ค้นเจอ 234 รายการ

สาคูไส้หมู

หมายถึงน. ชื่ออาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยสาคูเม็ดเล็กนวดน้ำร้อนให้ดิบ ๆ สุก ๆ ปั้นเป็นก้อน มีเนื้อหมูเป็นต้นสับผัดกับเครื่องปรุงทำเป็นไส้ แล้วนึ่ง.

สาคู

หมายถึงน. ชื่อตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดหมูชนิด Taenia solium ในวงศ์ Taeniidae ฝังตัวอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ ของหมู ลักษณะเป็นถุงรูปคล้ายเม็ดสาคู ภายในมีหัวของตัวตืด.

สาคู

หมายถึงน. (๑) ชื่อปาล์ม ๒ ชนิดในสกุล Metroxylon วงศ์ Palmae คือ ชนิด M. sagus Rottb. กาบใบไม่มีหนาม และชนิด M. rumphii Mart. กาบใบมีหนาม, ทั้ง ๒ ชนิด ใบใช้มุงหลังคา ไส้ในลำต้นแก่ใช้ทำแป้ง เรียกว่า แป้งสาคู. (เทียบ ม. sagu). (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Maranta arundinacea L. ในวงศ์ Marantaceae ต้นขนาดต้นขมิ้น เหง้าใช้ทำแป้งและต้มกิน.

สาคูน้ำเชื่อม

หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยสาคูเม็ดใหญ่ใส่น้ำเชื่อม.

สาคูเปียก

หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ต้มสาคูเม็ดเล็กจนบานใส แล้วใส่น้ำตาล จะใส่เนื้อมะพร้าวอ่อนหรือแห้วเป็นต้นก็ได้ เมื่อจะกินจึงหยอดหน้าด้วยกะทิ.

หมู,หมู,หมู ๆ

หมายถึง(ปาก) ว. ง่าย, สะดวก, เช่น วิชาคำนวณสำหรับเขาแล้วหมูมาก เขาเลือกทำแต่งานหมู ๆ.

หมู

หมายถึงน. เรียกเรือขุดชนิดเล็ก ลักษณะคล้ายเรือพายม้า แต่หัวจะเรียวเล็กกว่าเรือพายม้ามาก ว่า เรือหมู.

ไส้

หมายถึงน. ส่วนของทางเดินอาหารซึ่งอยู่ระหว่างกระเพาะอาหารกับทวารหนัก เป็นท่อยาวขดไปขดมาอยู่ในช่องท้อง มีหน้าที่ย่อย ดูดซึมอาหารและนํ้า พักและขับถ่ายกากอาหาร, ลำไส้ ก็เรียก; เรียกของที่อยู่ข้างในซึ่งมีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไส้ตะเกียง หรือที่ใส่ข้างใน เช่น ไส้ขนม ไส้ดินสอ; โดยปริยายหมายความว่า ความลับ เช่น สาวไส้ให้กากิน รู้ไส้; คนในครอบครัว, คนภายใน, คนใกล้ชิด, เช่น เห็นขี้ดีกว่าไส้ ไส้เป็นหนอน.

ไส้

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ปีมะเส็ง.

หมู

หมายถึงน. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Botia วงศ์ Cobitidae ลำตัวยาว แบนข้าง คอดหางใหญ่ มีหนวด ๓ คู่ หนังหนาคลุมเกล็ดมิด มีเขี้ยวพับเก็บได้ในร่องบริเวณด้านหน้าของตา เช่น หมูขาว (B. modesta) หมูลาย (B. hymenophysa). (๒) ดู ซ่อนทราย (๑).

หมู

หมายถึง(ปาก) น. ใบพลูสดหั่นผสมฝิ่นแล้วนำมาสูบ.

หมู

หมายถึงน. ชื่อขวานชนิดหนึ่ง ด้ามสั้น สันหนา ใช้ตัด ถาก และฟัน.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