สุภาษิตไทย ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานสถาน
สุภาษิต หมายถึง คำกล่าวที่ดีงาม มักเป็นคำสั่งสอน แนะนำให้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ หรือละเว้นจากการทำความชั่ว เป็นต้น
ดังนั้น สรุปได้ว่า สุภาษิตไทย คือ คำที่มุ่งสั่งสอนให้ ประพฤติปฏิบัติดี โดยเป็นเพียง คำสั้นๆ มีความคมคาย ไพเราะ น่าฟัง จำง่าย
สำหรับสุภาษิตที่เราได้ยินอยู่บ่อย ๆ ได้แก่
35 สุภาษิตไทย ที่ต้องรู้ไว้ เรียง ก - ฮ
สุภาษิตไทย หมวด ก ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
1 | ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง | ความสวยงามเกิดขึ้นได้จากการปรุงแต่ง |
2 | ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ | ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน |
สุภาษิตไทย หมวด ข ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
3 | ขายผ้า เอาหน้ารอด | ยอมเสียทุกอย่างเพื่อรักษาชื่อเสียง |
4 | ขี่ช้างจับตั๊กแตน | ทำเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ ได้ผลไม่คุ้มกับที่ต้องเสียไป |
5 | เข้าตามตรอก ออกตามประตู | ทำอะไรให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี |
6 | เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า ได้หน้าอย่าลืมหลัง | อย่าประมาทต้องเตรียมให้พร้อม และให้มีสติกำหนดจดจำให้ดี |
สุภาษิตไทย หมวด ค ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
7 | คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ | คนดีไปที่ไหนก็มีคนอยากคบหาสมาคมด้วย ไม่ลำบาก |
8 | คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล | คบใครก็จะเป็นคนอย่างนั้น |
9 | ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด | แม้จะมีความรู้สูงแค่ไหนก็ตาม ถ้าความประพฤติไม่ดีแล้วก็เอาตัวไม่รอด เพราะไม่มีใครคบหาสมาคมด้วย หรือมีความรู้ แต่ไม่ใช้ความรู้ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร |
10 | คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก | ที่อยู่อาศัย แม้จะคับแคบเพียงใด ถ้ารู้จักทำให้ดี ก็น่าอยู่ แต่ถ้าหากมีความคับอกคับใจแล้ว แม้ที่จะกว้างขวางใหญ่โต ก็มิได้ทำให้สบายอกสบายใจเลย มีแต่จะรู้สึกอึดอัดใจแต่ถ่ายเดียว |
สุภาษิตไทย หมวด จ ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
11 | จับปลาสองมือ | การที่คน ๆ หนึ่งทำสิ่งใดที่ยากพร้อม ๆ กัน ทำให้ล้มเหลวทั้งสองสิ่งนั้น สำนวนนี้นิยมใช้กับผู้ชายที่เกี้ยวผู้หญิงสองคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งผลสุดท้ายแล้วผู้ชายคนนั้นจะมีปัญหาตามมา |
สุภาษิตไทย หมวด ช ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
12 | ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวปิด | ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ ใบบัวมีขนาดเล็ก ถ้าเอาใบบัวใบเดียวไปปิดช้าง ย่อมปิดไม่มิด คนที่ทำความชั่วไว้มากมาย ถึงจะปิดอย่างไรๆ ก็ปิดไม่หมด คนย่อมรู้เข้าจนได้ |
สุภาษิตไทย หมวด ด ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
