คำสนธิ คืออะไร
วันนี้เราจะนำความรู้ในเรื่องของคำในภาษาไทยมาให้ผู้อ่านได้ศึกษาเกี่ยวกับคำสนธิว่าคำสนธินั้นคืออะไร และมีไว้เพื่ออะไร
คำสนธิ
คำสนธิในภาษาไทย หมายถึง คำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต มาเชื่อมต่อกัน ทำให้เสียงพยางค์หลังของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง
๑. สระสนธิ คือการกลมกลืนคำด้วยเสียงสระ เช่น วิทย+อาลัย = วิทยาลัย พุทธ+อานุภาพ = พุทธานุภาพ มหา+อรรณพ = มหรรณพ นาค+อินทร์ = นาคินทร์ มัคค+อุเทศก์ = มัคคุเทศก์ พุทธ+โอวาท= พุทโธวาท รังสี+โอภาส = รังสิโยภาส ธนู+อาคม = ธันวาคม
๒. พยัญชนะสนธิ เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ ซึ่งไม่ค่อยมีใช้ในภาษาไทย เช่น รหสฺ + ฐาน = รโหฐาน มนสฺ + ภาว = มโนภาว(มโนภาพ) ทุสฺ + ชน = ทุรชน นิสฺ + ภย = นิรภัย
๓. นฤคหิตสนธิ ได้แก่การเชื่อมคำที่ขึ้นต้นด้วยนฤคหิตหรือพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นนฤคหิต กับคำอื่นๆ เช่น สํ + อุทัย = สมุทัย สํ + อาคม = สมาคม สํ + ขาร = สังขาร สํ + คม = สังคม สํ + หาร = สังหาร สํ + วร = สังวร
ความหมาย
คำสนธิ เป็นการนำคำมูลที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป มาเชื่อมเข้าด้วยกัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ สระ หรือนิคหิตที่เชื่อม ให้ท้ายเสียงของคำหน้ากับต้นเสียงของคำหลังมีเสียงกลมกลืนกันเป็นคำใหม่
หลักการสังเกต
๑. คำสนธิต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น
๒. เมื่อนำคำมาสนธิกันแล้ว จะกลายเป็นคำเดียว และจะต้องแปลจากคำหลังมาคำหน้า
๓. คำที่จะนำมาสนธิกัน จะต้องมีทั้งสระหน้าและสระหลัง
๔. เมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ สระ หรือนิคหิตที่เชื่อมเสมอ
จำง่าย ๆ ... "สนธิ - เชื่อม"
ตัวอย่างคำสนธิ
พุทธานุภาพ
มหรรณพ
มหัศจรรย์
เทศภิบาล
วิทยาคม
ภัณฑาคาร
พันธนาการ
ปริยานุช
รัฏฐาภิบาล
ราโชวาท
โลกาธิบดี
โลกาธิปไตย
วชิราวุธ
วัตถาภรณ์
วันทนาการนาคินทร์
มหินทร์
ราเมศวร
มหิทธิ
ปรมินทร์
ปรเมนทร์
รัชชูปการ
มัคคุเทศก์
ราชูปโภค
เห็นแล้วใช่ไหมว่าคำสนธินั้นคืออะไร ต่างจากคำโดยทั่วไปอย่างไรเมื่อรู้แล้วเราก็จะได้นำมาใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น