ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ขรรคะ,ขรรคา, ขัค, พรรค์, สรรค์, สังสรรค์, ขรรคะ, ขรรคา
ขรรค์
ภาษาจีน双刃短剑
การใช้ ร หัน(รร)
อ่านว่าขัน
หมายถึง[ขัน] น. ศัสตราวุธชนิดหนึ่ง มีคม ๒ ข้าง ที่กลางใบมีดทั้งหน้าและหลังเป็นสันเล็กคล้ายคมรูปหอก ด้ามสั้น. (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).
คำบาลีขคฺค
คำสันสกฤตขฑฺค
พระขรรค์
แยกคําสมาสเป็นพระ + ขรรค์
ขัค
หมายถึง(แบบ) น. ขรรค์ เช่น สุรขัคอนันต์. (สมุทรโฆษ). (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).
ขรรค์ชัย
แปลว่าชนะด้วยขรรค์
ข.ช.
ย่อมาจากโรงเรียนสะเดา "ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์" จังหวัดสงขลา
ชัยศรี
หมายถึง[ไชสี] น. ความสง่าผ่าเผยด้วยความชนะ (ใช้ประกอบกับชื่อต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นมงคล) เช่น พระขรรค์ชัยศรี นครชัยศรี.
กกุธภัณฑ์
หมายถึงเครื่องประดับเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินมี ๕ อย่าง เรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์ คือ ๑. แส้จามรี ๒. มงกุฎ ๓. พระขรรค์ ๔. ธารพระกร ๕. ฉลองพระบาท
เจว็ด
หมายถึง[จะเหฺว็ด] น. แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา เขียนหรือแกะเป็นรูปเทพารักษ์ ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิหรือศาลเจ้า มักทำเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์, โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นประธานหรือเป็นใหญ่ แต่ไม่มีอำนาจ เช่น ตั้งเป็นเจว็ดขึ้นไว้, ใช้ว่า ตระเว็ด หรือ เตว็ด ก็มี.
หมายถึง[กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดีตามที่แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).