คำบาลีและสันสกฤต ภาษาไทย

ภาษาบาลี-สันกฤต

ในบรรดาภาษาต่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อภาษาไทยมากที่สุด คือ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต

คำยืมในภาษาไทยที่ยืมมาจากทั้งสองภาษานี้ เป็นคำที่มีใช้ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมากทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน

ภาษาบาลีเข้ามาทางศาสนาพุทธ ส่วนภาษาสันสกฤตเข้ามาทางศาสนาพราหมณ์และวรรณคดีเรื่องมหาภารตะและรามายณะ

 

บาลีและสันสกฤต

ภาษาบาลีและสันสกฤตอยู่ในตระกูลภาษาที่มีวิภัตปัจจัย คือเป็นภาษาที่ที่มีคำเดิมเป็นคำธาตุ เมื่อจะใช้คำใดจะต้องนำธาตุไปประกอบกับปัจจัยและวิภัตติ เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกพจน์ ลึงค์ บุรุษ กาล มาลา วาจก โครงสร้างของภาษาประกอบด้วย ระบบเสียง หน่วยคำ และระบบโครงสร้างของประโยค ภาษาบาลีและสันสกฤตมีหน่วยเสียง 2 ประเภท คือ หน่วยเสียงสระและหน่วยเสียงพยัญชนะ ดังนี้

  1. หน่วยเสียงสระ
    หน่วยเสียงสระภาษาบาลีมี 8 หน่วยเสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
    หน่วยเสียงภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลี 8 หน่วยเสียง และต่างจากภาษาบาลีอีก 6 หน่วยเสียง เป็น 14 หน่วยเสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦๅ
  2. หน่วยเสียงพยัญชนะ
    หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาบาลีมี 33 หน่วยเสียง
    ภาษาสันสกฤตมี 35 หน่วยเสียง เพิ่มหน่วยเสียง ศ ษ ซึ่งหน่วยเสียงพยัญชนะทั้งสิงภาษานี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ พยัญชนะวรรค และพยัญชนะเศษวรรค

 

วิธีสังเกตคำบาลี

สังเกตจากพยัญชนะตัวสะกดและตัวตาม

ตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ประกอบอยู่ข้างท้ายสระประสมกับสระและพยัญชนะต้น เช่น   ทุกข์ = ตัวสะกด

ตัวตาม คือ ตัวที่ตามหลังตัวสะกด เช่น สัตย สัจจ ทุกข เป็นต้น

คำในภาษาบาลี จะต้องมีสะกดและตัวตามเสมอ โดยดูจากพยัญชนะบาลี มี 33 ตัว แบ่งออกเป็นวรรคดังนี้

แถวที่             1          2          3          4           5

วรรค กะ            ก          ข          ค          ฆ          ง

วรรค จะ            จ          ฉ          ช          ฌ         ญ

วรรค ฏะ            ฏ          ฐ          ฑ         ฒ         ณ

วรรค ตะ            ต          ถ          ท          ธ          น

วรรค ปะ            ป          ผ          พ          ถ          ม

เศษวรรค           ย ร ล ว ส ห ฬ อัง  

 

มีหลักสังเกตดังนี้

ก.  พยัญชนะตัวที่ 1 , 3 , 5 เป็นตัวสะกดได้เท่านั้น (ต้องอยู่ในวรรคเดียวกัน)

ข.  ถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 หรือตัวที่ 2 เป็นตัวตามได้ เช่น สักกะ ทุกข สัจจ ปัจฉิม สัตต   หัตถ บุปผา เป็นต้น

ค.  ถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 หรือ 4 เป็นตัวตามได้ในวรรคเดียวกัน เช่น อัคคี   พยัคฆ์ วิชชา อัชฌา พุทธ คพภ (ครรภ์)

ง.  ถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 สะกด ทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น องค์ สังข์ องค์ สงฆ์ สัมปทาน สัมผัส สัมพันธ์ สมภาร เป็นต้น

จ.  พยัญชนะบาลี ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ในวรรคเดียวกันเท่านั้นจะข้ามไปวรรคอื่นไม่ได้

 

  1. สังเกตจากพยัญชนะ “ฬ” จะมีใช้ในภาษาบาลีในไทยเท่านั้น เช่น จุฬา ครุฬ

อาสาฬห์ วิฬาร์ โอฬาร์ พาฬ เป็นต้น

  1. สังเกตจากตัวตามในภาษาบาลี จะมาเป็นตัวสะกดในภาษาไทยโดยเฉพาะวรรค ฎ และวรรคอื่น ๆ บางตัว จะตัดตัวสะกดออกเหลือแต่ตัวตามเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เช่น

