ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เลี้ยงชีพ, เลี้ยงอาตมา, เลี้ยงรับ, เบี่ยง, กระพอก, เอี้ยว, ตู่ตัว, ตอบแทน, เรียงตัว
เลี้ยงได้แต่ตัว
หมายถึงก. เลี้ยงได้เฉพาะแต่ร่างกายเท่านั้นไม่สามารถจะบังคับจิตใจเขาได้, มักใช้ว่า เลี้ยงได้แต่ตัวเท่านั้น จิตใจเลี้ยงไม่ได้.
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด สร้างตัว
คำควบกล้ำไม่แท้ 40 คำ
คำที่มีตัวการันต์
Silent letter (พยัญชนะไม่ออกเสียง)
เลี้ยงตัว
หมายถึงก. ทำมาหากินเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้, เลี้ยงชีพ หรือ เลี้ยงอาตมา ก็ว่า, ดำเนินงานพอให้กิจการดำรงอยู่ได้ เช่น กิจการพอเลี้ยงตัวได้; อาการที่ประคองตัวให้ทรงอยู่บนสิ่งที่ล่อแหลมต่อการพลั้งพลาดหรือบางทีอาจเป็นอันตราย เช่น เลี้ยงตัวบนเส้นลวด.
เลี้ยงอาตมา
หมายถึงก. เลี้ยงตัว, เลี้ยงชีพ ก็ว่า.
เลี้ยงชีพ
หมายถึงก. เลี้ยงตัว, ทำมาหากินเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้, เลี้ยงอาตมา ก็ว่า.
เลี้ยง
หมายถึงก. ดูแล, เอาใจใส่, บำรุง, เช่น เลี้ยงกล้วยไม้, ปรนปรือด้วยอาหารการกินเป็นต้น เช่น เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูก, เลี้ยงดู ก็ว่า; ประคับประคองให้ทรงตัวอยู่ได้ เช่น เลี้ยงชีพ เลี้ยงตะกร้อไว้ได้นาน ๆ; กินร่วมกันเพื่อความรื่นเริงหรือความสามัคคีเป็นต้น เช่น เลี้ยงเพื่อน เลี้ยงรุ่น เลี้ยงสังสรรค์; (ปาก) เป็นเจ้ามือจ่ายค่าอาหารหรือค่าบันเทิงเป็นต้น เช่น เลี้ยงโต๊ะจีน เลี้ยงหนัง.
เลี้ยงไม่ขึ้น
หมายถึงก. อบรมเลี้ยงดูคนบางคนอย่างดีแต่ก็มิได้ทำให้คนผู้นั้นเจริญรุ่งเรืองขึ้นเลย; เลี้ยงคนบางคนแล้วผู้นั้นยังไม่กตัญญูรู้คุณ.
เลี้ยงความ
หมายถึงก. อาการที่ทนายความของโจทก์และจำเลยสมคบกันถ่วงคดีความให้ล่าช้า โดยประสงค์ที่จะเรียกค่าใช้จ่ายในการว่าความที่ต้องยืดเยื้อออกไป.
เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง
หมายถึงก. ทำมาหากินพอเลี้ยงตัว.
อาตมา
หมายถึงน. ตัวเอง เช่น ไม่พอเลี้ยงอาตมา. (ส.).
เลี้ยงตอบ,เลี้ยงตอบแทน
หมายถึงก. เลี้ยงอาหารเป็นต้น ตอบแทนแก่ผู้ที่เคยเลี้ยงอาหารตนมาก่อน.
ต่อตัว
หมายถึงก. อาการที่คนหนึ่งขึ้นไปยืนบนบ่าของอีกคนหนึ่ง เช่น ต่อตัวปีนกำแพง. น. ชื่อการแสดงกายกรรมแบบหนึ่งที่ผู้แสดงคนหนึ่งหรือหลายคนขึ้นไปยืนเลี้ยงตัวบนตัวของผู้แสดงอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นหลักเป็นต้น.
เลี้ยงไม่รู้จักโต
หมายถึงก. เลี้ยงจนโตควรจะพึ่งตัวเองได้แล้ว แต่ก็ยังต้องขอเงินและข้าวของเป็นต้นจากพ่อแม่, เลี้ยงจนโตแล้วก็ยังประจบออเซาะแม่เหมือนเด็ก ๆ.