ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ทรง, นัก, นักเทศน์
ทรงธรรม, ทรงสดับพระธรรมเทศนา (พระเจ้าแผ่นดิน)
หมายถึงฟังเทศน์
ประโยชน์ของการเรียนรู้คำราชาศัพท์
สาเหตุที่มีคำราชาศัพท์
180 สํานวนสุภาษิต พร้อมความหมาย
สุภาษิตไทย รู้ไว้ ไม่ล้าสมัย
ทรง
หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
รับฟัง
หมายถึงก. รับไว้พิจารณา เช่น ผู้บังคับบัญชารับฟังความเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา.
เข้าวัดเข้าวา
หมายถึงก. ไปวัดเพื่อฟังเทศน์ฟังธรรม, ไปอยู่ที่วัดเพื่อปฏิบัติธรรม, ประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม.
เทศน์,เทศนา
หมายถึง[เทด, เทสะนา, เทดสะหฺนา] น. การแสดงธรรมสั่งสอนในทางศาสนา. ก. แสดงธรรม เช่น พระเทศน์, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ดุด่าว่ากล่าวอย่างยืดยาว เช่น วันนี้ถูกเทศน์เสียหลายกัณฑ์. (ป. เทสนา).
ฟัง
หมายถึงก. ตั้งใจสดับ, คอยรับเสียงด้วยหู, ได้ยิน; เชื่อ, ทำตามถ้อยคำ เช่น ให้ฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา.
หันหน้าเข้าวัด
หมายถึง(สำ) ก. มุ่งหน้าเข้าวัดเพื่อถือศีลฟังเทศน์เป็นต้น.
ทรงฟัง
หมายถึงฟัง
ขายหู
หมายถึงก. ฟังแล้วละอาย ไม่อยากฟัง.
ขัดหู
หมายถึงก. ฟังไม่ถูกหู, ฟังไม่เพราะหู.
นักเทศน์
หมายถึงน. ผู้ชำนาญในการเทศน์.
สดับ
หมายถึงฟังอย่างตั้งใจ