บาลี             ไทย             บาลี             ไทย         

รัฎฐ             รัฐ              อัฎฐิ             อัฐิ         

ทิฎฐิ             ทิฐิ               วัฑฒนะ         วัฒนะ         

ปุญญ           บุญ               วิชชา           วิชา         

สัตต             สัต               เวชช             เวช         

กิจจ              กิจ               เขตต           เขต         

นิสสิต           นิสิต             นิสสัย           นิสัย         

ยกเว้นคำโบราณที่นำมาใช้แล้วไม่ตัดรูปคำซ้ำออก เช่น ศัพท์ทางศาสนา ได้แก่ วิปัสสนา จิตตวิสุทธิ์   กิจจะลักษณะ เป็นต้น  

 

วิธีสังเกตคำสันสกฤต มีดังนี้

  • พยัญชนะสันกฤต มี 35 ตัว คือ พยัญชนะบาลี 33 ตัว + 2 ตัว คือ ศ, ษ

ฉะนั้นจึงสังเกตจากตัว ศ, ษ มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น กษัตริย์ ศึกษา เกษียร พฤกษ์ ศีรษะ เป็นต้น ยกเว้นคำไทยบางคำที่ใช้เขียนด้วยพยัญชนะทั้ง 2 ตัวนี้ เช่น ศอก ศึก ศอ เศร้า ศก ดาษ กระดาษ ฝรั่งเศส ฝีดาษ ฯลฯ

  • ไม่มีหลักการสะกดแน่นอน ภาษาสันสกฤต ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ข้ามวรรคกันได้

ไม่กำหนดตายตัว เช่น อัปสร เกษตร ปรัชญา อักษร เป็นต้น

  • สังเกตจากสระ สระในภาษาบาลี มี 8 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ

ส่วนสันสกฤต คือ สระภาษาบาลี 8 ตัว + เพิ่มอีก 6 ตัว คือ สระ ฤ ฤา ภ ภา   ไอ เอา ถ้ามีสระเหล่านี้อยู่และสะกดไม่ตรงตามมาตราจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น ตฤณมัย ไอศวรรย์ เสาร์ ไปรษณีย์ ฤาษี คฤหาสน์ เป็นต้น

  • สังเกตจากพยัญชนะควบกล้ำ ภาษาสันสกฤตมักจะมีคำควบกล้ำข้างท้าย เช่น

จักร อัคร บุตร สตรี ศาสตร์ อาทิตย์ จันทร์ เป็นต้น

  • สังเกตจากคำที่มีคำว่า “เคราะห์” มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น เคราะห์ พิเคราะห์

สังเคราะห์ อนุเคราะห์ เป็นต้น

  • สังเกตจากคำที่มี “ฑ” อยู่ เช่น จุฑา กรีฑา ครุฑ มณเทียร จัณฑาล เป็นต้น
  • สังเกตจากคำที่มี “รร” อยู่ เช่น สรรค์ ธรรม์ วรรณ บรรพต ภรรยา บรรณารักษ์ มรรยาท กรรม ทรรศนะ สรรพ เป็นต้น  

 

ลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและสันสกฤต

         ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน ลักษณะภาษาและโครงสร้างอย่างเดียวกัน ไทยเรารับภาษาทั้งสองมาใช้ พิจารณาได้ดังนี้

  1. ถ้าคำภาษาบาลีและสันสกฤตรูปร่างต่างกัน เมื่อออกเสียงเป็นภาษาไทยแล้วได้เสียงเสียงตรงกันเรามักเลือกใช้รูปคำสันสกฤต เพราะภาษาสันสกฤตเข้ามาสู่ภาษาไทยก่อนภาษาบาลี เราจึงคุ้นกว่า เช่น

         บาลี                               สันสกฤต                         ไทย         

         กมฺม                               กรฺม                               กรรม         

         จกฺก                               จกฺร                                จักร  

  1. ถ้าเสียงต่างกันเล็กน้อยแต่ออกเสียงสะดวกทั้งสองภาษา มักเลือกใช้รูปภาษาสันสกฤตมากกว่าภาษาบาลี เพราะเราคุ้นกว่าและเสียงไพเราะกว่า เช่น

         บาลี                                สันสกฤต                         ไทย

         ครุฬ                                ครุฑ                              ครุฑ

         โสตฺถิ                              สฺวสฺติ                             สวัสดี

  1. คำใดรูปสันสกฤตออกเสียงยาก ภาษาบาลีออกเสียงสะดวกกว่า จะเลือกใช้ภาษาบาลี เช่น

         บาลี                               สันสกฤต                         ไทย

         ขนฺติ                               กฺษานฺติ                           ขันติ

         ปจฺจย                              ปฺรตฺย                             ปัจจัย

  1. รูปคำภาษาบาลีสันสกฤตออกเสียงต่างกันเล็กน้อยแต่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่บางทีเรานำมาใช้ทั้งสองรูปในความหมายเดียวกัน เช่น

