ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ธนัชฌ์, ศานติ, กระสานติ์, สนิธ, สันติภาพ, กสานติ์
สนธิ
หมายถึงน. ที่ต่อ, การติดต่อ; การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาเชื่อมเสียงให้กลมกลืนกันตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น พจน + อนุกรม เป็น พจนานุกรม ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์ นว + อรห + อาทิ + คุณ เป็น นวารหาทิคุณ. (ป., ส.).
คำสนธิ คืออะไร
คำสนธิ
คำสมาส: คำสมาสแบบคำสนธิ คืออะไร
ธนัชฌ์
หมายถึงมาจาก ธนะ สนธิ กับ อัชฌ เป็น ธนัชฌ [ธนัชฌ์] แปลว่า มีนิสัยด้านการเงินดี รู้จักใช้จ่าย
อาเทศ
หมายถึง[-เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่งไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศสระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).
ษัษ
หมายถึงว. หก. (คำสมาสใช้ ษัฏ บ้าง ษัฑ บ้าง ษัณ บ้างตามวิธีสนธิ). (ส.; ป. ฉ).
อันดร
หมายถึง[-ดอน] น. ภายใน, ระหว่าง, มักใช้เข้าสนธิกับคำอื่น เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น พุทธ + อันดร = พุทธันดร นิร + อันดร = นิรันดร. (ป., ส. อนฺตร).
พนัส,พนัส-
หมายถึง[พะนัด, พะนัดสะ-] น. ป่า, พง, ดง. (มาจาก พน แต่เพิ่มตัว ส เพื่อความสะดวกในการสนธิ). (ส. วนสฺ; ป. วน).
สูตร
หมายถึง[สูด] น. ชื่อหลักธรรมในพระสุตตันตปิฎก เรียกว่า พระสูตร เช่น มงคลสูตร กาลามสูตร; ข้อความทางปรัชญาที่เรียบเรียงร้อยกรอง หรือย่อขึ้นไว้สำหรับท่องจำ เช่น โยคสูตร นยายสูตร สูตรสนธิ.