คำไวพจน์

คำไวพจน์ หรือ การหลากคำ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน คำพ้องก็ว่า เช่น คำไวพจน์ ผู้หญิง คำไวพจน์ น้ำ คำไวพจน์ ช้าง คำไวพจน์ นก คำไวพจน์ ต้นไม้

คำในภาษาไทยหลายต่อหลายคำ แม้บางคำจะเขียนต่างกัน แต่กลับมีความหมายเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับระดับภาษาและบริบทในการใช้ ซึ่งตามหลักภาษาไทยจะเรียกคำเหล่านี้ว่าคําไวพจน์ โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท บทความนี้จะพาไปรู้จักกับคำไวพจน์ให้มากขึ้น

 

ความหมายของคำไวพจน์

คำไวพจน์ คำพ้อง การหลากคำ คืออะไร ใช้ยังไง มีกี่ประเภท?

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงไม่เหมือนกัน เรียกอีกอย่างว่า คำพ้อง คำพ้องความ การหลากคำ คำพ้องรูป คำพ้องความหมาย

ประเภทต่าง ๆ ของคำไวพจน์

สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. คำพ้องรูป 2. คำพ้องเสียง และ 3. คำพ้องความหมาย

*เรามักจะเห็นในแบบคำพ้องความหมายเสียเป็นส่วนใหญ่

1. คำพ้องรูป

คือคำที่มีรูปเขียนเหมือนกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้
ตัวอย่าง คำว่า ชิน
- แปลว่า คุ้นจนเจน
- แปลว่า ผู้ชนะ
- แปลว่า เนื้อโลหะเจือชนิดหนึ่ง

2. คำพ้องเสียง

คือคำที่เขียนต่างกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงเหมือนกัน
ตัวอย่าง
- ใจ กับ ไจ
- จร กับ จอน

3. คำพ้องความหมาย

คือคำต่างรูป ต่างเสียง แต่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกัน
ตัวอย่าง
- กิน กับ รับประทาน
- กัลยา กับ นารี