         บาลี                               สันสกฤต                         ไทย

         กณฺหา                             กฺฤษฺณา                          กัณหา,กฤษณา

         ขตฺติย                              กฺษตฺริย                           ขัตติยะ,กษัตริย์

  1. คำภาษาบาลีสันสกฤตที่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่ บางทีเรายืมมาใช้ทั้งสองรูป แต่นำมาใช้ในความหมายที่ต่างกัน เช่น

         บาลี                       สันสกฤต               ไทย             ความหมาย

         กิริยา                     กฺริยา                     กิริยา           อาการของคน                กริยา           ชนิดของคำ

         โทส                       เทฺวษ                   โทสะ           ความโกรธ                    เทวษ           ความเศร้าโศก  

 

คำภาษาบาลีและสันสกฤตในวรรณคดีไทย

         คำภาษาบาลีและสันสกฤตปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนกระทั่งในสมัย ปัจจุบันทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง คือพบตั้งแต่ในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงแม้จะมีไม่มากนักแต่ก็เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า ในสมัยสุโขทัยนั้นไทยได้นำภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทยของเราแล้ว และในสมัยต่อมาก็ปรากฏว่านิยมใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตในการแต่งวรรณคดีมากขึ้น

         วิสัณติ์ กฏแก้ว (2529 : 2) ได้กล่าวถึงเหตุที่ทำให้คำบาลีและสันสกฤตเป็นที่นิยมชมชอบในการนำมาใช้ในทางวรรณคดีพอจะสรุปได้ดังนี้

  1. วรรณคดีไทยเป็นวรรณกรรมที่ถือเอาเสียงไพเราะเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณคดีประเภทร้อยกรอง นอกจากจะถือเอาความไพเราะของเสียงเป็นสำคัญแล้ว ในการประพันธ์วรรณกรรมประเภทฉันท์ จะต้องถือคำ ครุ ลหุ เป็นสำคัญอีกด้วย คำที่เป็นเสียงลหุในภาษาไทยมีน้อยมาก จึงจำเป็นจะต้องใช้ศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต เพราะสามารถเลือกคำ ลหุ ครุ ได้มากและสามารถดัดแปลงให้เข้ากับภาษาของเราได้ดี

         ตัวอย่าง

               ข้าขอเทิดทศนัขประณามคุณพระศรี   สรรเพชญพระผู้มี       พระภาค

               อีกธรรมาภิสมัยพระไตรปิฏกวากย์     ทรงคุณคะนึงมาก     ประมาณ        

                                                  (สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19 – อิลราชคำฉันท์)

  1. คนไทยถือว่าคำบาลีและสันสกฤตเป็นคำสูง เพราะเป็นคำที่ใช้เผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้า และผู้ที่ใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตส่วนใหญ่อยู่ในฐานะควรแก่การเคารพบูชาทั่วไป เช่น พระสงฆ์ พราหมณ์ เป็นต้น ดังนั้นการแต่งฉันท์ที่ถือกันว่าเป็นของสูง จึงนิยมใช้คำบาลีและสันสกฤต
  2. วรรณคดีไทยโดยมากมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจักรๆวงศ์ๆ ซึงจะต้องใช้คำราชาศัพท์ การใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่เป็นคำราชาศัพท์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเช่น พระเนตร พระพักตร์ พระกรรณ เป็นต้น
  3. การใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตแต่งฉันท์ เป็นเครื่องแสดงภูมิรู้ของผู้แต่งว่ามีความรู้ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นอย่างดี มีคนเคารพนับถือและยกย่องว่าเป็น “ปราชญ์”

 

