ค้นเจอ 57 รายการ

เกล้า

หมายถึง[เกฺล้า] น. หัว (ใช้เฉพาะในโวหารแสดงความเคารพอย่างสูง) เช่น มารดาบังเกิดเกล้า. ก. มุ่นผมให้เรียบร้อย เช่น เกล้าจุก เกล้ามวย.

เกล้ากระผม

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมากหรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

กระหม่อม

หมายถึงน. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ตํ่ากว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คำสำหรับใช้ควบกับคำที่ขึ้นต้น ว่า “เกล้า” เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).

ปกเกศ

หมายถึงก. ปกเกล้า, คุ้มครอง.

ขนพองสยองเกล้า

หมายถึงน. ขนและผมตั้งชันขึ้นเพราะรู้สึกสยดสยองมากเป็นต้น.

ผมมวย

หมายถึงน. ทรงผมที่ไว้ยาวแล้วเกล้าเป็นมวย.

ปวดเศียรเวียนเกล้า

หมายถึง(สำ) ก. เดือดร้อนรำคาญใจเพราะมีเรื่องยุ่งยากมากจนแก้ไม่ทัน.

ร้องฎีกา

หมายถึงก. ทูลเกล้าฯ ถวายฎีการ้องทุกข์.

ลูกทรพี

หมายถึงลูกที่ทรยศต่อพ่อแม่บังเกิดเกล้า ทั้งทางกายและทางใจ

อนิจกรรม

หมายถึงน. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป หรือทุติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ว่า ถึงแก่อนิจกรรม.

ผมโป่ง

หมายถึงน. ทรงผมผู้หญิงที่มีช้องหนุนให้ผมโป่งแล้วเกล้าเป็นมวย.

ปลูกเรือนพอตัว หวีหัวพอเกล้า

หมายถึง(สำ) ก. ทำสิ่งใด ๆ ให้พอสมควรกับฐานะของตน, ปลูกเรือนแต่พอตัว หวีหัวแต่พอเกล้า ก็ว่า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