คำไวพจน์ยอดนิยม 30 คำ

  1. กลางคืน = กลางค่ำ / คืน / นักตะ / นิศา / มืดค่ำ / ย่ำค่ำ / รชนิ / รชนี / รัชนี / รัตติ / ราตรี / อันธิกา
  2. ความรู้ = พิทย / พิทย- / พิทยา / พิทย์ / ภูมิรู้ / มันตา / วิชา / วิชานนะ / วิทยา / เมธา / เวท- / เวท / โพธ
  3. ใจ = กมล / ดวงหทัย / ดวงแด / ดวงใจ / มน / มโน / ฤดี / ฤทัย / หฤทัย
  4. ชีวิต = ความเป็น / ความเป็นอยู่ / ชีวัน / ชีวา / ชีวี / ร่วมชีวิต / ลมหายใจ / วิถีชีวิต / เกิด / กำเนิด
  5. ดอกบัว = กมล / กระมล / จงกล / นิลุบล / นิโลตบล / บงกช / บัว / บุณฑริก / บุษกร / ปทุม / ปทุมา / ปัทมา / สัตตบงกช / สัตตบรรณ / สาโรช / อุทุมพร / อุบล / โกมล
  6. ท้องฟ้า = คคนางค์ / คคนานต์ / ทิฆัมพร / นภ / นภดล / นภา / นภาลัย / หาว / อัมพร / อากาศ / เวหา / เวหาศ / โพยม
  7. ทะเล = น้ำ / สมุทร / มหาสมุทร / ลำน้ำ / สายน้ำ / สินธุ / สินธุ์ / สินธู / แม่น้ำ
  8. เทวดา = นางฟ้า / นิรชรา / ปรวาณ / สุร / สุรารักษ์ / อมร / เทพ / เทว / เทวัญ / เทวา / เทวาคาร / เทวารัณย์ / เทวินทร์ / เทเวนทร์ / เทเวศ / เทเวศร์ / เทเวศวร์ / ไตรทศ
  9. เทวดาหญิง = กินรี / นางฟ้า / นางสวรรค์ / เทวี / เทพี
  10. น้ำ = คงคา / ชลธาร / ชลธี / ชลาลัย / ชลาศัย / ชโลทร / ทึก / ธาร / ธารา / นที / รัตนากร / สมุทร / สลิล / สาคร / สาคเรศ / สินธุ / สินธุ์ / หรรณพ / อรรณพ / อัมพุ / อาโป / อุทก / อุทกธารา
  11. ปลา = ชลจร / ปุถุโลม / มัจฉา / มัจฉาชาติ / มัสยา / มิต / มีน / มีนา / วารีชาติ / อัมพุชา
  12. ป่า = ชัฏ / ดง / พง / พงพนา / พงพี / พงไพร / พนัส / พนา / พนาดร / พนาลี / พนาวัน / อรัญญิก / อารัญ / อารัณย์ / เถื่อน / ไพร / ไพรวัน / ไพรสัณฑ์
  13. ผู้ชาย = ชาย / ท้าว / ธ / นายหัว / บัก / บุรุษ / บ่าวน้อย / พระเอก / พ่อพลาย / พ่อหนุ่ม / ภราดร / ภราดา / ภาดร / ภาดา / ภาตระ / ภาตา / ภาตุ / มาณพ / สุดหล่อ / หนุ่มน้อย / อ้าย / เรียม
  14. ผู้หญิง = สตรี / อิตถี / นารี / กามินี / พธู / กันยา / กัลยา / กานดา / อนงค์
  15. แผ่นดิน = กษมา / ด้าว / ธรณิน / ธรณี / ธรา / ธราดล / ธริษตรี / ธาตรี / ปฐพี / ปฐวี / ปัถพี / พสุธา / พสุมดี / พิภพ / พื้นดิน / ภพ / ภูตลา / ภูมิ / ภูวดล / เมธินี
  16. พระจันทร์ = รัชนีกร / แข / บุหลัน / นิศากร / ศศิธร
  17. พระเจ้าแผ่นดิน = กษัตร / กษัตริย์ / กษัตรีศูร / ขัตติยวงศ์ / จอมราช / ท่านไท้ธรณี / ท้าวธรณิศ / ธรณิศร / ธรณีศวร / ธราธิป / ธเรศ / นรินทร์ / นฤบดี / นฤเบศน์ / นโรดม / บดินทร์ / ภูบดินทร์ / ภูบดี / ภูบาล / ภูมินทร์ / ราชา / ราเชนทร์
  18. พระวิษณุ = กฤษณะ / จักรปาณี / ธราธร / ธราธาร / พระกฤษณ์ / พระจักรี / พระนารายณ์ / มาธพ / ศางดี / สวภู / ไกษพ / ไตรวิกรม / ไวกุณฐ์
  19. พระอาทิตย์ = ตะวัน / ทยุมณี / ทินกร / ทิพากร / ทิวากร / ประภากร / พรมัน / ภาณุ / ภาสกร / รพิ / รวิ / รวี / ระพี / สุริยง / สุริยน / สุริยะ / สุริยัน / สุริยา / อหัสกร / อังศุมาลี / อาคิรา / อาภากร
  20. มอง = ชระเมียง / ชายตา / ดู / ทอดตา / ทอดสายตา / บง / มอง / มองเมียง / มุ่งดู / ยล / ส่งสายตา / ส่ายตา / หมายตา / เมียงมอง / เยี่ยม ๆ มอง ๆ / แยงยล
  21. มาก = กระชอม / คลาคล่ำ / คับคั่ง / จัด / ชะมัด / ชุกชุม / ดา / ปัง / ปือ / พหล / พหุ / พหุล / พหู / ภุส / ภูริ / มลาก / มหัต / มหันต์ / มากมาย / วิบุล / วิบูล / หนา / หนาตา / หลาก / หลาย / อธิก / อธึก / อักโข / อำพน / อเนก / เกรียง / เกลี่อน / เกลื่อนกล่น / เป็นกอง / เหวง / แครครั่ง / โข / โต / โอฬาร / ใหญ่ / ไกร
  22. เมฆ = ขี้เมฆ / ปัชชุน / ปโยชนม์ / ปโยธร / พยับเมฆ / พลาหก / วลาหก / วาริท / วาริธร / หมอก / อัมพุท / เมฆา / เมฆินทร์ / เมฆี
  23. เมือง = กรุง / ธานิน / ธานินทร์ / ธานี / นคร / นครา / นครินทร์ / นคเรศ / บุรินทร์ / บุรี / ประเทศ / ปุระ / พารา / สถานิย
  24. แม่น้ำ = คลอง / ชลาสินธุ์ / ทะเล / น้ำ / มหาสมุทร / ลำน้ำ / ลุ่มน้ำ / สทิง / สายชล / สายนที / สายน้ำ / สินธุ์ / สินธู / แคว
  25. ร้องไห้ = กระซิก / กระอืด / กระโหย / กันแสง / กำสรวล / กินน้ำตา / คร่ำครวญ / งอแง / จาบัล / จาบัลย์ / บีบน้ำตา / ประปราน / พิลาป / ฟูมฟาย / รวะ / ร่ำไห้ / ร้องจ๊า / ร้องห่ม / ลักสร้อย / สะอึกสะอื้น / เครงคร่ำ / เศร้าโศก / เสียน้ำตา / โรทนะ / โรทะ / โศก / โศกา / โศกาดูร / โศกี / โหยไห้
  26. รัก = ชอบ / ชอบพอ / ชอบใจ / ชื่นชอบ / นิยม / ปฏิพัทธ์ / ปลื้ม / พิสมัย / พึงพอใจ / รักใคร่ / วิมลัก / หลงใหล / อานก / อานิก / ฮัก / เปรม / โปรดปราน
  27. วัว = กาสร / คาวี / ฉลู / พฤษภ / มหิงสา / มหิงส์ / อสุภ / โค
  28. สงคราม = กรุน / การรบพุ่ง / จำบัง / ฉุป / ฉุป- / ต่อสู้ / ยุทธ / ยุทธ- / ยุทธนา / ยุทธนาวี / ยุทธ์ / รณ / รณ- / ศึกสงคราม / สงคราม / สมร- / สมร / สู้รบ
  29. สบาย = ผาสุก / รวยรื่น / ร่มเย็น / สบายใจ / สำราญ / สุข / สุขสบาย / สุขิน / สุขี / สุนันท์ / หฤษฎ์ / หัฏฐะ / อุตุ / เกษม / เขมา / เขษม / เปรม / เป็นสุข / เสบย
  30. สวย = งาม / ประไพ / ลอย / ลาวัณย์ / วิลาวัณย์ / วิไล / สวยงาม / อำไพ / โสภณ / โสภา / ไฉไล

