ตัวกรองผลการค้นหา
บ่วงบาศ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
บ่วงบาศก์, บ่วงบาต, บ่วงบาท เป็นคำที่เขียนผิด ❌
กริยาช่อง 2 (Verb 2) ที่ใช้บ่อยพร้อมความหมาย
ไสว่าสิบ่ถิ่มกัน - แปลเพลง
รวม 50 สำนวนไทย พร้อมความหมายน่ารู้ ที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน
คำไวพจน์ คืออะไร รวมคำพ้องความหมายที่ใช้บ่อย
หาบมิได้,หาบ่มิได้
หมายถึง[หาบอ-, หาบ่อ-] ว. ไม่มีเลย เช่น คนดีอย่างนี้หาบมิได้, บางทีใช้คร่อมกับคำอื่น เช่น เพชรเม็ดนี้หาตำหนิบ่มิได้.
บ่นถึง
หมายถึงก. กล่าวถึงบ่อย ๆ.
บ่มผิว
หมายถึงก. ทำให้ผิวงามด้วยการอยู่ในที่ซึ่งไม่ถูกแดดถูกลมจนเกินไป.
บ่มหนอง
หมายถึงก. ทำให้ฝีกลัดหนองเต็มที่เพื่อบ่งได้ง่าย.
บ่อย,บ่อย ๆ
หมายถึงว. หลายครั้งหลายหนในระยะเวลาไม่สู้นาน.
บ่านี่
หมายถึงว. อะไรนี่, ทำไมนี่.
บ่าย
หมายถึงน. เวลาในระหว่างเที่ยงกับเย็น. ก. คล้อย เช่น ตะวันบ่าย; หัน, ก้าว; เลี่ยงไป เช่น เฒ่าก็ประดิษฐ์ประดับกายเป็นปะขาวดาบสเบือนบ่ายจำแลงเพศ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
บ่าว
หมายถึงน. คนใช้; ชายหนุ่ม; เรียกชายผู้เข้าพิธีสมรสว่า เจ้าบ่าว, คู่กับ หญิงผู้เข้าพิธีสมรส ซึ่งเรียกว่า เจ้าสาว.
บ่าวขุน
หมายถึงน. ชื่อวิธีนุ่งผ้า นุ่งห้อยชายข้างหนึ่งอย่างพระยายืนชิงช้านุ่ง. (สิบสองเดือน).
แบ่งภาค
หมายถึงก. แยกส่วนของร่างเดิมออกเป็นอีกร่างหนึ่งหรือหลายร่างโดยเอกเทศ เช่น พระนารายณ์แบ่งภาคมาเกิด, โดยปริยายเป็นคำเปรียบเทียบหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ใครจะแบ่งภาคไปทำได้ ไม่สามารถแบ่งภาคไปทำได้.
กระบ่า,กระบ้า
หมายถึงดู ตบยุง