การสังเกตคำไทยที่มาจากภาษาบาลี

1.ภาษาบาลีมีสระ ๘ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ

2.ภาษาบาลีมีพยัญชนะ ๓๓ ตัว แบ่งตามฐานที่เกิดได้ดังนี้

ก.พยัญชนะวรรคมี ๒๕ ตัว ได้แก่ พัญชนะวรรค/ฐาน

                            ตัวที่ 1   ตัวที่ 2   ตัวที่ 3   ตัวที่ 4   ตัวที่ 5

วรรคที่ 1 ฐานคอ           ก          ข          ค          ฆ          ง

วรรคที่ 2 ฐานเพดาน       จ          ฉ          ช          ฌ         ญ

วรรคที่ 3 ฐานปุ่มเหงือก    ฎ          ฐ          ฑ         ฒ         ณ

วรรคที่ 4 ฐานฟัน           ต          ถ          ท          ธ          น

วรรคที่ 5 ฐานริมฝีปาก     ป          ผ          พ          ภ          ม

ข.เศษวรรคมี 8 ตัว ย ร ล ว ส ห ฬํ °

3.ภาษาบาลีไม่มี ศ ษ

4.คำทุกคำในภาษาบาลีจะต้องมีตัวสะกดและตัวตาม เช่น วัฑฒนา ฑ เป็นตัวสะกด ฒ เป็นตัวตามตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลีจะเป็นไปตามกฎดังนี้

ก.พยัญชนะวรรคที่เป็นตัวสะกดได้ คือ ตัวที่ 1 3 5

ข.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 2 ตามได้

ค.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 4 ตามได้

ง.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ตัวอย่าง ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 ตาม เช่น สักกะ ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 2 ตาม เช่น ทุกข์ ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 ตาม เช่น อัคคี ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 4 ตาม เช่น พยัคฆ์ ตัวที่ 5 สะกด ตามได้ทุกตัว เช่น องก์ สังข์ สงฆ์ สัญญา ข้อสังเกต คำบาลีบางคำมีตัวสะกดไม่มีตัวตาม เพราะเดิมมีตัวสะกด เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เราตัดตัวสะกดออก เช่น                     จิต     มาจาก   จิตต                     กิต     มาจาก   กิจจ                     เขต   มาจาก   เขตต                      รัฐ     มาจาก   รัฏฐ                     วัฒน   มาจาก   วัฑฒน                     วุฒิ   มาจาก   วุฑฒิ 5.คำภาษาบาลีไม่นิยมคำควบกล้ำ เช่น ปฐม (สันสกฤตใช้ ประถม) ,อินท์ (สันสกฤตใช้ อินทร์) 6.คำบางคำที่ภาษาบาลีใช้ ฬ ภาษาสันสกฤตใช้ ฑ เช่น บาลี      สันสกฤต ครุฬ      ครุฑ กีฬา      กรีฑา จุฬา      จุฑา   คำสันสกฤต มีลักษณะดังนี้ 1.ภาษาสันสกฤตมีสระ 14 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา 2.ภาษาสันสกฤตมีพยัญชนะ 35 ตัว (เพิ่ม ศ ษ จากภาษาบาลี) 3.ภาษาสันสกฤตมีตัวสะกดตัวตาม แต่ไม่มีกฎเหมือนภาษาบาลี เช่น                บาลีใช้ สัจจ     (ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 ตาม)                 สันสกฤตใช้ สัตย (พยัณชนะวรรคสะกด เศษวรรคตาม) 4.คำในภาษาสันสกฤตนิยมคำควบกล้ำ เช่น พัสตร์ จันทร์ 5.คำบางคำในภาษาบาลีใช้ ฬ ภาษาสันสกฤตใช้ ฑ 6.คำว่า "เคราะห์" มีในภาษาสันสกฤตเท่านั้น 7.ภาษาสันสกฤตมีตัว รฺ (ร เรผะ) ซึ่งไทยนำมาใช้เป็น รร ฉะนั้นคำที่มี รร ส่วนหนึ่งในภาษาไทย จึงมาจากภาษาสันสกฤต                        

 

เปรียบเทียบภาษาสันสกฤตและภาษาบาลี

ภาษาบาลี        

  1. มีสระ 8 ตัว
  2. มีสระ 14 ตัว (เพิ่ม ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา)
  3. มีพยัญชนะ 33 ตัว

 

ภาษาสันสกฤต มีพยัญชนะ 35 ตัว (เพิ่ม ศ ษ)

  1. มีตัวสะกดตัวตามตามกฎ
  2. มีตัวสะกดตัวตามไม่ตามกฎ
  3. ไม่นิยมตัวควบกล้ำ
  4. นิยมตัวควบกล้ำ
  5. ใช้ ฬ
  6. ใช้ ฑ
  7. มีคำว่า "เคราะห์"
  8. มี รฺ (ร เรผะ) ซึ่งเปลี่ยนเป็น รร ในภาษาไทย

บทความนี้จะยาวหน่อย แต่เพื่อน ๆ คงได้ความรู้เรื่องคำบาลีและสันสกฤตครบถ้วนเลยใช่มั้ยหล่ะ เดี๋ยวบทควาหน้าจะมาอธิบายและยกตัวอย่างเพิ่มเติมให้อีก