไว้ตลอดพรรษา และยังนิยมการถวายผ้าจำนำพรรษา คือผ้าสำหรับอาบน้ำในช่วงเข้าพรรษาตลอดไตรมาส หากถวายผ้าอาบน้ำนี้นอกกาลพรรษา จะไม่เรียกว่าเป็นผ้าจำนำพรรษา
เกล็ดความรู้เพิ่มเติม
ปุริม หรือ บุริม แปลว่า ตอนต้น, หัวหน้า
ปัจฉิม แปลว่า ตอนท้าย