ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา การ,-การ,-การ, กระลาการ, สุภา, มาลาการ, กระ, สุธาการ, คุลีการ, รุบาการ, ตระลาการ
ตุลาการ
หมายถึง(กฎ) น. ผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี.
การ,-การ,-การ
หมายถึงน. ผู้ทำ, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.
กระลาการ
หมายถึง(โบ) น. ตุลาการ เช่น แลผู้พิพากษากระลาการไต่ไปโดยคลองธรรมดั่งกล่าวมานี้. (สามดวง).
สุภา
หมายถึงน. ตุลาการ.
ผู้พิพากษา
หมายถึง(กฎ) น. ข้าราชการตุลาการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี.
ดะโต๊ะยุติธรรม
หมายถึง(กฎ) น. ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม.
พิพากษา
หมายถึง(กฎ) ก. ตัดสินคดีโดยศาล, เรียกตุลาการผู้ทำหน้าที่ตัดสินดังกล่าวว่า ผู้พิพากษา, เรียกคำตัดสินนั้นว่า คำพิพากษา. (ส. วิวกฺษา ว่า ความสำคัญ).
ผู้พิพากษาสมทบ
หมายถึง(กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษ ให้เป็นองค์คณะร่วมกับผู้พิพากษาซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการ มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี เช่น ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงาน.
ข้าราชการ
หมายถึงน. (โบ) คนที่ทำราชการตามทำเนียบ; ผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการ; (กฎ) บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการการเมือง ข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ.
ลูกขุน ณ ศาลหลวง
หมายถึง(โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายตุลาการ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีหน้าที่พิพากษาคดีอย่างศาลยุติธรรม แต่มิได้เป็นผู้พิจารณาคดี เพราะมีตระลาการที่จะพิจารณาคดีแล้วขอคำตัดสินจากลูกขุน ณ ศาลหลวงอีกชั้นหนึ่ง, กฎหมายตราสามดวงมักใช้ว่า ลูกขุน ณ สานหลวง.
กบฏ
หมายถึง[กะบด] ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ทรยศ. น. การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ; ผู้ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ผู้ทรยศ, ขบถ ก็ว่า; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอำนาจปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏ. (ส. กปฏ ว่า ความคด, ความโกง).
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
หมายถึง(กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การสหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสินเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาทต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรีความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).