ค้นเจอ 18 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา สัทอักษร, วรรณยุต

วรรณยุกต์

หมายถึงน. ระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา มีรูปเครื่องหมายบอกระดับของเสียงอยู่เบื้องบนอักษร ๔ รูป คือ ่ (ไม้เอก) ้ (ไม้โท) ๊ (ไม้ตรี) ๋ (ไม้จัตวา).

สัทอักษร

หมายถึง[สัดทะอักสอน] น. อักษรและเครื่องหมายที่กำหนดใช้แทนเสียงประเภทต่าง ๆ เช่น สัญลักษณ์แทนเสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายพิเศษแทนการออกเสียงอื่น ๆ. (อ. phonetic alphabet).

ไม้เอก

หมายถึงน. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ่.

ไม้ตรี

หมายถึงน. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ๊.

ไม้โท

หมายถึงน. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ้.

คำสุภาพ

หมายถึง(ฉันทลักษณ์) น. คำที่ไม่ผันด้วยวรรณยุกต์ทั้ง ๔.

คำโท

หมายถึง(ฉันทลักษณ์) น. คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ไม่ว่าคำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เป็นคำบังคับในการแต่งโคลง เช่น ข้า คว้า แล้ว.

ไม้จัตวา

หมายถึงน. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ๋ บอกเสียงสูงสุดใน ๕ เสียง.

บังคับโท

หมายถึงน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท.

อักษรกลาง

หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คำตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.

อักษรต่ำ

หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.

กากบาท

หมายถึง[กากะบาด] น. ชื่อเครื่องหมายอย่างตีนกา มีรูป + หรือ ; ใช้ + เป็นเครื่องหมายวรรณยุกต์บอกเสียงจัตวา.

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