ค้นเจอ 13 รายการ

ทศ,ทศ,ทศ-

หมายถึง[ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ. ว. สิบ, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.

ทศ,ทศ,ทศา

หมายถึง[ทด, ทะสา] (แบบ) น. ชายผ้า, ชายครุย. (ส.).

ลงกา

หมายถึงน. ชื่อเมืองของทศกัณฐ์ในเรื่องรามเกียรติ์.

นัข

หมายถึง(กลอน) น. เล็บ, นิ้วมือ เช่น ทศนัข. (ป., ส. นข).

รามเกียรติ์

หมายถึง[รามมะเกียน] น. ชื่อวรรณคดีเรื่องหนึ่ง ว่าด้วยพระรามทำศึกกับทศกัณฐ์เพื่อชิงนางสีดา.

บทวเรศ

หมายถึง[บดทะวะเรด] (แบบ) น. เท้า เช่น ถวายทศนัขประณตบทวเรศราชชนนี. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์).

งอมพระราม

หมายถึง(สำ) ว. มีความทุกข์ยากลำบากเต็มที่ เช่น ทศกัณฐ์จะงอมพระรามที่ไหน เกรงพระรามจะงอมพระรามไปเองเสียอีก. (ลักวิทยา).

ตรีทศ

หมายถึงน. เทวดา ๓๓ องค์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มิได้แยกว่าใครเป็นใคร หมายถึง พระอินทร์และบริวารพระอินทร์ ๓๒ องค์, ไตรทศ ก็เรียก. (ส. ตฺริทศ ว่า สามสิบ).

กรกช

หมายถึง[กอระกด] (กลอน) น. “ดอกบัวคือมือ” คือ กระพุ่มมือ เช่น ธก็ยอกรกชประนม. (ลอ). ก. ไหว้ เช่น เอกภูธรกรกช ทศนัขสมุชลิต. (ยวนพ่าย). (ดู กช).

สั่ง

หมายถึงก. บอกไว้เพื่อให้ทำหรือให้ปฏิบัติเป็นต้น เช่น ครูสั่งให้นักเรียนทำการบ้าน แม่สั่งให้ถูบ้าน; บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น ฝนสั่งฟ้า ทศกัณฐ์สั่งเมือง อิเหนาสั่งถ้ำ สิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง ตายไม่ทันสั่ง.

เศียร

หมายถึง[เสียน] น. หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร; ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.

บารมี

หมายถึง[-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบำเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