ค้นเจอ 22 รายการ

กระหม่อม

หมายถึงน. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ตํ่ากว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คำสำหรับใช้ควบกับคำที่ขึ้นต้น ว่า “เกล้า” เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).

ลงกระหม่อม

หมายถึงก. ลงยันต์บนกระหม่อม แล้วเสกเป่าให้อยู่ยงคงกระพันเป็นต้น.

กระหม่อมบาง

หมายถึง(สำ) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนกระหม่อมบาง ถูกนํ้าค้างหน่อยก็เป็นหวัด, ขม่อมบาง ก็ว่า.

มัตถกะ

หมายถึง[มัดถะกะ] น. หัว, กระหม่อม; ยอด, ที่สุด. (ป. มตฺถก; ส. มสฺตก).

สักกระหม่อม

หมายถึงก. ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันแทงลงกลางศีรษะให้เป็นอักขระหรือเครื่องหมาย.

มัสดก

หมายถึง[มัดสะดก] น. หัว, กระหม่อม; ยอด, ที่สุด. (ส. มสฺตก; ป. มตฺถก).

ขม่อม

หมายถึง[ขะหฺม่อม] น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่าขม่อม ลงขม่อม, กระหม่อม ก็ว่า.

ทูลกระหม่อม เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

ทูนกระหม่อม เป็นคำที่เขียนผิด ❌

เป่ากระหม่อม

หมายถึงก. ร่ายมนตร์คาถาแล้วเป่าลงกลางศีรษะเพื่อให้เกิดเมตตามหานิยมเป็นต้น.

สุมกระหม่อม

หมายถึงก. เอายาสมุนไพรพอกโปะไว้บนกระหม่อมเด็กเล็ก ๆ เพื่อแก้หวัดเป็นต้น, สุมหัว ก็ว่า.

จุฑามาศ

หมายถึงน. หย่อมผมกลางกระหม่อม. (ส.).

ขม่อมบาง

หมายถึง(สำ) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนขม่อมบาง ถูกนํ้าค้างหน่อยก็เป็นหวัด, กระหม่อมบาง ก็ว่า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