การใช้งานคำไวพจน์ตามรูปแบบภาษาไทย

คำไวพจน์ คำพ้อง การหลากคำ พร้อมความหมาย น่ารู้ครบทุกหมวด

ตัวอย่าง: การใช้คำไวพจน์ในกลอนและบทกวี

     มืดสิ้นแสงเทียนประทีปส่อง         ก็ผ่องแสงจันทร์กระจ่างสว่างส่ง

บุปผชาติสาดเกสรขจรลง                 บุษบงเบิกแบ่งระบัดบาน           

     เรณูนวลหวนหอมมารวยริน          พระพายพัดประทิ่นกลิ่นหวาน

เฉื่อยฉิวปลิวรสสุมามาลย์                 ประสานสอดกอดหลับระงับไป

---

กลอนบทนี้จะพบคำไวพจน์ดังนี้

  1. บุปผชาติ,  บุษบง,  สุมามาลย์ = ดอกไม้
  2. ขจร = ฟุ้ง, กระจาย
  3. พระพาย = ลม

ต้นกำเนิดของคำไวพจน์

คำไวพจน์ มาจาก ภาษาบาลีว่า “เววจน” (เว-วะ-จะ-นะ)

รากศัพท์มาจาก วิ + วจน


ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ สามารถทำการค้นหาคำไวพจน์อื่น ๆ ได้เลย หรือจะเริ่มไล่ดูจากการจัดกลุ่มหมวดหมู่คำไวพจน์ที่เราได้คัดแยกไว้ให้แล้วก็ได้เช่นกัน

ดาวน์โหลด PDF รวมคำไวพจน์ยอดนิยม

สำหรับใครที่อยากได้คำไวพจน์ ในรูปแบบไฟล์ PDF สามารถกดที่ปุ่มดาวน์โหลดได้เลย

คำไวพจน์ ที่ใช้บ่อย
PDF – ตัวอย่าง คำไวพจน์ ที่ใช้บ่อย
ดาวน์โหลด

 ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับคำไวพจน์

  1. คำไวพจน์ คืออะไร?

    คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงไม่เหมือนกัน

  2. คำไวพจน์ มีกี่ประเภท?

    คำไวพจน์ มี 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ 1.คำพ้องรูป 2.คำพ้องเสียง และ 3.คำพ้องความ


 หมวดหมู่ คำไวพจน์
ชอบเนื้อหาชุดนี้ กดให้คะแนน 5 ดาวกับเราได้เลยจ้า
จำนวนผู้ให้คะแนน: 8   คะแนนเฉลี่ย: 4.9
 แสดงความคิดเห็น