ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ภควัม, รูปธรรม, อินทรียสังวร, กัณณ์, นวทวาร, โศรตร, กรรณ, อารมณ์
สำรวมอินทรีย์
หมายถึงก. ระมัดระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ.
50 สำนวนสุภาษิตไทย
คำสมาส: คำสมาสแบบสมาส คืออะไร
สำนวนไทยพร้อมความหมาย
เสียมราฐ
ต่างหู
หมายถึงน. ตุ้มหู.
หู
หมายถึงน. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทำหน้าที่สำหรับฟังเสียง; ส่วนแห่งสิ่งของที่ทำไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทำเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและกระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.
ผัสส,ผัสส-,ผัสสะ
หมายถึงน. การกระทบ, การถูกต้อง, เช่น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ, การที่ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่รับรู้ได้ทางกาย เช่น ความสุขทางผัสสะ. (ป.).
ภควัม
หมายถึง[พะคะ-] น. พระเครื่องรางชนิดหนึ่ง มีพระพักตร์ควํ่าและปิดทวารทั้ง ๙ คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑, โดยปริยายใช้เรียกคนที่ทำหน้าควํ่าหน้างอไม่รับแขกว่า ทำหน้าเป็นภควัม หรือหน้าควํ่าเป็นภควัม; หินชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปร่างอย่างนั้น.
รูปธรรม
หมายถึง[รูบปะทำ] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือสิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏเป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทำโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากินนํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).
อินทรียสังวร
หมายถึงน. ความสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ. (ป.).
กัณณ์
หมายถึง(แบบ) น. หู. (ป.; ส. กรฺณ).
นวทวาร
หมายถึงน. ช่องทั้ง ๙ แห่งร่างกาย คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารเบา ๑ ทวารหนัก ๑; ร่างกาย. (ส.).
โศรตร
หมายถึง[โสฺรด] น. หู, ช่องหู. (ส. โศฺรตฺร; ป. โสต).
กรรณ
หมายถึง[กัน] น. หู, ใบหู, กลอน ใช้เป็น กรรณา ก็มี เช่น กรรณาคือกลีบกาญจ- นปัทม์. (สมุทรโฆษ), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระกรรณ. (ส. กรฺณ).
โสต,โสต-,โสต-
หมายถึง[โสด, โสตะ-] น. หู, ช่องหู. (ป.; ส. โศฺรตฺร).