ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เสีย, เสร็จ, เสียซิ,เสียซี, เสียหาย, เสียด, เสียสายตา, เสียที, เสียบน, เสียพรหมจารี, เสียสาว, เสื่อมเสีย
เสียตา
หมายถึงก. สูญเสียนัยน์ตาไป; โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น ของอย่างนี้ ฉันไม่อยากดูให้เสียตาหรอก, เสียสายตา ก็ว่า.
Have a nice day! สำนวนดี ๆ ที่น่าใช้
คำสนธิ คืออะไร
สำนวนไทยพร้อมความหมาย
คำราชาศัพท์คืออะไร มีที่มาจากไหน ใช้อย่างไร
เสียหูเสียตา
หมายถึงก. สูญเสียหูและตาไป, โดยปริยายหมายความว่า ไม่อยากดูไม่อยากฟัง เช่น ละครไม่มีคุณภาพอย่างนี้ ฉันไม่ดูให้เสียหูเสียตาหรอก.
เสียสายตา
หมายถึงก. ทำให้สายตาเสื่อมลงหรือเลวลง เช่น อย่าอ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างน้อย จะทำให้เสียสายตา; โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น ของอย่างนี้ ฉันไม่ดูให้เสียสายตาหรอก, เสียตา ก็ว่า.
เสียแต่,เสียที่
หมายถึงสัน. เสียตรงที่, บกพร่องตรงที่, มีตำหนิตรงที่, เช่น หน้าตาก็สวยดี เสียแต่พูดไม่เพราะ.
เสียได้
หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความผิดหวังเป็นต้น เช่น ตั้งใจมาหาเพื่อนทั้งที กลับไม่อยู่เสียได้.
แหกตา
หมายถึงก. ใช้มือถ่างเปลือกตาออก, โดยปริยายหมายความว่า ลืมตา (ใช้ในเชิงประชด) เช่น แหกตาดูเสียบ้างซิ, หลอก เช่น ถูกแม่ค้าแหกตา.
เสีย
หมายถึงก. เสื่อมลงไป, ทำให้เลวลงไป, เช่น เสียเกียรติ เสียศักดิ์ศรี เสียชื่อ; สูญไป, หมดไป, สิ้นไป, เช่น เสียแขน เสียชีวิต เสียทรัพย์; ชำรุด เช่น ถนนเสีย ทางเสีย; ใช้ไม่ได้ เช่น เครื่องไฟฟ้าเสียหมดทุกอย่าง รถเสียกลางทาง; ยับเยิน, ย่อยยับ, เช่น ปีนี้ฝนแล้งจัดเรือกสวนไร่นาเสียหมด, เสียหาย ก็ว่า; บูด เช่น แกงหม้อนี้เสียหมดทั้งหม้อ, เน่า เช่น ผลไม้เข่งนี้เสียแล้ว; ไม่ดี เช่น ราขึ้น ขนมปังจึงเสียหมดทั้งแถว เธอดัดผมบ่อยเกินไป ทำให้ผมเสีย; จ่ายเงิน, ชำระเงิน, เช่น เสียภาษี เสียค่าโทรศัพท์; หมดทรัพย์สินไปเพราะการพนัน เช่น เสียไพ่ เสียม้า; ตาย เช่น เขาเสียไปหลายปีแล้ว; (โบ) ทิ้ง เช่น ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก. (สุภาษิตพระร่วง), เสียไฟเป่าหิ่งห้อย. (ลอ). ว. ที่ไม่ดี เช่น นิสัยเสีย น้ำเสีย; พิการ เช่น ตาเสีย ขาเสีย; บูด เช่น อย่ากินแกงเสีย จะปวดท้อง.
ไม่ได้ไม่เสีย
หมายถึงว. เสมอตัว, เท่าทุน.
ตา
หมายถึงน. พ่อของแม่, ผัวของยาย, ชายที่เป็นญาติชั้นเดียวกับพ่อของแม่หรือที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับตา, (ปาก) คำเรียกชายสูงอายุที่ตนไม่ค่อยเคารพนับถือ เช่น ตาเถร ตาแก่ หรือเรียกชายรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ตาเกิ้น ตาโย่ง หรือเรียกเด็กชายที่ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ตาหนู.
เข้าตา
หมายถึงก. เห็นว่าดีและพอใจ เช่น เข้าตากรรมการ.
หมายถึงน. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทำหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่งของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจากการถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก.
เสียแล้ว
หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความเป็นอดีต เช่น ยังไม่ทันได้พูดคุยกันเลย เขาก็กลับไปเสียแล้ว.