13 | ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ถ้าจะดูให้แน่ต้องดูถึงย่าถึงยาย | วัวที่มีลักษณะดีนั้นให้ดูที่หาง ถ้าปลายหางเป็นพู่เหมือนใบโพธิ์ ก็นับว่าเป็นวัวที่มีลักษณะดีมาก การที่จะเลือกผู้หญิงมาเป็นคู่ครอง ไม่ใช่ดูเพียงตัวผู้หญิงเท่านั้น ต้องดูไปจนถึงแม่ด้วยว่าเป็นคนดีหรือไม่ เพราะลูกกับแม่ก็มักจะมีลักษณะนิสัยคล้ายคลึงกัน และถ้าจะดูให้แน่จริงๆ ต้องสืบประวัติไปจนถึงย่ายายของหญิงนั้นด้วย |
สุภาษิตไทย หมวด ต ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
14 | ตามใจปากมากหนี้ | เห็นแก่กินย่อมสิ้นเปลืองมาก |
สุภาษิตไทย หมวด น ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
15 | นายว่า ขี้ข้าพลอย | ลักษณะของคนเลว ไร้ความรู้ ถ้าเจ้านายว่าอย่างไร ก็มักจะพลอยประสมโรงซ้ำเติมด้วย |
16 | น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า | ทุกคนต้องพึ่งพาอาศัยกัน ต้องเห็นอกเห็นใจกัน จึงควรผูกไมตรีกันไว้ |
17 | น้ำลด ตอผุด | ความชั่วเมื่อทำไว้ในเวลาที่ตนมีอำนาจนั้น อาจไม่มีใครทราบ แต่เมื่อหมดบุญ หมดอำนาจ บรรดาความชั่วที่ปิดบังกันไว้นั้น ก็จะปรากฏออกมา |
18 | น้ำเชี่ยว อย่าขวางเรือ | เมื่อมีเหตุการณ์รุนแรงอะไรเกิดขึ้น ก็อย่าไปขัดขวาง จะได้รับอันตราย เพราะตอนนี้ตนอยู่ในระยะหน้าสิ่งหน้าขวาน คนเรามักไม่มีเหตุผลดุจนน้ำเชี่ยว ถ้าเอาเรือไปขวาง เรือก็จะล่ม |
19 | เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่รองนั่ง เอากระดูกมาแขวนคอ | ทั้งๆ ที่ตนไม่มีส่วนได้เป็นผลประโยชน์กับเขาเลย แต่ก็พลอยเข้าไปพัวพันในเรื่องร้าย ทำให้ต้องพลอยรับบาปรับเคราะห์เสียหายไปกับเขาด้วย |
สุภาษิตไทย หมวด ป ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
20 | ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา | สมัยก่อนการศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านยังไม่แพร่หลาย คนที่รู้หนังสือมีน้อย บางคนก็ได้ดีเพราะปาก การคิดเลขหรือการคำนวณนั้นมีความสำคัญน้อยลงมาอีก แม้เดี๋ยวนี้คนที่มีความรู้ดีแต่พูดไม่เก่ง ก็เอาดีได้ยาก ส่วนความชั่วความดีนี้ ทำลงไปแล้วย่อมเป็นเสมือนตราที่ประทับลงไปให้รู้ว่าคนนั้นเป็นคนดี หรือคนชั่ว |
สุภาษิตไทย หมวด พ ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
21 | พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง | คำพูดบางครั้งหากพูดออกไปอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเองหรือคนรอบข้าง หากอยู่เฉยๆไม่พูดอะไรออกไปยังจะก่อเกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า |
สุภาษิตไทย หมวด ม ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
22 | มีเงินเขานับว่าเป็นน้อง มีทองเขานับว่าเป็นพี่ | เมื่อมั่งมีเงินมีทองแล้ว ใครๆ ก็ประจบอยากเข้ามาเป็นญาติพี่น้องด้วย |
23 | ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก | จะอบรมสั่งสอนอะไรก็ทำเสียตั้งแต่เด็ก เพราะอบรมสั่งสอนง่าย จะสอนให้เป็นอะไรก็ได้ ส่วนคนแก่นั้นสอนยาก เหมือนไม้แก่ถ้าดัดก็หัก ผิดกับไม้อ่อนซึ่งดัดง่ายไม่หัก |
สุภาษิตไทย หมวด ร ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
24 | รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ | รักจะคบกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่สั้น ๆ ให้คิดอาฆาต |
25 | รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี | วัวถ้าไม่ผูกไว้ ก็อาจหายได้ ถ้าลูกดื้อ พ่อแม่ก็ต้องดุต้องตีบ้าง แต่การที่พ่อแม่ตีไม่ใช่ตีด้วยความเกลียดชัง เพราะพ่อแม่ที่ตีนั้นก็ไม่อยากตี บางทีตีแล้วแอบไปร้องไห้ สงสารลูกก็มี แต่ถ้าไม่ตีเสียบ้าง ต่อไปถ้าลูกกลายเป็นคนชั่วช้าเลวทราม พ่อแม่จะต้องเสียน้ำตามากกว่านั้น |
26 | รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม | การศึกษาหาความรู้ไว้ ยิ่งมากยิ่งดี เพราะการมีความรู้มาก ไม่เหมือนการแบกข้าวแบกของ ซึ่งจะรู้สึกว่าหนักบ่า มีความรู้มิได้หนักบ่าหนักแรงอะไร ความรู้ที่เวลานี้เราคิดว่าไม่มีประโยชน์ วันหน้าอาจเห็นคุณค่าของมันก็ได้ |
สุภาษิตไทย หมวด ล ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
27 | โลภมาก ลาภหาย | โลภมากเกินไป ในที่สุดจะไม่ได้อะไรเลย ท่าสอนให้รู้จักมีความพอประมาณไว้บ้าง |
สุภาษิตไทย หมวด ว ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
28 | ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง | พูดว่าคนอื่นอย่างไร ตนเองก็กลับเป็นอย่างนั้นเสียเองเหมือนอิเหนาที่ปรารภว่าไม่รักไม่ต้องการบุษบา แต่ตัวเองกลับลักพาบุษบาไป |
สุภาษิตไทย หมวด ส ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
29 | สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง | คนเราแม้จะมีความรู้สูงอย่างนักปราชญ์ ก็อาจผิดพลาดได้เหมือนกัน ทุกคนจึงไม่ควรประมาท แม้สัตว์สี่เท้าเช่น วัวควายซึ่งมีสี่เท้าก็ยังอาจก้าวพลาดถึงล้มลงได้ ภาษิตนี้บางทีก็มีพูดต่อไปอีกว่า “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง สองตีนโด่เด่ คงจะเซลงบ้าง” |
30 | เสน่ห์ปลายจวัก ผัวรักจนตาย | ผู้หญิงที่จะผูกมัดจิตใจสามีได้ ไม่ใช่เพียงเพราะความสวยอย่างเดียว เพราะความสวยงามเป็นของไม่จีรังยั่งยืนอะไร แต่ความดีโดยเฉพาะฝีมือในการปรุงอาหาร ถ้าหากสามารถทำให้ถูกปากสามีได้ ย่อมผูกใจสามีให้รักไปจนตาย |
สุภาษิตไทย หมวด ห ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
31 | ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว | ทำทุกข์ให้แก่ผู้ใด เคราะห์กรรมที่ทำกับเขา อาจตกตามมาถึงตัวเองบ้าง อย่างบางคนชอบล่าสัตว์ บางทีไปยิงลูกของตน โดยเข้าใจว่าเป็นสัตว์ป่าก็มี |
สุภาษิตไทย หมวด อ ได้แก่
# | สุภาษิตไทย | ความหมาย |
---|
32 | อย่าชี้โพรงให้กระรอก | คืออย่าไปสอนผู้รู้ เพราะเขารู้อยู่แล้ว เหมือนกับกระรอกมันย่อมรู้จักโพรงของมัน ไม่ต้องไปชี้บอกกับมันดอก |
33 | อย่าเอาทองไปลู่กระเบื้อง | คืออย่าลดตัวลงไปสู้กับคนชั่วต่ำ มีแต่เสียศักดิ์ศรี เพราะไม่คู่ควรกัน |
34 | อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ | พิมเสนเป็นของมีค่างมากกว่าเกลือ คืออย่าลดตัวลงไปสู้กับคนชั่วต่ำ มีแต่เสียศักดิ์ศรี เพราะไม่คู่ควรกัน |
35 | อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง | อย่าวางใจหรือไว้วางใจใครคนอื่นง่ายเกินไป จะเป็นเราที่เดือดร้อนในภายหลังได้ |
และเหล่านั้นคือ สุภาษิตไทยที่ต้องรู้ไว้ และทันยุคทันสมัยอยู่ตลอด หากพิจารณาดูดี ๆ โครงสร้างสังคม วัฒนธรรม และแนวความคิดของคนไทยก็ยังคงคล้ายเดิม หวังว่าเราคนรุ่นใหม่จะนำหลักความคิดไปปรับใช้หรือเป็นเครื่องเตือนใจ จากการเรียนรู้ สำนวนสุภาษิตไทยเหล่านี้
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับสํานวนสุภาษิต
ชอบเนื้อหาชุดนี้ กดให้คะแนน 5 ดาวกับเราได้เลยจ้า